เวสต์เทกซัส 90.79 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล เบรนท์ 95.31 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล

เวสต์เทกซัส 90.79 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล เบรนท์ 95.31 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล

วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน (2 ต.ค. 66) ราคาน้ำมันดิบปรับลด จากความกังวลต่อเศรษฐกิจมหภาคของจีน และสหรัฐฯ

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบกับราคา

- ราคาน้ำมันดิบปรับลด จากความกังวลต่อเศรษฐจีนที่ทวีความรุนแรงขึ้น เนื่องจากหุ้นของผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ Evergrande group ถูกระงับ หลังมีรายงานว่าประธานของบริษัทถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในขณะที่เศรษฐกิจของสหรัฐฯ ก็กำลังเผชิญกับความเสี่ยง เนื่องจากหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐฯ จะถูกปิดการดำเนินงาน ในวันที่ 1 ต.ค. หากสภาคองเกรสไม่สามารถอนุมัติร่างกฎหมายกลาโหม รวมถึงมาตรการต่อเนื่องในระยะสั้น หรือที่เรียกว่า CR ได้

-/+ นักลงทุนจับตาการประชุมระดับรัฐมนตรีของกลุ่มโอเปคและพันธมิตร (OPEC+) ในวันที่ 4 ต.ค. ซึ่งนักวิเคราะห์คาดว่า ซาอุดีอาระเบียมีแนวโน้มที่จะชะลอการปรับลดกำลังการผลิตลง เนื่องจากอุปทานที่ตึงตัวได้หนุนราคาน้ำมันดิบให้ปรับเพิ่มสูงขึ้น และคาดว่าราคาน้ำมันดิบจะยังคงตัวอยู่ในระดับสูงในช่วงที่เหลือของปีแม้ว่าจะไม่มีการประกาศลดกำลังการผลิตเพิ่มเติม

+ Baker Hughes รายงานจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบสหรัฐฯ สำหรับสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 29 ก.ย. ปรับลดลงจำนวน 5 แท่นมาอยู่ที่ระดับ 502 แท่น ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่ ก.พ. 65 และแท่นขุดเจาะก๊าซธรรมชาติปรับลดลง 2 แท่น มาอยู่ที่ระดับ 116 แท่น โดยแท่นขุดเจาะทั้งหมดต่ำกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว 19% หรือคิดเป็นจำนวนที่ลดลง 142 แท่น 
 

ราคาน้ำมันเบนซิน

ราคาน้ำมันเบนซินปรับตัวลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ จากการส่งออกน้ำมันเบนซินของเกาหลีใต้ที่เพิ่มสูงขึ้นกว่า 9.3% เนื่องจากความต้องการใช้น้ำมันในประเทศที่ปรับตัวลดลง นอกจากนี้อุปสงค์ทางฝั่งสหรัฐฯ ก็มีแนวโน้มที่ปรับลดลงก่อนเข้าสู่ช่วงฤดูหนาว

 

ราคาน้ำมันดีเซล

ราคาน้ำมันดีเซลปรับตัวลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ จากอุปทานที่คาดว่าจะตึงตัวต่อเนื่อง หลังรัฐบาลจีนประกาศว่าจะไม่ออกโควต้าส่งออกน้ำมันเพิ่มเติมในปีนี้แล้ว อย่างไรก็ตาม ราคายังได้รับแรงกดดันจากน้ำมันดีเซลคงคลังสิงคโปร์ ที่ปรับเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือน

 


 

เวสต์เทกซัส 90.79 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล เบรนท์ 95.31 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล