เวสต์เทกซัส 79.23 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล เบรนท์ 83.60 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล

เวสต์เทกซัส 79.23 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล เบรนท์ 83.60 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล

วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน (30 พ.ค. 67) ราคาน้ำมันดิบปรับลด หลังกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อคงอยู่ในระดับสูง และอุปสงค์น้ำมันเบนซินของสหรัฐฯ ที่ชะลอตัว

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบกับราคา 

- ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง หลังสถาบันวิจัยเศรษฐกิจ (Conference Board) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐฯ ในเดือน พ.ค. 67 ปรับเพิ่มขึ้น 102.0 สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 95.9 ซึ่งผู้บริโภคมีความกังวลว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังคงอยู่ในระดับสูง โดยผู้บริโภคคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อในช่วง 12 เดือนข้างหน้าจะอยู่ที่ระดับ 5.4% เพิ่มขึ้นจากระดับ 5.3% ในเดือน เม.ย. 67 ซึ่งข้อมูลดังกล่าวอาจส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อาจตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงเป็นเวลานานขึ้น 

- นอกจากนี้ นักลงทุนยังคงกังวลกับอุปสงค์น้ำมันเบนซินของสหรัฐฯ ที่ยังคงอ่อนแอ ส่งผลให้ราคาสัญญาน้ำมันเบนซินสหรัฐฯ เคลื่อนไหวใกล้ระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือน โดยนักวิเคราะห์จากบริษัท Ritterbusch and Associates มองว่าอุปทานน้ำมันเบนซินยังคงอยู่ใกล้เคียงระดับปกติ ขณะที่อุปสงค์ในช่วงท่องเที่ยวยังไม่ดีนัก

+ หลังตลาดปิด สถาบันปิโตรเลียมด้านพลังงานสหรัฐฯ (API) เปิดเผยปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 24 พ.ค. 67 ปรับตัวลดลง 6.5 ล้านบาร์เรล ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะปรับตัวลดลงที่ 2.0 ล้านบาร์เรล

 


 

ราคาน้ำมันเบนซิน

ราคาน้ำมันเบนซินปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดูไบ หลังอุปสงค์น้ำมันเบนซินของเม็กซิโกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากสต็อกน้ำมันเบนซินของเม็กซิโกที่ลดลง และมีกิจกรรมรณรงค์ก่อนการเลือกตั้งทั่วไปของเม็กซิโกในต้นเดือน มิ.ย. 67 อย่างไรก็ตาม อุปสงค์น้ำมันเบนซินของอินโดนีเซียมีแนวโน้มลดลง จากสต็อกน้ำมันเบนซินที่ยังอยู่ในระดับสูง


ราคาน้ำมันดีเซล

ราคาน้ำมันดีเซลปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดูไบ หลังสต็อกน้ำมันดีเซลของจีนปรับตัวลดลง 0.6% จากสัปดาห์ก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม จีนมีแนวโน้มส่งออกน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้น อยู่ที่ระดับประมาณ 0.9 ล้านตัน ในเดือน พ.ค. และ มิ.ย. 67 
 

เวสต์เทกซัส 79.23 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล เบรนท์ 83.60 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล