วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ ภาพรวมตลาดยังถูกกดดันจนกว่าจะเห็น yield ลง

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ ภาพรวมตลาดยังถูกกดดันจนกว่าจะเห็น yield ลง

ผลตอบแทนพันธบัตรในระดับสูงยังเป็นปัจจัยกดดันความน่าสนใจการลงทุนในหุ้น 1) ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ยังทรงตัวใกล้เคียงระดับสูงสุด ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันต่อความน่าสนใจของการลงทุนในหุ้นเทียบพันธบัตร (Earnings yield gap) และทำให้ตลาดยังมีความเสี่ยงต่อแรงขายทำกำไร

2) ตลาดจะติดตามตัวเลขเศรษฐกิจ ซึ่งหากมีสัญญาณชะลอตัวจะมีโอกาสทำให้คาดการณ์ของตลาดเกี่ยวกับดอกเบี้ยและผลตอบแทนพันธบัตร ปรับตัวลดลงได้ ซึ่งมีโอกาสหนุนตลาดฟื้นระยะสั้นได้ แต่การฟื้นตัวอย่างแท้จริงจากวัฎจักรดอกเบี้ยของสหรัฐฯ เริ่มปรับลดลงได้จริงๆ น่าจะยังต้องใช้เวลาอีกนาน 3) การรายงานผลประกอบการไตรมาส 3/66 ในช่วง ต.ค.-ต้นพ.ย. ในหลายกลุ่ม (โดยเฉพาะหุ้นบริโภคในประเทศที่อาจได้รับผลกระทบภัยแล้งและการใช้จ่ายภาครัฐที่ชะลอตัว) จะยังเป็นปัจจัยกดดันประมาณการกำไรบจ. ขณะที่ลุ้นกลุ่มพลังงาน และกลุ่มได้ประโยชน์จากบาทอ่อน จะช่วยให้ประมาณการกำไรบจ.เริ่มปรับดีขึ้น

ยังให้น้ำหนักกับเงินบาทอ่อนค่าในระยะกลาง หุ้นที่น่าสนใจได้แก่ 1) กลุ่มได้ประโยชย์จากเงินบาทอ่อนค่าทางตรงอย่างส่งออก ได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์ อาหาร เช่น HANA, KCE, SVI, TU, CPF (แต่ไม่ควรไล่หุ้นที่ขึ้นมาเยอะ) และ 2) กลุ่มได้ประโยชน์ทางอ้อม จากกำลังซื้อของต่างชาติที่มากขึ้น ได้แก่ BDMS, BH, BCH, AOT, SPA, AWC, ERW เป็นต้น // สำหรับต้น ต.ค. เรามองกลุ่มธนาคาร มีโอกาสฟื้นก่อนการประกาศผลประกอบการ และกลุ่มโรงไฟฟ้าที่ลดลงทดสอบแนวรับ มีโอกาสฟื้นตัว อย่างไรก็ตามภาพรวมยังเป็นการเลือกเก็งกำไรแบบกำหนดจุดตัดขาดทุน
 

ภาพรวมกลยุทธ์: ยังเน้นเก็งกำไรแบบกำหนดจุดตัดขาดทุน ส่วนต่างดอกเบี้ยนโยบายไทย-สหรัฐฯ ที่กว้าง จะยังเป็นปัจจัยกดดันเงินทุนไหลออกที่กระทบหุ้นใหญ่ ทำให้การลงทุนจะอยู่ในรูปของการเก็งกำไรจนกว่าจะเห็นประมาณการกำไรบจ.ปรับขึ้นอย่างชัดเจน // หุ้นเด่นที่เราชอบในช่วง ก.ย.-ธ.ค. ได้แก่ PTTEP, TOP, PTG, OR / CPAXT, TIDLOR / AOT, AWC, SPA / CPN, AP

หุ้นแนะนำ: AOT*, BDMS*, TU*, SMT*

แนวรับ: 1,450-1,460 / แนวต้าน : 1,490-1,500 จุด 

สัดส่วนลงทุน: เงินสด 40% vs พอร์ตหุ้น 60%

 

ประเด็นการลงทุนที่น่าสนใจ

ISM เผยดัชนีภาคการผลิตสหรัฐหดตัวเดือนที่ 11 – ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 49.0 ในเดือนก.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย.2565 และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 47.7 จากระดับ 47.6 ในเดือนส.ค โดยได้รับแรงหนุนจากการเพิ่มขึ้นของคำสั่งซื้อใหม่และการจ้างงาน 

เวิลด์แบงก์หั่นจีดีพีไทยปีนี้ - เวิลด์แบงก์ หั่น GDP ไทยปี 66 เหลือโต 3.4% จากมุมเดิมที่ 3.9% คาดว่าการส่งออกไทยปีนี้จะหดตัว -2.1% กดดัน อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยโดยรวมยังได้ท่องเที่ยว-บริโภคเอกชนหนุน

 


 

กสทช. ประกาศดีล AIS-3BB วันนี้ – ศาลฯ นัดฟังคำสั่งหรือคำพิพากษา 4 บอร์ดกสทช.วันนี้ หวั่นกระทบแผนแต่งตั้งเลขาธิการคนใหม่ 4 ต.ค. ส่วนดีลเอไอเอสควบ 3BB ยื้อกันไม่เลิก ขณะที่บอร์ดหลายรายเห็นต่าง ขอประชุมนัดพิเศษ เกรงถูกครหาหากเกณฑ์ต่ำกว่าทรูควบดีแทค

GULF COD โรงใหม่ – GULF เดินเครื่องเชิงพาณิชย์โรงไฟฟ้า กัลฟ์ พีดี หน่วยที่ 2 กว่า 662.5 เมกะวัตต์ เรียบร้อยแล้ว หลังมี.ค. COD โรงไฟฟ้า GPD 1 

CPN ไฮซีซันดัน Q4 พีค – CPN เข้าไฮซีซัน หนุนผลงาน Q4/2566 สุดพีค ปีนี้รายได้พุ่ง 30% รับยอดเช่าทะยาน-อสังหาหนุน แถมเตรียมเคานต์ดาวน์ เปิดเซ็นทรัล เวสต์วิลล์เดือนพฤศจิกายนนี้ สยายปีกรับทรัพย์เพิ่ม ส่วนฟรีวีซ่านักท่องเที่ยวจีน-บังกลาเทศ ดันนักท่องเที่ยวใช้บริการทะลัก 

JPARK เทรด mai 3 ต.ค.นี้ – มั่นใจพื้นฐานแกร่ง แผนขยายธุรกิจชัดเจนหนุนการเติบโตในอนาคต ราคาเสนอขายที่ 3.80 บาทสะท้อนพื้นฐาน และการเติบโตในอนาคต 

 

ประเด็นติดตาม: 3 ต.ค. – US JOLTs Job Openings/ 4 ต.ค. – EU HCOB Services PMI, US ADP Employment Change, ISM Non-Manufacturing PMI/ 5 ต.ค. – US Initial Jobless Claims

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)