วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ ยังอยู่ในช่วงผันผวน แต่มีโอกาสฟื้นตัวหลังเยนแข็งค่าเร็ว
ทำไมตลาดถึงผันผวนมากขึ้นในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา ค่าเงินเยน (USDJPY) แข็งค่าขึ้นกว่า 12% ในเวลาไม่ถึง 1 เดือน จากการที่นักลงทุนพยายามลดสถานะกู้ยืมเงินเยนเพื่อลงทุนสินทรัพย์เสี่ยง (Unwind Yen carry trade) ผ่านการขายสินทรัพย์เสี่ยง และคืนเงินกู้ยืมสกุลเยน
ทำให้ค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว ความผันผวนในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมาเร่งตัวขึ้นจาก 1) การส่งสัญญาณแข็งกร้าวของธนาคารกลางญี่ปุ่นในระดับที่มากกว่าตลาดคาด และ 2) ตัวเลขการว่างงานของสหรัฐฯ ที่เร่งขึ้นจนก่อความกังวลสหรัฐฯ กำลังเดินเข้าสู่เศรษฐกิจถดถอย
มีโอกาสฟื้นตัวตามทิศทางเงินเยนที่อาจชะลอการแข็งค่า แม้จะยังเป็นการยากที่จะตอบว่าธุรกรรม Yen Carry Trade ยังมีสถานะคงค้างที่จะสร้างความผันผวนอีกเพียงไหน อย่างไรก็ตามความกังวลประเด็นดังกล่าวไม่ใช่เรื่องใหม่ และถูกพูดถึงมาระยะหนึ่งแล้ว (เราพูดเรื่องนี้หลายครั้งในช่วงไตรมาส 4/66 และช่วง มี.ค.67) ทำให้อาจมีการปิดสถานะไปพอสมควรแล้วก็เป็นได้ ซึ่งยังเป็นปัจจัยที่ต้องติดตาม อย่างไรก็ตามในระยะสั้น การแข็งค่าของเงินเยนจนถึงบริเวณ 142-144 เยน/ดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นระดับที่ทางเทคนิค โดยมีแนวต้านที่ 148-149 เยน/ดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้ในระยะสั้น ตลาดหุ้นและสินทรัพย์เสี่ยงอาจมีโอกาสฟื้นตัวหลังทรุดลงอย่างรุนแรง
คงมุมมองบวกระยะกลาง-ยาวในหุ้นไทย ขณะที่ระยะสั้นกลุ่มปลอดภัยและได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาลงคาดสามารถรับมือความผันผวนได้ เรายังคงมุมมองบวกต่อหุ้นไทยในช่วง 12-18 เดือนข้างหน้า อย่างไรก็ตามความผันผวนระยะสั้นจากการที่ตลาดต้องการความมั่นใจว่าการชะลอของเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะไม่กระทบตลาดเกิดใหม่ ทำให้เงินมีโอกาสไหลเข้าพักในตราสารหนี้สหรัฐฯ และสินทรัพย์ปลอดภัย ซึ่งจะทำให้ตลาดระยะสั้นผันผวน แต่จะเป็นโอกาสลงทุนที่ดี
ภาพรวมกลยุทธ์ วันนี้มีโอกาสฟื้นตัว แต่ในช่วง 1 เดือนข้างหน้า ยังต้องระวังความผันผวนจาก1) การ unwind yen carry trade และ 2) กังวลเศรษฐกิจสหรัฐฯถดถอย ทำให้เงินยังมีโอกาสเข้าสินทรัพย์ปลอดภัย คาดกลุ่มคล้ายพันธบัตร และได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาลง อาทิ ไฟฟ้า รีทส์ แกร่งกว่าตลาด ขณะที่ใชัจังหวะผันผวนสะสมหุ้นที่โมเมนตัมกำไรยังเป็นขาขึ้น อาทิ สื่อสาร, อาหาร และค้าปลีก
แนวรับ: 1,250-1,270 / แนวต้าน : 1,282-1,290 จุด
สัดส่วนลงทุน: เงินสด 40% vs พอร์ตหุ้น 60%
หุ้นแนะนำ (* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ นักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาเข้าซื้อ)
• CPN* (62) : แนวโน้มผลประกอบการแข็งแกร่ง ได้ประโยชน์จากวัฏจักรการลดดอกเบี้ย และการเติบโตของนักท่องเที่ยว อีกทั้งผลประกอบการที่มีส่วนแบ่งจากการขายไม่ใช่แค่ค่าเช่า ตัดขาดทุน 54 บาท
• RATCH* (36) : ผลประกอบการไตรมาส 2-3/67 แข็งแกร่ง จากการรับรู้รายได้จากทั้งโรงไฟฟ้าหินกองและไพธอน ราคาปัจจุบันซื้อขายที่ PER ปีนี้ 8 เท่า และปันผล 6% ตัดขาดทุน 27 บาท
• 3BBIF* (6.50) : กลุ่มกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน ได้ประโยชน์ด้าน Valuation จากดอกเบี้ยขาลง ขณะที่การปรับโครงสร้างในกลุ่มของ GULF-INTUCH เป็นปัจจัยบวกระยะยาวต่อการมีสินทรัพย์ที่จะขายเข้ากองเพิ่มเติม ตัดขาดทุน 5.35 บาท
• CPALL* (63) : หุ้นเด่นในกลุ่มค้าปลีก คาดผลประกอบการปี 2567 เติบโต 29% ได้ประโยชน์จากท่องเที่ยวและนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ตัดขาดทุน 55 บาท
ประเด็นที่น่าสนใจ
- สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคบริการของสหรัฐปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 51.4 ในเดือนก.ค. โดยฟื้นตัวขึ้นจากระดับ 48.8 ในเดือนมิ.ย.
- ดัชนี VIX พุ่งสูงสุดรอบกว่า 4 ปี นักลงทุนแพนิค กังวลเศรษฐกิจถดถอย
- จุลพันธ์ สั่ง สรรพากร ดึง temu เข้าระบบภาษี
- DELTA ส่งซิกผลงานครึ่งปีหลังฟื้นตัวต่อเนื่องรับดีมานด์ Data Center-AI-EV
- ติดตามการรายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 2/67 ของ ADVANC
- MINT แนะนำ “ซื้อ” เป้า 39บาท/ TCAP แนะนำ “ถือ” เป้า 50บาท/ CK แนะนำ “ซื้อ” เป้า 26.50 บาท
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
5 ส.ค. – ISM Services PMI (Jul)