วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ เฟดกำลังจะลดดอกเบี้ย แล้วตลาดผันผวนจากอะไร?
เฟดกำลังจะลดดอกเบี้ยซึ่งเป็นบวกต่อหุ้น แล้วตลาดผันผวนจากอะไร? การเข้าสู่วัฏจักรดอกเบี้ยขาลงซึ่งมันจะถูกกำหนดด้วยการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ ผ่านการลดดอกเบี้ย ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวมักจะส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจและสินทรัพย์เสี่ยง
อย่างไรก็ตามในระยะสั้นเรามองตลาดมีโอกาสจะผันผวนจาก 3 ปัจจัย 1) ความกังวลเกี่ยวกับการชะลอของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่จะกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก วัฏจักรการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐฯ 2 ใน 3 ครั้ง มักจะจบด้วยการเกิดเศรษฐกิจถดถอย ทำให้การชะลอตัวของตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในช่วงนี้แม้จะสนับสนุนการลดดอกเบี้ย แต่ก็ทำให้ตลาดจะกังวลการเกิดเศรษฐกิจถดถอย 2) การปรับขึ้นของตลาดหุ้นสหรัฐฯ (S&P500) ในช่วงของการตรึงดอกเบี้ยของเฟด 5 ครั้งหลัง (ตั้งแต่ ค.ศ. 1989-2018) มักจะเห็นดัชนีฟื้นตัวขึ้นมา 19-22% ซึ่งการฟื้นตัวในรอบนี้ ใกล้เคียงระดับดังกล่าว หรืออาจถือว่า priced in การลดดอกเบี้ยล่วงหน้าไปแล้ว 3) การเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ซึ่งการส่งสัญญาณรอบนี้ค่อนข้างแข็งแกร้าว (hawkish) กว่าที่ตลาดคาดมาก อาจทำให้เกิดการเร่งให้เกิดการขายสินทรัพย์เสี่ยง เพื่อคืนเงินกู้สกุลเงินเยน ซึ่งจะเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ตลาดผันผวน
คงมุมมองบวกระยะกลาง-ยาวในหุ้นไทย ขณะที่ระยะสั้นกลุ่มปลอดภัยและได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาลงคาดสามารถรับมือความผันผวนได้ เรายังคงมุมมองบวกต่อหุ้นไทยในช่วง 12-18 เดือนข้างหน้า ทั้งจาก Valuation ที่ไม่แพง, สถานการณ์ถือครองของนักลงทุนต่างชาติในระดับต่ำ และโมเมนตัมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ที่ได้รับแรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐฯ (ค่าแรงขั้นต่ำ, Digital wallet, กองทุนหมู่บ้าน เป็นต้น) และแรงหนุนจากต้นทุนทางการเงินที่จะลดลงตามวัฏจักรดอกเบี้ย อย่างไรก็ตามความผันผวนระยะสั้นจากการที่ตลาดต้องการความมั่นใจว่าการชะลอของเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะไม่กระทบตลาดเกิดใหม่ ทำให้เงินมีโอกาสไหลเข้าพักในตราสารหนี้สหรัฐฯ และสินทรัพย์ปลอดภัย ซึ่งจะทำให้ตลาดระยะสั้นผันผวน แต่จะเป็นโอกาสลงทุนที่ดี
ภาพรวมกลยุทธ์ ระวังความผันผวนจากการขายทำกำไรสินทรัพย์เสี่ยง และการโยกเงินเข้าพักในสินทรัพย์ปลอดภัยที่อาจเกิดจากการ unwind yen carry trade คาดกลุ่มคล้ายพันธบัตร และได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาลง อาทิ ไฟฟ้า รีทส์ แกร่งกว่าตลาด ขณะที่ใชัจังหวะผันผวนสะสมหุ้นที่โมเมนตัมกำไรยังเป็นขาขึ้น อาทิ สื่อสาร, อาหาร และค้าปลีก
แนวรับ: 1,310 / แนวต้าน : 1,331 จุด
สัดส่วนลงทุน: เงินสด 40% vs พอร์ตหุ้น 60%
หุ้นแนะนำ (* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ นักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาเข้าซื้อ)
• CPN* (62) : แนวโน้มผลประกอบการแข็งแกร่ง ได้ประโยชน์จากวัฏจักรการลดดอกเบี้ย และการเติบโตของนักท่องเที่ยว อีกทั้งผลประกอบการที่มีส่วนแบ่งจากการขายไม่ใช่แค่ค่าเช่า ตัดขาดทุน 54 บาท
• RATCH* (36) : ผลประกอบการไตรมาส 2-3/67 แข็งแกร่ง จากการรับรู้รายได้จากทั้งโรงไฟฟ้าหินกองและไพธอน ราคาปัจจุบันซื้อขายที่ PER ปีนี้ 8 เท่า และปันผล 6% ตัดขาดทุน 27 บาท
• 3BBIF* (6.50) : กลุ่มกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน ได้ประโยชน์ด้าน Valuation จากดอกเบี้ยขาลง ขณะที่การปรับโครงสร้างในกลุ่มของ GULF-INTUCH เป็นปัจจัยบวกระยะยาวต่อการมีสินทรัพย์ที่จะขายเข้ากองเพิ่มเติม ตัดขาดทุน 5.35 บาท
• CPALL* (63) : หุ้นเด่นในกลุ่มค้าปลีก คาดผลประกอบการปี 2567 เติบโต 29% ได้ประโยชน์จากท่องเที่ยวและนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ตัดขาดทุน 55 บาท
ประเด็นที่น่าสนใจ
- ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) มีมติ 5-4 ปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ระดับ 5.00%
- โอเปคพลัสมีมติคงนโยบายการผลิตตามคาด
- กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรก เพิ่มขึ้น 14,000 ราย สู่ระดับ 249,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนส.ค.2566
- สภาฯ เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.งบเพิ่มเติมปี 67 วงเงิน 1.22 แสนล้านบาท ทำ ดิจิทัลวอลเล็ต
- EA จัดประชุมผู้ถือ “หุ้นกู้ EA248A” 9 ส.ค.67 ขอเลื่อนไถ่ถอนอีก 10 เดือน 15 วัน
- NUSA ยันมีแหล่งเงินทุนไถ่ถอนหุ้นกู้เพียงพอ ชำระหุ้นกู้
- CPF แจงกมธ. ยันไม่ใช่ต้นตอ "ปลาหมอคางดำ" ระบาด
- Special report – Impact from minimum wage hike
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
2 ส.ค. – Non Farm Payrolls (Jul)