วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ หุ้นบาทอ่อนเคลื่อนไหวดี ระวังหุ้นที่อาจชะลอจากการปรับลด GDP
ยอดส่งออกมี.ค.หดตัวแรง -10.9% YoY (แย่กว่าตลาดคาด -4.0% YoY) หดตัวครั้งแรกในรอบ 8 เดือน นำเข้าโต +5.6% YoY (แย่กว่าตลาดคาด +6.0% YoY)
ทั้งนี้หากไม่รวมทองคำ น้ำมันและยุทธปัจจัย การส่งออกมี.ค. -5.6% ชะลอลงจากฐานที่สูงในปีก่อนและความขัดแย้งภูมิรัฐศาสตร์ โดยสินค้าเกษตร +0.1%, ขณะที่สินค้าอุตสาหกรรมเกษตร -9.9%, สินค้าอุตสาหกรรม -12.3% ส่งออกที่ชะลอทำให้กระทรวงการคลัง ปรับคาดการณ์ GDP ปี 2567 เหลือ +2.4% อย่างไรก็ตาม ในรายผลิตภัณฑ์ สินค้าในส่วนเนื้อสัตว์ ไก่, สุกร, อาหารสัตว์เลี้ยง ยังมีการเติบโตที่ดี หรืออยู่ในทิศทางฟื้นตัว ซึ่งเป็นบวกต่อ GFPT, TFG, CPG, BTG, AAI, ITC นอกจากนี้กลุ่มที่ได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่าและมีแนวโน้มการเติบโตที่ดี ที่ไม่ได้อยู่ใน coverage ของเรา ยังรวมไปถึงกลุ่มเครื่องดื่ม, เครื่องสำอางค์ และเครื่องปรุงรสอาหารเป็นต้น
ปัจจัยภายนอกติดตาม การประมูลพันธบัตรสหรัฐฯ /และการประชุมเฟด กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ประกาศเป้าหมายประมูลพันธบัตรไตรมาส 2/67 ที่ 243 พันล้านดอลลาร์ฯ ซึ่งมากกว่าที่ตลาดคาดราว 40 พันล้านดอลลาร์ฯ อาจกระทบต่อผลตอบแทนพันธบัตร ขณะที่ตลาดรอติดตามการประชุมเฟด 1 เม.ย. ซึ่งตลาดมองเฟดคงดอกเบี้ย แต่กังวลเกี่ยวกับการส่งสัญญาณที่การลดดอกเบี้ยอาจจะเลื่อนช้าไป หรือกระทั่งปรับขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มเติม ซึ่งอาจกระทบกับจิตวิทยาของตลาด อย่างไรก็ตามการรายงานผลประกอบการบจ.สหรัฐฯ โดยรวมที่ออกมาค่อนข้างแข็งแกร่ง เป็นปัจจัยที่ทำให้บรรยากาศลงทุนโดยรวมยังอยู่ในแนวโน้มเชิงบวก
คงมุมมองบวกต่อการลงทุนครึ่งปีหลัง แม้ในระยะสั้นอาจผันผวน การปรับลด GDP เหลือ 2.4% (จากคาดการณ์เดิมที่ 2.8%) อยู่ในความเป็นไปได้ที่เราประเมินในช่วงต้น เม.ย. และอาจส่งผลลบต่อหุ้นอิงการเติบโตเศรษฐกิจในประเทศโดยเฉพาะกลุ่มธนาคาร อย่างไรก็ตามเราคงมุมมองบวกต่อครึ่งปีหลังจากการเร่งเบิกจ่ายงบ และแผนกระตุ้นเศรษฐกิจช่วงปลายปี รวมไปถึงแนวโน้มดอกเบี้ยโลกที่น่าจะกลับมาเป็นขาลงได้ในปี 2568 ระยะสั้นยังคงมุมมองกลุ่มได้ประโยชน์จากท่องเที่ยวและบาทอ่อนค่าจะโดดเด่น
ภาพรวมกลยุทธ์ บรรยากาศเก็งกำไรระยะสั้นเป็นบวกในลักษณะ rebound ในกรอบ 1,349-1,369 จุด การเก็งกำไรควรกำหนดจุดตัดขาดทุนและไม่ไล่ราคา และใช้จังหวะผันผวน เม.ย.-พ.ค. ในการทยอยสะสมหุ้นท่องเที่ยว บาทอ่อน และหุ้นรายตัวที่อยู่ในโซนต่ำได้ ระวังกลุ่มธนาคารจากแนวโน้ม GDP ระยะสั้นที่ยังปรับลดลง
หุ้นแนะนำ: BDMS*, MAJOR*, TACC*, BTG*
แนวรับ: 1,349-1,356 / แนวต้าน : 1,369 จุด
สัดส่วนลงทุน: เงินสด 40% vs พอร์ตหุ้น 60%
ประเด็นการลงทุนที่น่าสนใจ
ตัวเลขส่งออกแย่กว่าคาด กระทรวงพาณิชย์เปิดเผยยอดส่งออกเดือน มี.ค. 67 ลดลง -10.9 % YoY แย่กว่าที่ตลาดคาดลดลง -4.0% YoY เป็นการหดตัวในรอบ 8 เดือน สาเหตุจากฐานการส่งออก มี.ค.ปี66 ที่สูง ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่ไมแน่นอนและขยายตัวต่ำ จากความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์
คลัง ลดเป้า จีดีพี ปี 67 เหลือ 2.4% หากรวมดิจิทัลวอลเล็ตคาดโต 3.3% (การเงินธนาคาร)
Tesla ประกาศจับมือ Baidu เปิดตัวระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติเต็มรูปแบบในจีน หลังเดินเข้าพบนายหลี่ เฉียง นายกรัฐมนตรีจีนที่กรุงปักกิ่ง (อีไฟแนนซ์)
ผู้ว่า ธปท.ให้สัมภาษณ์ CNBC ยันดำเนินนโยบายอย่างเป็นอิสระ เมินแรงกดดันทางการเมือง ชี้หากพิจารณาเหตุผลที่ทำให้เศรษฐกิจไทยซบเซา แทบไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับสิ่งที่อ่อนไหวต่ออัตราดอกเบี้ย (การเงินธนาคาร)
สุริยะ” เดินหน้านโยบาย “รถไฟฟ้า 20 บาท” ตลอดสายครบทุกสี คาดเริ่ม ก.ย.68 (ข่าวหุ้น)
กรมบัญชีกลาง ย้ำหน่วยงานรัฐ เร่งใช้จ่ายเงินงบฯ ปี 67 หลังมีผลใช้บังคับแล้ว พร้อมออกมาตรการลดเวลาการจัดซื้อจัดจ้าง (การเงินธนาคาร)
NER ชูดีมานด์-ราคา ภาพรวมส่งออกยางพาราบวกเติบโตสูง 36.9% (ทันหุ้น)
STEC แกร่งพร้อมลงทุน บุ๊กอู่ตะเภา 2.5หมื่นล. มั่นใจเริ่มก่อสร้างในปี67 เผยครึ่งหลังลุยประมูลงานภาครัฐ เสริมแบ็คล็อคทรงตัว 1แสนล้านบาทต่อปี (ทันหุ้น)
KTB “กรุงไทย” ลด ดอกเบี้ย เงินกู้ MRR MLR และ MOR 0.25% ให้ลูกค้ากลุ่มเปราะบาง 3 แสนบัญชี มีผล 16 พ.ค.นี้ นาน 6 เดือน (การเงินธนาคาร)
SA ไซมิส ชี้ อสังหาฯ ยังซึม งดลงทุน 3 ปี ลดหนี้ มุ่งพัฒนาโครงการจากแลนด์แบงก์เดิม ตั้งเป้าลดหนี้เหลือ 1 เท่า ตั้งเป้าโกย 7 พันล้านบาท (การเงินธนาคาร)
ประกาศผลประกอบการ : “30 เม.ย. ADVANC/HMPRO/TAN / 2 พ.ค.TFM/3 พ.ค. CSR / FTREIT
ประเด็นติดตาม: 30 เม.ย. CN PMI / EU GDP / EU Inflation /1 พ.ค. JOLTs Job Openings(Mar) / ISM Manufacturing PMI / 2พ.ค. Fed Interest Rate Decision / 3 พ.ค.US Non Farm Payrolls
(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)