วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง จับตา BOE Meeting และการโหวตพ.ร.บ. งบประมาณปี 2024 วาระ 2-3
ทางเทคนิค คาด SET Index รีบาวนด์ รับข่าวเฟดคงนโยบายลดดอกเบี้ยปีนี้ 3 ครั้งเท่าเดิมและปรับเพิ่มมุมมองเศรษฐกิจปีนี้สูงขึ้นเป็น 2.1% จากเดิม 1.4% แนวต้าน 1,382/1,387 จุด (EMA 25/50 วัน) แนวรับ 1,365/1,356 จุด โดยภาพใหญ่ของดัชนีฯ ยังคงอยู่ในกรอบ Up Channel 1,330-1,400 จุด
ส่วนทิศทางระยะสั้นเริ่มเห็นการเปลี่ยนแนวโน้ม จาก “ปรับขึ้นไปทดสอบแนวต้าน” (ตลอดสัปดาห์ก่อน) มาเป็น “ลงก่อน เพื่อปรับขึ้นรอบใหม่” (ตลอดสัปดาห์นี้ เกิดทิศทางขาลง โดยทา Lower High และ Lower Low พร้อมเกิดสัญญาณขายจาก Slow Stochastic) KTX แนะนำ ซื้อเมื่ออ่อนตัว
ประเด็น Event สำคัญ วันนี้
Opportunity Day: SPCG SCAP TPCH NAT SAWAD TKS KJL CREDIT KTMS TEGH TACC VIBHA BTG HPT ILM NCL TMILL ONEE AMC AMATA ADVANC PTT RS PTG EGCO PRTR
Thailand: วันนี้คาดสภาผู้แทนราษฎรจะมีการโหวตพ.ร.บ.งบประมาณประจำปี 2024 วาระที่ 2-3 วงเงิน 3.48 ล้านล้านบาท +9.3% YoY ก่อนส่งต่อให้ทางวุฒิสภาพิจารณารับรองในวันที่ 25-26 มี.ค. ก่อนส่งขึ้นทูลเกล้าฯ วันที่ 3 เม.ย. เพื่อประกาศบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป
ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ:
BoE Meeting: คาดคงดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 5 ที่ 5.25% ซึ่งครั้งล่าสุดมีมติ 6 เสียงต่อ 9 เสียงให้คงดอกเบี้ย (2 เสียงสนับสนุนให้ลดดอกเบี้ย 25 bps และอีก 1 เสียงให้ปรับขึ้นดอกเบี้ย 25 bps) KTX คาดว่าตัวเลขเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้น หนุนเงินเฟ้อเร่งตัวแรง จะส่งผลต่อ BOE คงดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่อง โดยภาวะเศรษฐกิจอังกฤษ แม้ยังอยู่ในภาวะถดถอยทางเทคนิค (Technical recession) อันเนื่องมาจาก GDP ติดลบต่อเนื่องใน 3Q-4Q23 แต่อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจเริ่มมีสัญญาณกลับมาฟื้นตัวขึ้นใน 1Q24E หลังตัวเลข GDP กลับมาเติบโต +0.2% MoM ในเดือน ม.ค. 2024 (Vs -0.1% MoM) ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการขยายตัวในภาคบริการ เมื่อผนวกกับอัตราเงินเฟ้อที่ยังทรงตัวระดับสูงที่ 4% มากว่า 3 เดือน (เดือน พ.ย. 2023 -ม.ค. 2024) และ คาดการณ์เงินเฟ้อเดือน ก.พ. 2024 (ประกาศวันที่ 20 มี.ค.) ที่คาดว่าจะกลับมาเร่งตัวขึ้นแรงถึง +0.7% MoM (Vs -0.6% MoM) ทำให้การประชุม BoE (วันที่ 21 มี.ค.) จะยังคงดอกเบี้ยอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงสุดที่ 5.25% ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 และ คาดยังไม่มีการส่งสัญญาณปรับลดดอกเบี้ยเกิดขึ้นใน 1H24
รายงานภาคการผลิตและภาคบริการเบื้องต้นเดือน มี.ค. ของ US EU Japan ช่วยเพิ่มโอกาส Soft Landing: โดย Consensus คาด US (S&P Global) ปรับตัวลดลงเล็กน้อยเทียบกับเดือน ก.พ. ภาคการผลิตอยู่ที่ 52 (Vs เดือน ก.พ. 52.2) ภาคบริการอยู่ที่ 52.2 (Vs เดือน ก.พ. 52.3) แต่ของ EU (HCOB) คาดปรับตัวดีขึ้น โดยภาคการผลิตอยู่ที่ 46.9 (เดือน ก.พ. 46.5) ภาคบริการอยู่ที่ 50.4 (เดือน ก.พ. 50.2) เช่นเดียวกันกับของ Japan (Jibun Bank) คาดดีขึ้น โดยภาคการผลิตอยู่ที่ 48.2 (Vs เดือน ก.พ. 47.2) ภาคบริการอยู่ที่ 53.4 (Vs เดือน ก.พ. 52.9) ซึ่งสอดคล้องกับ Japan Reuter Tankan Index
เดือน มี.ค. คาดเพิ่มขึ้นเป็น 3 (Vs เดือน ก.พ. -1) เราคาดว่าเศรษฐกิจโลกที่มีโอกาสน้อยที่จะเกิด Recession จะส่งผลบวกต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้วดีขึ้นตามลำดับ เป็นผลบวกต่อการ Re-Stocking รอบใหม่ (+กลุ่มปิโตรเคมี กลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์)
กลยุทธ์ลงทุน แนะนำ หุ้นที่มีประเด็นข่าวเชิงบวก ได้แก่ DCC DOHOME STPI
Strategic daily picks
DCC ปิด 1.92 บาท/แนวรับ 1.85 บาท แนวต้าน 2.06 บาท
ผลการดำเนินงานปี 2023 เมื่อเทียบกับปีก่อน มียอดขายสินค้ารวม 7.74 พันล้านบาท -7.2%, อัตรากำไรขั้นต้นอยู่ที่ 38.0%, ต้นทุนในการจัดจำหน่าย -8.2% (จากปริมาณขายลดลง), ต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้น 74.7% (จากการปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคาร) ทำให้มีกำไรสุทธิรวม 1.18 พันล้านบาท -27.6% พร้อมจ่ายเงินปันผล 0.012 บาท/หุ้น (XD=1 เม.ย. และ PD=25 เม.ย. 2024)
DOHOME ปิด 11.20 บาท/แนวรับ 10.70 บาท แนวต้าน 11.90 บาท
ผลการดำเนินงานปี 2024 คาดเติบโตเป็นตัวเลข 2 หลัก จากปีก่อน หรือราว 10%, ยอดขายจากสาขาเดิม (SSSG) คาดจะเติบโต High Single Digit และอัตรากำไรขั้นต้น (GPM) คาดจะอยู่ที่ประมาณ 17-18% นอกจากนี้ บริษัทผลักดันสินค้ากลุ่ม House brand ให้มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น 20% เพราะมี GPM สูงกว่าสินค้าทั่วไป
STPI ปิด 3.34 บาท/แนวรับ 3.24 บาท แนวต้าน 3.50 บาท
ปี 2023 บริษัทมีรายได้จากการดาเนินงาน 3.89 พันล้านบาท (+3.52% YoY) และมีกาไรสุทธิ 201 ล้านบาท ดีขึ้นจากปี 2023 ที่มีผลขาดทุนสุทธิ 145 ล้านบาท โดยก่อนหน้านี้ STPI ได้มีการลงนามสัญญาโครงการใหม่ รวมมูลค่างาน 4 โครงการราว 2.54 พันล้านบาท