วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง จับตา US FOMC Meeting
ทางเทคนิค คาด SET Index เคลื่อนไหว Sideways Down แนวรับ 1,370/1,364 จุด แนวต้าน 1,383/1,390 จุด (EMA 25 วัน) เป็นผลจากการเคลื่อนไหวของดัชนีฯ ทางเทคนิค ยังคงอยู่ในลักษณะแกว่งตัวออกด้านข้างต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 หลังจากดัชนีฯ พุ่งขึ้นแรงกว่า 20 จุด เมื่อกลางสัปดาห์ก่อนหน้า
สะท้อนทิศทางดัชนีฯ รอสัญญาณ Break Out ว่าจะเป็นทิศทางขึ้นไปทดสอบแนวต้าน 1,416 จุด (ดัชนีฯ ต้องทะลุ 1,383/1,390 จุดขึ้นไป) หรือลดลงมาทดสอบจุดต่ำสุดเดิม 1,352.48 จุด (ดัชนีฯ ต้องหลุด 1,364 จุด)
ประเด็น Event สำคัญ วันนี้
ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาคดีพรรคก้าวไกล เรื่องคดีหาเสียงของพรรคที่ให้ยกเลิกมาตรา 112 ว่าเข้าข่ายล้มล้างการปกครองหรือไม่ โดยความเห็นของนักวิชาการส่วนใหญ่ ต่างคาดว่าคำตัดสินของศาลฯ อาจไม่เพียงพอต่อการนำไปสู่การยุบพรรคก้าวไกล ขณะที่นายธีรยุทธ์ ผู้ร้อง ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 เพื่อให้สั่งให้นายพิธา/พรรคก้าวไกล เลิกการกระทำใด ๆ เพื่อให้มีการยกเลิกหรือแก้ไขมาตรา 112 ที่กระทำอยู่และจะเกิดขึ้นในอนาคต
*ผลประชุมเฟด (FOMC Meeting) คาดว่าจะมีมติคงดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับเดิม และให้ความสนใจต่อรายงานหลังผลประชุมเฟด จากประธานเฟด Powell ว่ามีท่าทีต่อการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายในอนาคตมากน้อยเพียงใด เมื่อเทียบกับคาดการณ์ของตลาด อิง CME FedWatch Tool ล่าสุด ณ วันที่ 29 ม.ค. ให้โอกาสเฟดลดดอกเบี้ยในเดือน มี.ค. อยู่ที่ 50.9% และปรับลดดอกเบี้ยต่อเนื่องปีนี้ประมาณ 6 ครั้ง ขณะที่มุมมองของ Fed Atlanta ซึ่งประเมินแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟด ผ่านเครื่องมือ เงินเฟ้อ อัตราว่างงาน และตัวแปรเศรษฐกิจอื่น ๆ ณ สิ้นเดือน ธ.ค. 2023 พบว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่เหมาะสมของเฟดควรอยู่ที่ 4.54-5.09% (Vs Fed Fund Effective Rate ล่าสุดอยู่ที่ 5.33%) นั่นหมายถึงโอกาสปรับลดดอกเบี้ยปี 2024E อยู่ระหว่าง 24bps-79 bps หรือคาดปรับลดดอกเบี้ยประมาณ 1-3 ครั้ง ซึ่งใกล้เคียงกับคาดการณ์ของ Dot Plot ของเฟด ที่คาดว่าจะปรับลดดอกเบี้ยปีนี้ลง 3 ครั้ง
KTX คาด เฟดอาจส่งสัญญาณปรับลดดอกเบี้ยครั้งแรก (First rate cut) ช้ากว่าตลาดคาดการณ์ โดยอิงสถิติในอดีต (ปี 1971-ปัจจุบัน) พบว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะเกิดขึ้นเมื่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่เป็นตัวเงิน (Nominal GDP) ปรับตัวลงต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (สะท้อนว่าอัตราเงินเฟ้อควรลดลงจากการอ่อนตัวของเศรษฐกิจ ไม่ใช่การปรับลดลงจากฝั่งต้นทุนเพียงอย่างเดียว) (Figure 1) เมื่อ US GDP ปี 2023 +3.1% YoY สูงกว่าคาดมาก (เฟดคาด 2.6% YoY) หนุนให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่เป็นตัวเงิน (Nominal GDP) ปรับตัวขึ้นมาที่ 6.5% YoY สูงกว่า FED Funds rate 5.5% อยู่ที่ +1.0% จึงทำให้โอกาสการลดดอกเบี้ยครั้งแรก (First rate cut) อาจเกิดขึ้นล่าช้ากว่าที่ตลาดคาดไว้ (CME Fed watch คาดเฟดลดดอกเบี้ยครั้งแรกเดือน มี.ค.)
ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญวันนี้ มีจำนวนมาก
+/-US Earnings Results: จับตารายงานผลประกอบการบจ. สหรัฐฯ ไฮไลท์ Mastercard , Qualcom, Boeing, MetLife ฯลฯ ทั้งนี้ รายงานผลกำไรที่ดีหรือแย่กว่าคาด จะส่งผลเชิงบวกหรือลบต่อหุ้นรายตัว และส่งผลกระทบต่อ Sentiment ตลาดหุ้นสหรัฐฯ
+/-รายงานภาคการผลิตและภาคบริการเดือน ม.ค. ของ China โดยสำนักสถิติแห่งชาติ (NBS) คาดปรับดีขึ้นเล็กน้อย MOM โดย Consensus คาดภาคการผลิตอยู่ที่ 49.3 (Vs เดือน ธ.ค. 49) ภาคบริการอยู่ที่ 50.5 (Vs เดือน ธ.ค. 50.4) และภาครวมอยู่ที่ 50.4 (Vs เดือน ธ.ค. 50.3) สะท้อนเศรษฐกิจจีนฟื้นตัวอย่างช้า ๆ ดังนั้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจจะเติบโตได้ตามเป้าหมาย 5% ส่งผลให้สัปดาห์ที่ผ่านมา ทางการจีนทยอยประกาศออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ อาทิ PBOC ประกาศลดอัตราสำรองทางกฎหายลง 50 bps. เป็น 10% ซึ่งจะเพิ่มสภาพคล่องในตลาดการเงินได้ประมาณ 1 ล้านล้านหยวน (หรือประมาณ 0.8% ของ GDP จีน) และการออกมาตรการสร้างเสถียรภาพตลาดทุนจีน ผ่านการออกกองทุน 2 ล้านล้านหยวน
และห้าม Hedge Fund ทำ Short Position ทั้งนี้ เราคาดโมเมนตัมบวกจะเพิ่มมากขึ้น หากมีการออกมาตรการที่เชื่อมโยงกับการแก้ปัญหาฟองสบู่แตกของภาคอสังหาริมทรัพย์
-US รายงานตัวเลขจ้างงานภาคเอกชน (ADP Employment) เดือน ม.ค. โดยตลาดคาดว่าปรับลดลง MoM: Consensus คาดว่าการจ้างงานฯ จะมีจานวนลดลงเป็น +135k (Vs เดือน ธ.ค. +164k) ซึ่งสะท้อนแนวโน้มการจ้างงานของภาคเอกชนอยู่ในระดับต่า และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในอนาคต
+Thailand: รายงานดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน ธ.ค. Consensus คาดขาดดุลเพิ่มขึ้นเป็น -USD1.6bn. (Vs เดือน พ.ย. -USD1.2bn.) ทั้งนี้ เราคาดว่าภาคท่องเที่ยวและบริการ ซึ่งปัจจุบันยังคงอยู่ในช่วง High Season ยังคงเป็นเครื่องจักรหลักในการทาให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล โดย สศค. คาดสิ้นปี 2023 จะเกินดุล USD5.1bn. (Vs ดีขึ้นมากเทียบกับปี 2022 ที่ขาดดุล –USD15.7bn.) และเพิ่มขึ้นเป็น USD10bn. ในปี 2024E ซึ่งจะช่วยสร้างเสถียรภาพต่อค่าเงินบาทของไทยในระยะยาว
กลยุทธ์ลงทุน แนะนำ หุ้นที่มีประเด็นบวก ได้แก่ MOSHI AUCT MASTER
Strategic daily picks
MOSHI ปิด 52.25 บาท/แนวรับ 49.50 บาท แนวต้าน 54.75 บาท
แนวโน้มผลการดำเนินงาน 4Q23 คาดรายได้จากการขายเติบโต QoQ, YoY เนื่องจากเป็นช่วง high season ของธุรกิจ นอกจากนี้ บริษัทยังเป้าหมายจะมีรายได้รวมเติบโตเฉลี่ย (CAGR) 15-20% ต่อปี ในปี 2023-25 ตามการขยายสาขาที่ครอบคลุมทั่วประเทศมากขึ้น และปี 2025 ขยายสาขาออกสู่ต่างประเทศ สำหรับปี 2024 บริษัทตั้งเป้าหมายรายได้รวมเติบโตไม่ ต่ำกว่า 20% Bloomberg Consensus ประมาณการกำไรสุทธิปี 2023 ที่ 379.25 ล้านบาท (+49.80% YoY) และมูลค่าเหมาะสมที่ 59.17 บาท
AUCT ปิด 11.30 บาท/แนวรับ 10.70 บาท แนวต้าน 12.10 บาท
แผนการตลาดในปี 2024 มีการพัฒนาลานประมูลเดิม และยังมีการก่อสร้างลานประมูลแห่งใหม่ที่สำนักงานใหญ่ ซึ่งคาดว่าจะสามารถให้บริการได้ประมาณใน 3Q-4Q24 พร้อมมีแผนลงทุนพัฒนาซอฟท์แวร์ใหม่ ๆ มาใช้กับการประมูลรถยนต์มือสอง และเปิดตัวบริการใหม่ “AUCT Live” ภายในปี 2024 ซึ่งจะช่วยให้บริการประมูลออนไลน์มีสัดส่วนเพิ่มจากเดิม 5-10% (ปัจจุบันมีลูกค้าใช้บริการออนไลน์ 60-70% ของการประมูลรถยนต์มือสองทั้งหมดของบริษัท) Bloomberg Consensus ประมาณการกำไรสุทธิปี 2023 ที่ 368 ล้านบาท (+46.47% YoY) และมูลค่าเหมาะสมที่ 13.50 บาท
MASTER ปิด 64.50 บาท/แนวรับ 62.75 บาท แนวต้าน 66.75 บาท
KTX คาดกำไรทำจุดสูงสุดใหม่ใน 4Q23E ที่ 112.8 ล้านบาท (+13.0% QoQ และ +42.1% YoY) จากการเติบโตของรายได้ ตามการขยายห้องผ่าตัดในช่วงฤดูกาลขาย การปรับดีขึ้นของอัตรากำไรขั้นต้น และส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมลงทุน 8.9 ล้านบาท คิดเป็น 7.9% ของกำไรสุทธิ KTX ประเมินราคาเหมาะสมได้ 64.83 บาท ด้วยวิธี Earnings Yield ซึ่งคำนวณจากกำไรต่อหุ้นในระยะ 12 เดือนข้างหน้าคิดลดด้วยอัตราผลตอบแทนที่คาดหวัง 3.3% แบ่งเป็น 54.5 บาท จากธุรกิจโรงพยาบาลของ MASTER และ 10.3 บาท จากธุรกิจของพันธมิตร