วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง จับตาตัวเลขจ้างงานสหรัฐฯ (JOLT) และราคาบ้านในสหรัฐฯ
ทางเทคนิค คาด SET Index เคลื่อนไหว Sideways แนวต้าน 1,570 (EMA 200 วัน)/1,576 จุด (จุดสูงสุดเดิมเมื่อวันที่ 11 พ.ค.) แนวรับ 1,550/1,545 จุด (EMA 10 วัน)
ทั้งนี้ ดัชนีฯ อยู่ระหว่างเลือกทางว่าจะขึ้นต่อไปที่ 1,600/1,615 จุด จากรูปแบบขาขึ้น Head & Shoulder Reverse (ต้องเกิด Break Away Gap พุ่งแรงเหนือ 1,580 จุด) หรือเปลี่ยนเป็นทิศทางขาลงไปที่ 1,515 จุด รอบใหม่ จากรูปแบบขาลง Double Top (ต้องเกิดการอ่อนตัวลงต่ากว่า EMA 10 วัน)
สัปดาห์นี้จะมีตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญจำนวนมากทยอยประกาศออกมา โดยโฟกัสของตลาด ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อ US Bond Yields และค่าเงิน USD อยู่ที่ 1. รายงานเงินเฟ้อ US Core PCE Price Index เดือน ส.ค. และรายงานจ้างงาน อัตราค่าจ้างเฉลี่ยรายชั่วโมงเดือน ส.ค. (ประกาศวันศุกร์) โดย Consensus คาดว่าจะเติบโต MoM ใกล้เคียงกับเดือน ก.ค. สะท้อนโอกาสเงินเฟ้อปรับลดลงมีจำกัด 2. รายงานเงินเฟ้อเดือน ส.ค. ของ EU (ประกาศวันพฤหัสฯ) โดย Consensus คาด Core Inflation เดือน ส.ค. ลดลงต่อเนื่องเป็น 5.3% YoY Vs เดือน ก.ค. 5.5% YoY (เพิ่มโอกาสที่ ECB อาจใกล้สิ้นสุดวงจรดอกเบี้ยขาขึ้น) เราคาดว่าผลกระทบต่อรายงานตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญดังกล่าว ผนวกกับสัญญาณ Hawkish ต่อเนื่องของ Fed, ECB จะเป็นปัจจัยลบต่อทิศทางตลาดหุ้นโลก อิงแนวโน้มยิลด์พันธบัตรสหรัฐฯ และค่าเงิน USD มีแนวโน้มแข็งค่าต่อเนื่อง
ประเด็นเศรษฐกิจวันนี้ ติดตาม 1. US JOLT Report เดือน ก.ค. (Figure 1) ยังคงไม่มีสัญญาณผ่อนคลายจากภาวะตึงตัว โดย Consensus คาดว่าการเปิดรับงานใหม่ปรับลดลงเป็น 9.47 ล้านราย (เทียบกับเดือน มิ.ย. ที่ 9.58 ล้านราย) ขณะที่การออกจากงานปรับลดลงเป็น 3.6 ล้านราย (Vs เดือน มิ.ย. 3.77 ล้านราย) สะท้อนตลาดแรงงานยังคงอยู่ในภาวะตึงตัว 2. US CB Consumer Confidence เดือน ส.ค. โดย Consensus คาดปรับลดลงเป็น 116 เมื่อเทียบกับเดือน ก.ค. ที่ 117 3. US House Price Index เดือน มิ.ย. (Figure 2) โดย Consensus คาดปรับสูงขึ้นเป็นเดือนแรกนับตั้งแต่ต้นปี 2022 เป็นต้นมา โดยเติบโต +2.9% YoY เทียบกับเดือน พ.ค. ที่ +2.8% YoY)
ส่วนประเด็นข่าวที่ต้องติดตามวันนี้ คือ นายกฯ เศรษฐา นัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปรึกษาแนวทางการออกนโยบายแจกเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท/คน สำหรับผู้ที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป และ US Regulators มีแผนเสนอให้ธนาคารที่มีขนาดสินทรัพย์น้อยกว่า USD100bn. ออกพันธบัตรเพิ่มเติม เพื่อชดเชย Capital Losses
กลยุทธ์ลงทุน แนะนำ หุ้นที่มีประเด็นบวก TTB PSG (MSCI เพิ่มคำนวณในดัชนี MSCI Global Standard และ MSCI Global Small Cap Indexes โดยมีผลต่อราคาปิดตั้งแต่วันที่ 31 ส.ค.) และ BANPU (คาดมี Positive Guidance จากงาน Opp. Day)
Strategic daily picks
TTB ปิด 1.77 บาท/แนวรับ 1.71 บาท แนวต้าน 1.85 บาท
MSCI ประกาศเพิ่ม TTB เข้าคำนวณในดัชนี MSCI Global Standard โดยมีผลตั้งแต่ 31 ส.ค. 2023 นอกจากนี้ TTB เผยแนวโน้มผลการดำเนินงานในช่วง 2H23 จะดีขึ้นต่อเนื่องจาก 1H23 ด้วยปัจจัยหนุนจากทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น ขณะที่ NPL ใน 2H23 จะอยู่ระดับใกล้เคียงกับ 1H23 ที่ 2.63% แต่จะไม่เกิน 2.9% ณ สิ้นปี 2023 Bloomberg Consensus ประมาณการกำไรสุทธิ 3Q23 และปี 2023 ที่ 4.33 พันล้านบาท และ 1.71 หมื่นล้านบาท ตามลำดับ พร้อมประเมินราคาเป้าหมายที่ 1.72 บาท
PSG ปิด 1.03 บาท/แนวรับ 0.97 บาท แนวต้าน 1.13 บาท
MSCI ประกาศ PSG เข้าคำนวณในดัชนี MSCI Small cap index โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 31 ส.ค. 2023 ทั้งนี้ PSG รายงานกำไรสุทธิ 300.40 ล้านบาท ใน 2Q23 และ 442.19 ล้านบาท ใน 6M23 โดยผลการดำเนินงานมีการเปลี่ยนเชิงบวกมากกว่า 20% YoY โดยประเด็นข่าวเชิงบวกคือ PSG ลงนาม Turnkey Contract for Resettlement Development Site Construction กับ Phornsavarn Development Sole Company Limited เพื่อรับสิทธิในการดำเนินงานก่อสร้างชุมชนใหม่และงานก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน ที่เมืองจอมเพชร สปป.ลาว มูลค่าโครงการ 5 พันล้านบาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ระยะเวลาดำเนินงานราว 55 เดือน
BANPU ปิด 9.05 บาท/แนวรับ 8.65 บาท แนวต้าน 9.70 บาท
BANPU ยังคงกลยุทธ์ในการกระจายความเสี่ยงและลดการพึ่งพิงธุรกิจถ่านหิน โดยบริษัทอยู่ระหว่างเตรียมการเริ่มดำเนินงานโครงการ CCUS จำนวน 2 โครงการ คือ 1) Barnett Zero (อัตราการกักเก็บ CO2e ไม่เกิน 210kt คาดเริ่มดำเนินงานได้ปลายปี 2023) และ 2) Cotton Cove (อัตราการกักเก็บ CO2e ไม่เกิน 80kt คาดเริ่มดำเนินงานได้ปลายปี 2024) โดยทั้ง 2 โครงการมีงบลงทุนรวมในช่วง USD43-58mn Bloomberg Consensus ประมาณการกำไรสุทธิปี 2023 ที่ 1.27 หมื่นล้านบาท พร้อมประเมินราคาเป้าหมายที่ 9.45 บาท