วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง ตัวเลขจ้างงานสหรัฐฯ และเงินเฟ้อไทย
ทางเทคนิค คาด SET Index เคลื่อนไหว Sideways (ดัชนีฯ เคลื่อนไหวขึ้นลงอยู่ในกรอบ 1,368.21-1,389.79 จุด ตั้งแต่กลางเดือน มี.ค. เป็นต้นมา รวมถึงวานนี้ที่ดัชนีฯ ปรับลดลงมาทดสอบแนวรับ 1,368 จุด ก่อนรีบาวนด์ในภาคบ่าย)
แนวรับ 1,368/1,365 จุด แนวต้าน 1,380/1,384 จุด (EMA 25/50 วัน) ภาพใหญ่ ดัชนีฯ ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ Down Channel 1,330-1,396 จุด ส่วนภาพระยะสั้น อยู่ระหว่างเลือกข้างว่าจะเป็น Uptrend เพื่อขึ้นไปทดสอบแนวต้านของกรอบที่ 1,395 จุด (เป้าหมาย 1,405/1,416 จุด ตามลำดับ) หรือจะเลือกเป็น Downtrend หากร่วงหลุด 1,350 จุด (เป้าหมาย 1,330 จุด)
ประเด็น Event สำคัญ วันนี้
India: ผลประชุมธนาคารกลาง คาดคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 6.5% เป็นครั้งที่ 7
Thailand: เทศกาลหยุดยาวสงกรานต์วันที่ 6-8 เม.ย. และ 12-16 เม.ย. คาดส่งผลบวกต่อหุ้นอิงเทศกาลท่องเที่ยว กลุ่มโรงแรม กลุ่มสายการบิน และกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม
Holidays: CH ปิดทำการเนื่องในเทศกาลเช็งเม้ง (จนถึงวันที่ 7 เม.ย.) Taiwan (ปิดทำการเนื่องในวัน Tomb Sweeping Day)
ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ:
US รายงานจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือน มี.ค.: Consensus คาดว่าจะรายงานลดลงเป็น +200k (Vs เดือน ก.พ. +275k) และลดลงเหลือ +160k และ +130k ในเดือน มี.ค.-เม.ย. ตามลำดับ อัตราว่างงานเดือน มี.ค. คาดอยู่เท่าเดิม 3.9% (แต่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 4.1% สิ้นเดือน ธ.ค. 2024) อัตราค่าจ้างเฉลี่ยรายชั่วโมงเดือน มี.ค. คาดเพิ่มขึ้น +0.3% MoM (Vs เดือน ก.พ. +0.1% MoM) แต่หากเทียบ YoY คาดปรับลดลงเป็น 4.1% YoY (Vs เดือน ก.พ. 4.3% YoY) และลดลงเหลือ +2.8% YoY ณ สิ้นเดือน ธ.ค. 2024 โดยหากการจ้างงานปรับลดลงตามคาดการณ์ คาดว่าจะส่งผลให้เฟดมีโอกาสที่จะทยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ยในช่วง 2H24 เพื่อสนับสนุนการจ้างงานให้เต็มศักยภาพ
Thailand เงินเฟ้อไทยเดือน มี.ค.: KTX คาดอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core inflation) เดือน มี.ค. 2024 ยังมีแนวโน้มต่ำกว่า 1% ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 อิง Consensus คาดการณ์ที่ +0.4% YoY Vs เดือน ก.พ. +0.43% YoY) เพราะ 1) มาตรการอุดหนุนราคาพลังงานภาครัฐ ทั้งการลดราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาท/ลิตร (สิ้นสุดเดือน มี.ค. 2024) และการตรึงค่าไฟฟ้าในอัตราไม่เกิน 4.20 บาท/หน่วย (เดือน ม.ค.-เม.ย. 2024) ช่วยลดแรงกดดันเงินเฟ้อหมวดสาธารณูปโภค และ 2) ผลพวงจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวต่ำกว่าแนวโน้ม โดย GDP ไทยเติบโตเพียง 1.9% YoY ใน ปี 2023 แม้แรงกดดันเงินเฟ้อจากราคาพลังงาน (สัดส่วน 12%) ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องตลอดทั้ง 1Q24 พิจารณาจากราคาน้ำมันดิบเดือน มี.ค. 2024 ขยับขึ้น +4.7% MoM และ +14.3% YTD แต่ด้วยอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ซึ่งมีสัดส่วนมากถึง 70% อยู่ในระดับต่ำ จึงทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (Headline) มีแนวโน้มติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 โดย Consensus คาด -0.4% YoY (Vs เดือน ก.พ. -0.77% YoY)
กลยุทธ์ลงทุน แนะนำ หุ้นที่มีประเด็นข่าวเชิงบวก จากรายงานผลประกอบการ 1Q24E ได้แก่ CPALL AAV ERW
Strategic daily picks
CPALL ปิด 55.50 บาท/แนวรับ 53.00 บาท แนวต้าน 57.00 บาท
บริษัทตั้งงบลงทุน 1.2-1.3 หมื่นล้านบาท ในปี 2024 โดยมีแผนเปิด 700 สาขาใหม่ และสาขาใหม่ที่กัมพูชา ซึ่งจะผลักดันให้ผลประกอบการปี 2024 เติบโตได้อย่างโดดเด่นจากแผนการขยายสาขา อย่างไรก็ตาม ประเมินว่าอัตรากำไรขั้นต้นจะปรับตัวเพิ่มขึ้น จากแผนการคัดสรรสินค้าให้ตรงกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ทำให้ยอดขายปรับตัวเพิ่มขึ้นได้อย่างดี ทั้งนี้ Bloomberg Consensus ประมาณการกำไรสุทธิ 1Q24 ที่ 5.35 พันล้านบาท (+29.81% YoY) และมูลค่าเหมาะสมที่ 73.33 บาท
AAV ปิด 2.42 บาท/แนวรับ 2.30 บาท แนวต้าน 2.54 บาท
บริษัทตั้งเป้ารายได้เติบโต 20% ในปี 2024, การขนส่งผู้โดยสารรวม 20-21 ล้านคน, อัตราการขนส่งผู้โดยสาร (Cabin Factor) เฉลี่ยไม่ต่ำ 90% ซึ่งหลังจากเริ่มมาตรการวีซ่าฟรี ผู้โดยสารชาวไทยเดินทางไปยังจีนในเดือน มี.ค. เพิ่มขึ้น 3 เท่า หรือ 2 หมื่นคน จากเดือน ม.ค.-ก.พ. (ก่อนวีซ่าฟรี) อยู่ที่ 5-6 พันคน/เดือน ทั้งนี้ Bloomberg Consensus ประมาณการขาดทุนสุทธิ 1Q24 ที่ 441 ล้านบาท (พลิกจากกำไรสุทธิ 359.40 ล้านบาท ใน 1Q23) และมูลค่าเหมาะสมที่ 2.94 บาท
ERW ปิด 4.78 บาท/แนวรับ 4.66 บาท แนวต้าน 4.98 บาท
ปี 2024 บริษัทตั้งเป้าอัตราการจองห้องพัก (OCC) เฉลี่ยราว 80-82%, อัตราค่าห้องพักเฉลี่ย (ARR) เพิ่มขึ้นราว 5-7% YoY, รายได้เฉลี่ยต่อห้อง (RevPar) เพิ่มขึ้น 5% YoY และรายได้จากกลุ่มธุรกิจอาหาร (F&B) พลิกทำกำไรเมื่อเทียบกับปี 2023 ที่ยังคงขาดทุนสุทธิ นอกจากนี้ มีแผนเปิดโรงแรม Hop Inn 14 แห่ง (ไทย 8 แห่ง ฟิลิปปินส์ 3 แห่ง และญี่ปุ่น 3 แห่ง) ทั้งนี้ Bloomberg Consensus ประมาณการกำไรสุทธิ 1Q24 ที่ 244 ล้านบาท (+2.28% YoY) และมูลค่าเหมาะสมที่ 6.00 บาท