วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ ภาพรวมยังแป็นบวกก่อนการประชุมประจำปีเฟดและ BOJ วันศุกร์
รายงานการประชุมเฟด และตัวเลขการจ้างงานยังเป็นปัจจัยบวกต่อการฟื้นตัว รายงานการประชุมเฟดระบุกรรมการส่วนใหญ่สนับสนุนการปรับลดดอกเบี้ย บันทึกการประชุมล่าสุดของ Fed แสดงให้เห็นว่ากรรมการส่วนใหญ่เห็นว่ามีเหตุผลในการลดอัตราดอกเบี้ย
ขณะที่สำนักงานสถิติแรงงาน (BLS) เปิดเผยถึงตัวเลขการจ้างงาน หลังการปรับเกณฑ์มาตรฐานในช่วง มี.ค.67 ซึ่งเบื้องต้น (preliminary) จะส่งผลให้จำนวนการจ้างงานนอกภาคเกษตร ปรับลดลงประมาณ 818,000 ตำแหน่ง (จากที่เคยประกาศมา) อย่างไรก็ตามจะยังไม่มีการปรับตัวเลขดังกล่าวเข้าไป แต่จะทำการกระจายตัวเลขโดยเฉลี่ยไปยังข้อมูลการจ้างงานในแต่ละเดือน ซึ่งส่งสัญญาณถึงการชะลอของตลาดแรงงานที่ผ่อนคลายลงเร็วกว่าคาด ตลาดรอติดตามข้อมูลวันศุกร์จาก 1) การประชุมประจำปีของเฟด 2) การแถลงของผ้ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นต่อรัฐสภา
กนง.คงดอกเบี้ยในจังหวะต้นทุนการเงินลง ภาวะดังกล่าวบวกต่อหุ้นธนาคาร กนง.มีมติ 6 ต่อ 1 เสียง ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.50% ต่อปี เรามองเป็นกลางต่อตลาดจากผลการประชุมกนง.ที่เป็นไปตามคาด อย่างไรก็ตาม เป็นบวกต่อกลุ่มธนาคาร ทั้งนี้การคงดอกเบี้ยนโยบาย ในขณะที่ต้นทุนทางการเงินเริ่มลดลงตามทิศทางผลตอบแทนพันธบัตร ทำให้ส่วนต่างดอกเบี้ยน่าจะทรงตัวถึงเพิ่มขึ้น ขณะที่สินเชื่อ ได้แรงส่งจากการเติบโต GDP (กระทรวงการคลังปรับคาดการณ์ GDP ปีนี้ขึ้นเป็น 2.7% จาก 2.4%) ทำให้ สถานการณ์ดังกล่าวเป็นสถานการณ์ที่เหมาะสม (Goldilock) ต่อหุ้นธนาคาร โดยหุ้นที่เราชอบ ได้แก่ KBANK และ BBL // นอกจากนี้กลุ่มธนาคารยังมีปัจจัยหนุนระยะสั้น จากการประกาศปันผลระหว่างกาล ที่น่าจะประกาศในช่วงปลาย ส.ค.นี้
ติดตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะมีการประกาศในการแถลงนโยบายของรัฐบาลใหม่ การจัดตั้งครม.น่าจะใกล้แล้วเสร็จ นโยบายเศรษฐกิจที่ชัดเจนคาดจะรับทราบได้ผ่านการแถลงนโยบายในช่วง ก.ย. โดย ณ ขณะนี้สิ่งที่เราทราบคือ 1) รูปแบบ Digiatal wallet เปลี่ยน 2) แถลงนโยบาย ต้น ก.ย. 3) คาดว่าจะดำเนินการเบิกจ่าย 1.22แสนลบ.ทัน 30 ก.ย. 4) งบปี 68 เป็นไปตามกรอบเวลา วันที่ 4-6 ก.ย. พิจารณาวาระ 2 และ 3
// ทั้งหมดทำให้โมเมนตัมการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเดินได้ไม่สะดุด ส่วนจะเร่งขึ้นมากขนาดไหน ยังต้องติดตามการแถลงนโยบายของรัฐบาลใหม่ว่าจะใช้กลไกใดบ้าง แต่โดยรวมเรามองเป็นบวกต่อบรรยากาศลงทุน
ภาพรวมกลยุทธ์ GDP ที่ดีกว่าคาด และแรงส่งจากเสถียรภาพการเมือง เป็นปัจจัยบวกต่อกลุ่มการเงิน ทั้งธนาคารและไฟแนนซ์ (เราชอบ KBANK, BBL, MTC) เรายังคาดกลุ่มคล้ายพันธบัตร และได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาลง อาทิ ไฟฟ้า รีทส์ แกร่งกว่าตลาด และใช้จังหวะผันผวนสะสมหุ้นที่โมเมนตัมกำไรยังเป็นขาขึ้น อาทิ สื่อสาร, อาหาร และค้าปลีก // กลุ่มท่องเที่ยวน่าสนใจจากการเข้าสู่ high season เราชอบ AOT, ERW, SPA
แนวรับ: 1,323 / แนวต้าน : 1,332 จุด
สัดส่วนลงทุน: เงินสด 40% vs พอร์ตหุ้น 60%
หุ้นแนะนำ (* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ นักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาเข้าซื้อ)
• BBL* (141) : การคงดอกเบี้ยของ กนง. ขณะที่ต้นทุนการเงินลดลง และ GDP มีโมเมนตัมที่ดีขึ้น เป็นภาวะที่บวกต่อหุ้นกลุ่มธนาคาร ตัดขาดทุน 135 บาท
• EGCO* (116) : ราคาหุ้นตอบรับผลประกอบการที่อ่อนแอจากการตั้งสำรองโครงการผลิตไฟฟ้าที่ต่างประเทศไปแล้ว ขณะที่ปัจจุบัน ซื้อขายด้วย PER 8x, PBV 0.46x และให้ปันผล 6.72% ตัดขาดทุน 93 บาท
• MTC* (48) : ผลประกอบการไตรมาส 2/67 ออกมาแข็งแกร่ง การตั้งสำรองอย่างเข้มข้นทำให้ผลประกอบการน่าจะผ่านจุดต่ำวุดแล้ว ตัดขาดทุน 43 บาท
• CPN* (61) : ผลประกอบการไตรมาส 2/67 แข็งแกร่ง ตามการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ และการเปิดโครงการใหม่ ตัดขาดทุน 57 บาท
ประเด็นที่น่าสนใจ
- กนง. จับตาปรับรูปแบบดิจิทัลวอลเล็ต เชื่อจ่ายเงินสดกลุ่มเปราะบาง กระตุ้นเศรษฐกิจได้ผลกว่า
- สมาคมผู้ผลิตรถยนต์จีน ประกาศคัดค้านอียูจ่อปรับขึ้น "ภาษีรถยนต์ EV" ที่ผลิตในจีน ชี้มีผลกระทบเชิงลบอย่างร้ายแรง และเกิดความเสี่ยงมหาศาล
- แสนสิริ เผย Hyatt จ่อลงทุน 150 ล้านดอลลาร์ ปิดดีลซื้อ Standard International ภายในสิ้นปี 67
- บางกอกแอร์เวย์ส์ ครึ่งปีแรก 67 กำไร 2,592 ล้านบาท โต 68 %
- CK แนะนำ ซื้อ เป้า 26.50 บาท
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
23 ส.ค. – JP Inflation Rate (Jul)