วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ ดัชนีอาจพักตัวได้บ้าง แนะหาจังหวะเก็งกำไรรายตัว

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ ดัชนีอาจพักตัวได้บ้าง แนะหาจังหวะเก็งกำไรรายตัว

ส่งออกไทยเติบโตเด่นที่สุดในรอบ 28 เดือน วานนี้มีการรายงานตัวเลขส่งออกของไทย เดือน ก.ค. โดยสามารถขยายตัวได้ 15.2% yoy ซึ่งถือเป็นการขยายตัวที่มากที่สุดในรอบ 28 เดือน

ส่วนการนำเข้าขยายตัว 13.1% yoy ส่งผลให้ เดือน ก.ค. ไทยมีการขาดดุลการค้าจำนวน 1,373.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภาพรวม 7 เดือนแรกของปี 67 ส่งออกไทยสามารถขยายตัวได้ 3.8% yoy และการนำเข้าขยายตัว 4.4% yoy และขาดดุลการค้าจำนวน 6,615.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เราค่อนข้างมากเป็นบวกต่อทั้งการขยายตัวของการส่งออก ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศ และการนำเข้า ที่สะท้อนที่การฟื้นตัวของความต้องการสินค้า และเศรษฐกิจในประเทศที่เริ่มฟื้นตัว สำหรับสินค้าไทยที่สามารถส่งออกได้ดี ได้แก่ ยางพารา ขยายตัว +55.4%, ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป ขยายตัว +13.6% และ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ขยายตัว +20.4% yoy เป็นต้น เรามองเป็นโอกาสเก็งกำไรในหุ้นกลุ่มที่อิงสินค้าที่ส่งออกได้ดี และกลุ่มที่คาดว่าแนวโน้มผลการดำเนินงานในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2567 จะเติบโตดี อาทิ CPF, NER, STA และ TU เป็นต้น 

FTSE ประกาศผลการ Rebalance รอบใหม่ มีผล 6 ก.ย. FTSE มีการประกาศ Rebalnce ดัชนีรอบใหม่ โดยหุ้นที่ออก Large Cap สู่ Mid Cap ได้แก่ CRC, EA, MINT, PTTGC, OR และ หุ้นออก Mid Cap ได้แก่ BLA ซึ่งเรามองว่ามีผลต่อราคาหุ้นไม่มากนัก เนื่องจากเป็นเพียงการย้ายดัชนีเท่านั้น ขณะที่ FTSE Small Cap มีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ หุ้นเข้า ได้แก่ BLA, CPNREIT และหุ้นออก ได้แก่ ITD, NER, ORI, TPIPL มีผลต่อราคาปิดวันที่ 6 ก.ย. นี้ สำหรับมุมมองการลงทุน เรามองเป็นโอกาสเข้าลงทุนใน CPNREIT ก่อนการปรับดัชนี จากผลประกอบการที่ฟื้นตัว และได้ประโยชน์จากการปรับลดอัตราดอกเบี้ย

 


 

สะสมหุ้นที่คาดได้ประโยชน์จากนโยบายรัฐบาลและได้ประโยชน์จากการปรับลดอัตราดอกเบี้ย เรายังคงมองเป็นบวกต่อหุ้นที่คาดจะได้ประโยชน์จากนโยบายของรัฐบาล และแนวคิดต่างๆ ของคุณทักษิณ ในงาน Vision for Thailand 2024 ที่รัฐบาลอาจนำไปประยุกต์ใช้กับนโยบายได้ หุ้นที่น่าสนใจ ได้แก่ AOT, BBL, CPALL รวมถึงหุ้นที่คาดจะได้ประโยชน์จากการปรับลดอัตราดอกเบี้ย อาทิ 1) กลุ่มการเงิน. 2) โรงไฟฟ้า และ 3) กลุ่มกองทุน REITs

ภาพรวมกลยุทธ์ GDP ที่ดีกว่าคาด และแรงส่งจากเสถียรภาพการเมือง เป็นปัจจัยบวกต่อกลุ่มการเงิน ทั้งธนาคารและไฟแนนซ์ (เราชอบ KBANK, BBL, MTC) เรายังคาดกลุ่มคล้ายพันธบัตร และได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาลง อาทิ ไฟฟ้า รีทส์ แกร่งกว่าตลาด และใช้จังหวะผันผวนสะสมหุ้นที่โมเมนตัมกำไรยังเป็นขาขึ้น อาทิ สื่อสาร, อาหาร และค้าปลีก // กลุ่มท่องเที่ยวน่าสนใจจากการเข้าสู่ high season เราชอบ AOT, ERW, SPA

แนวรับ: 1,350 / แนวต้าน : 1,370 จุด 

สัดส่วนลงทุน: เงินสด 40% vs พอร์ตหุ้น 60%

หุ้นแนะนำ  (* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ นักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาเข้าซื้อ)

•    MEB* (34) : ผลการดำเนินงานช่วงครึ่งปีแรกของปี 67 เติบโตเด่น จากแนวโน้มการเปลี่ยนผ่านจากหนังสือเล่มสู่ E-Book และคาดดีต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีหลัง ตัดขาดทุน 30 บาท  
•    EGCO* (116) : ราคาหุ้นตอบรับผลประกอบการที่อ่อนแอจากการตั้งสำรองโครงการผลิตไฟฟ้าที่ต่างประเทศไปแล้ว ขณะที่ปัจจุบัน ซื้อขายด้วย PER 8x, PBV 0.46x และให้ปันผล 6.72%   ตัดขาดทุน 93 บาท
•    GPSC* (44) : คาดกำไรช่วงครึ่งปีหลังของปี 67 เติบโตเด่น จากปัจจัยฤดูกาล และคาดได้ประโยชน์จากการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ตัดขาดทุน 39 บาท 
•    CPN* (61) : ผลประกอบการไตรมาส 2/67 แข็งแกร่ง ตามการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ และการเปิดโครงการใหม่ ตัดขาดทุน 57 บาท 


 

ประเด็นที่น่าสนใจ 

-    รายได้ท่องเที่ยว 3 ล้านล้านบาท “หืดขึ้นคอ” สวนทางจำนวนนทท.เกินเป้า
-    ผอ.สำนักงบฯ เผยชัดเจนแล้ว “เงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท” แจกให้กลุ่มเปราะบาง 15 ล้านคนก่อน ภายใน ก.ย. 67
-    แคนาดา เก็บ “ภาษี EV ที่ผลิตจีน” 100% ตามสหรัฐ-ยุโรป มีผล 1 ต.ค. เก็บภาษีเหล็ก-อลูมิเนียม 25% 
-    HANA แนะนำ ซื้อ เป้า 48 บาท/ SCGP แนะนำ ซื้อ เป้า 41 บาท

ปัจจัยที่ต้องติดตาม

30 ส.ค. – US Core PCE (Jul)