วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง ตลาดหุ้นสหรัฐฯและญี่ปุ่น หยุดทำการ เนื่องในวันขอบคุณพระเจ้า
ทางเทคนิค คาด SET Index อ่อนตัว แนวรับ 1,406 จุด/1,393 จุด แนวต้าน 1,420/1,431 จุด ระยะกลางดัชนีฯ ยังคงอยู่ในทิศทางขาขึ้นกรอบ Up Channel 1,383-1,443 จุด ส่วนระยะสั้น ดัชนีฯ อาจมีการผันผวน
โดยอยู่ระหว่างเลือกว่าจะย่อตัวลงไปทดสอบแนวรับสำคัญ 1,393/1,383 จุด ก่อนรีบาวนด์ขึ้นรอบใหญ่ หรือทะลุผ่านแนวต้าน 1,431 จุดขึ้นไปเลย เพื่อสร้างรูปแบบขาขึ้นรอบใหญ่
ประเด็น Event สำคัญ วันนี้
- US/Japan: ตลาดหุ้นญี่ปุ่นและตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดทำการวันนี้ เนื่องในวันขอบคุณพระเจ้า (ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดต่อเนื่องไปถึงวันศุกร์ เป็นเวลาครึ่งวัน) คาดส่งผลต่อตลาดหุ้นโลกเคลื่อนไหวออกด้านข้าง ด้วยปริมาณซื้อขายลดลง โดยทั้งสองประเทศเป็นตลาดหุ้นที่ผลสำรวจผู้จัดการกองทุนโลกเดือน พ.ย. แนะนำให้เพิ่มน้ำหนักลงทุน
ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญวันนี้ ส่วนใหญ่จะมาจากฝั่งยุโรป ได้แก่
+EU: รายงานภาคการผลิตและภาคบริการเบื้องต้นเดือน พ.ย. ฟื้นตัว Consensus คาดเพิ่มขึ้น MoM แต่ยังคงอยู่ในระดับหดตัว โดยภาคการผลิตอยู่ที่ 43.4 (Vs เดือน ต.ค. 43.1) ภาคบริการอยู่ที่ 48.1 (Vs เดือน ต.ค. 47.8) และภาครวม อยู่ที่ 46.9 (Vs เดือน ต.ค. 46.5) เราคาดว่า รายงานดังกล่าวเป็นสัญญาณบวกเล็กน้อยต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ 4Q23E ของ EU อย่างไรก็ดี เนื่องจากตัวเลขที่ยังต่ำกว่าระดับ 50 (อยู่ในภาวะหดตัวต่อเนื่อง) สะท้อนเศรษฐกิจอียู มีความเสี่ยงเกิดภาวะถดถอย โดย Bloomberg Consensus คาด 4Q23E GDP Growth เติบโต 0% QoQ, +0.1% YoY (Vs 3Q23 GDP Growth -0.1% QoQ, +0.1% YoY) ส่งผลทั้งปี 2023E เติบโต 0.5% (Vs ปี 2022 +3.4%)
-UK: รายงานภาคการผลิตและภาคบริการเบื้องต้นเดือน พ.ย. Consensus คาดใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้า โดยภาคการผลิตอยู่ที่ 45 (Vs เดือน ต.ค. 44.81) ภาคบริการและภาครวม ทรงตัวที่ 49.5 และ 48.7 ตามลำดับ เราคาดว่าแนวโน้มเศรษฐกิจที่ยังคงมีสัญญาณเชิงลบ จะส่งผลให้ BOE มีแนวโน้มคงดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งต่อไป เพื่อลดความเสี่ยงเกิดภาวะถดถอย โดย Bloomberg Consensus คาดว่า 4Q23E GDP Growth เติบโต 0% QoQ, +0.4% YoY (Vs 3Q23 GDP +0% QoQ, +0.6% YoY) ส่งผลทั้งปี 2023E เติบโต 0.5% (Vs ปี 2022 +4.5%)
+/-Opportunity Day: จับตาสัญญาณ Earnings Guidance ของบจ. OR SPCG FPI MOSHI CHEWA JCKH EPG TIPH BYD SMD UAC ILM BCH S&P คาดส่งผลกระทบต่อราคาหุ้นรายตัว หากมีสัญญาณ Negative/Positive Guidance
กลยุทธ์ลงทุน แนะนำเก็งกำไรหุ้นโภคภัณฑ์ TOP PTTGC PTTEP อาจมีข่าวดีจากการประชุมโอเปคพลัสในวันที่ 30 พ.ย.
Strategic daily picks
TOP ปิด 52.00 บาท/แนวรับ 49.00 บาท แนวต้าน 53.50 บาท
คาดค่าการกลั่น 4Q23E อ่อนตัวลง QoQ (จาก crack spread ที่ลดลง โดยเฉพาะ ULG95 หลังสิ้นสุดฤดูกาลขับขี่ และ crude premium ที่สูงขึ้น) ส่วนแนวโน้มค่าการกลั่นปี 2024E คาดจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ KTX คงคาแนะนำ ซื้อ (FV 61.7 บาท) จากแนวโน้มการเติบโตระยะยาวที่แข็งแกร่ง (คาด EPS growth โต 23% CAGR ในช่วงปี 2024-26E) หนุนจากค่าการกลั่นที่แข็งแกร่ง จากการเพิ่มขึ้นของอุปทานการกลั่นใหม่ที่จำกัด และการรับรู้ผลบวกเต็มปีจากโครงการ CFP ในปี 2025E
PTTGC ปิด 38.25 บาท/แนวรับ 36.00 บาท แนวต้าน 41.00 บาท
คาด 4Q23E บันทึกกำไรจากการขายหุ้นสามัญ GCL บริษัทย่อยภายใต้ธุรกิจบริการและอื่น ๆ ให้กับ WHAVH บริษัทย่อยของ WHA เพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นในธุรกิจโลจิสติกส์สำหรับธุรกิจโพลิเมอร์ของงบริษัทในสัดส่วน 50% คิดเป็นมูลค่า 2.64 พันล้านบาท Bloomberg Consensus ประมาณการกำไรสุทธิปี 2023 ที่ 467.78 ล้านบาท (พลิกจากขาดทุนสุทธิ 8.75 พันล้านบาท) และมูลค่าเหมาะสมที่ 39.30 บาท
PTTEP ปิด 160.50 บาท/แนวรับ 157.00 บาท แนวต้าน 169.00 บาท
คาดปริมาณการขายปิโตรเลียมเฉลี่ย/วันจากโครงการปัจจุบันสำหรับปี 2023 อยู่ที่ 4.63 แสนบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ/วัน และปี 2024 ที่ 5.10 แสนบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ/วัน โดยปริมาณขายเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นของปี 2024 เป็นเพราะโครงการจี 1/61 (เอราวัณ) จะผลิตเต็มกำลังการผลิตที่ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน ในเดือน เม.ย. 2024 และรับรู้เข้ามาเต็มปีด้วย ขณะที่ราคาก๊าซเฉลี่ยปี 2024 คาดชะลอตัวลงมาอยู่ที่ 5.6-5.9 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ล้านบีทียู (ปีนี้เฉลี่ย 6 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ล้านบีทียู) Bloomberg Consensus ประมาณการกำไรสุทธีปี 2023 ที่ 7.47 หมื่นล้านบาท (+5.35% YoY) และมูลค่าเหมาะสมที่ 181.50 บาท