วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง ภาคการผลิต CN JP EU เดือน ส.ค.
ทางเทคนิค คาด SET Index เคลื่อนไหว Sideways Up แนวต้าน 1,366/1,372 จุด (EMA 200 วัน) แนวรับ 1,355/1,348 จุด (EMA 10 วัน) ภาพระยะกลางอยู่ในรูปแบบ Sideways กรอบใหญ่ 1,274-1,438 จุด
ส่วนระยะสั้นอยู่ในรูปแบบขาขึ้น แนวต้านเป้าหมายที่ 1,375 จุด (2/3 ของกรอบ Fibonanci) และ 1,394 จุด (Gap เปิดไว้ตั้งแต่วันที่ 11 เม.ย. 2024) โดยสัญญาณซื้อ (Buy Signal) รอบใหม่จะเกิดขึ้น เมื่อดัชนีฯ ทะลุเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 200 วันที่ 1,372 จุดขึ้นไปได้ หลังจากปรับฐานในกรอบแคบ 1,355-1,370 จุดมา 4 วันทำการ โดยมีโอกาสเกิดขึ้นในสัปดาห์นี้ แนะนา ซื้อสะสมเมื่ออ่อนตัว
ประเด็น Event สำคัญวันนี้
Holiday: ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และตลาดหุ้นแคนาดา ปิดทำการ (Labor day) ตลาดหุ้นเวียดนาม ปิดทำการ (วันชาติ)
Opp day: SCAP APCO TNR SAWAD EGCO TPIPL MC TRC TM PRINC WAVE SISB IIG TMC GCAP TMILL OSP ALLY UREKA PM
Ex-Dividend Effect: การประกาศขึ้นเครื่องหมาย XD ของบจ. วันนี้ คาดว่ามีผลกระทบเชิงลบต่อดัชนีฯ ประมาณ -0.34 จุด สำหรับบจ. เด่น ๆ ที่ขึ้นเครื่องหมาย XD วันนี้ ได้แก่ OR BCPG ฯลฯ
ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ
JP: Jibun Bank รายงานภาคการผลิตเดือน ส.ค. คาดดีขึ้นเป็น 49.5 (Vs เดือน ก.ค. 49.1) และ Consensus คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะขยายตัว(>50 จุด) ในเดือน ก.ย. และทรงตัวอยู่ในระดับขยายตัว ตลอดช่วงที่เหลือปีนี้ สะท้อนภาพบวกทางเศรษฐกิจ
CN: Caixin รายงานภาคการผลิตเดือน ส.ค. คาดลดลงเป็น 49.6 (Vs เดือน ก.ค. 49.8) โดย Consensus คาดว่ายังคงมีความผันผวนในช่วงที่เหลือปีนี้ จับตาสัญญาณกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่จากทางการ เพื่อสนับสนุนให้เข้าสู่ภาวะขยายตัวในช่วงปลายปีนี้
EU: HBOC รายงานภาคการผลิตเดือน ส.ค. คาดลดลงเป็น 45.6 (Vs เดือน ก.ค. 45.8) และคาดว่าจะดีขึ้นต่อเนื่อง เข้าสู่ภาวะขยายตัว (>50 จุด) ได้ในช่วงปลายปีนี้
UK: S&P Global รายงานภาคการผลิตเดือน ส.ค. คาดดีขึ้นเล็กน้อยเป็น 52.5 (Vs เดือน ก.ค. 52.1) โดย Consensus คาดว่าทรงตัวบริเวณนี้ต่อเนื่องในช่วงที่เหลือปีนี้ สะท้อนการเติบโตของเศรษฐกิจยังคงอยู่ในระดับต่ำ
Weekly Strategy: มุมมองต่อ SET Index:
นักลงทุนต่างชาติยังคงเป็นผู้เล่นหลัก (Key player) ที่ผลักดันดัชนีเร่งตัวขึ้น (+7.3% เทียบจากจุดต่ำสุดของเดือน ส.ค.) สะท้อนผ่านกระแสเงินทุนต่างชาติที่ยังคงไหลเข้าไทยต่อเนื่อง โดยซื้อสุทธินับตั้งแต่ต้นเดือน ส.ค. ในตลาดหุ้นไทย +8.4 พันล้านบาท (ไม่รวม Big lot SCCC) ตลาดพันธบัตรฯ +3.17 หมื่นล้านบาท และเปิดสถานะ Long ในตลาดอนุพันธ์ 1.05 แสนสัญญา อย่างไรก็ตาม เรามองว่าอานิสงส์เชิงบวกดังกล่าว อาจเริ่มชะลอลง หลังแนวโน้มการแข็งค่าของเงินบาทเริ่มมีขีดจำกัด โดยเฉพาะบริเวณที่แข็งค่ากว่า 34.0 บาท/USD จึงทำให้เราปรับกรอบเก็งกำไรของดัชนีฯ แคบลงมาที่ +/-1 S.D. (เดิม +/-2 S.D.) (Figure 2) และแนะนำเริ่มทยอยขยายทำกำไร เมื่อดัชนีเร่งตัวขึ้นมาในกรอบ 1,409-1,459 จุด (เดิมแนะนาขาย 1,459 จุด)
ปัจจัยสาคัญสัปดาห์นี้: จับตาการรายงานการจ้างงานสหรัฐฯ หากออกมาแย่กว่าคาด จะสร้างความกังวลต่อความเสี่ยงเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยอีกครั้ง
สัปดาห์นี้จะเข้าสู่ช่วงของการรายงานตัวเลขจ้างงานสหรัฐฯ ประจาเดือน ส.ค. ได้แก่ การจ้างงานภาคเอกชน ADP Employment Change (ประกาศวันที่ 5 ก.ย.) โดย Consensus คาดการจ้างงานลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 โดยเพิ่มขึ้นเพียง +115k (Vs ลดลงจากเดือน ก.ค. ที่ +122k),
การจ้างงานนอกภาคเกษตร Non-Farm Payrolls (ประกาศวันที่ 6 ก.ย.) Consensus คาดกลับมาฟื้นตัว +163K (ดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือน ก.ค. ที่ +114K) และอัตราการว่างงาน (ประกาศวันที่ 6 ก.ย.) คาดทรงตัวเท่ากับเดือน ก.ค. ที่ 4.3%
ทั้งนี้ หากอัตราการว่างงาน ออกมาที่ระดับ 4.3% ตามคาด จะเข้ากฎ Sahm Rule เนื่องจากค่าเฉลี่ย 3 เดือนย้อนหลัง (4.23%) จะสูงกว่าเมื่อเทียบกับค่าต่าสุดรอบ 12 เดือน (3.7%) ที่ +0.53% (สูงกว่าเกณฑ์ 0.5 ppt) ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) ที่มักจะเกิดขึ้นตามมาใน 3 เดือนข้างหน้า ขณะที่สัญญาณจาก Sahm ล่าสุด สนับสนุนให้เฟดลดดอกเบี้ย 50 bps. ในการประชุมเดือน ก.ย.
กลยุทธ์การลงทุน: แนะนำหุ้นในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ยังคงถูกเมื่อเทียบกับปัจจัยพื้นฐาน และเป็น Laggard Plays แนะนำ TFG (Food), AOT (Transportation) และ BDMS (Health)
Strategic daily picks
AOT ปิด 59.75 บาท/แนวรับ 58.00 บาท แนวต้าน 62.50 บาท
KTX คาดว่า AOT จะได้ผลบวกจากจำนวนเที่ยวบิน และผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มระหว่างประเทศจากนโยบาย Free Visa และจะสูงขึ้นต่อเนื่อง ภายหลังการพัฒนา และเพิ่มขีดความสามารถของสนามบิน ทั้งนี้ ประเมินจำนวนเที่ยวบิน และผู้โดยสารจะขยายตัว FY2024-26E ที่ 5%-14% และ 10-17% ตามลำดับ โดยมีโอกาสที่รายได้ PSC อาจสูงกว่าคาด จากการเรียกเก็บค่า PSC ของผู้โดยสาร transit/transfer ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษา คาดเห็นความชัดเจนใน FY2025E โดย KTX ประเมินมูลค่าเหมาะสม 72.00 บาท อิง earning yield ที่ 2.3%
BDMS ปิด 27.75 บาท/แนวรับ 26.00 บาท แนวต้าน 29.50 บาท
2H24 คาดผลการดำเนินงานดีกว่า 1H24 เนื่องจากเข้าสู่ช่วง high season ซึ่งบริษัทยังคงเน้นการยกระดับการรักษาโรคยากหรือโรคซับซ้อน รวมถึงโรคทั่วไป และบริการทางการแพทย์เกี่ยวเนื่อง ทำให้คาดผลดำเนินงานทั้งปี 2024 จะมีรายได้จากการบริการทางการแพทย์เติบโต 10-12% จากปีก่อน ทั้งนี้ Bloomberg Consensus ประมาณการกำไรสุทธิ 3Q24 ที่ 4.06 พันล้านบาท (+4.35% YoY) และประเมินมูลค่าเหมาะสมที่ 34.84 บาท
TFG ปิด 4.64 บาท/แนวรับ 4.40 บาท แนวต้าน 4.78 บาท
KTX คาด 3Q24E กำไรปกติ 1.1 พันล้านบาท พลิกจากขาดทุนใน 3Q23 และทรงตัว QoQ จากแนวโน้มอัตรากำไรขั้นต้นที่ฟื้นในทุกธุรกิจ (เว้นธุรกิจอาหารสัตว์) แต่ด้วยสมมติฐานเราคาดมีภาษีจ่ายในอัตรา 15% จึงคาดกำไรปกติ 3Q24E ทรง QoQ พร้อมปรับประมาณกำไรปกติปี 2024-26E เพิ่มจากเดิมเฉลี่ย 32% ต่อปี เป็น 2.62/2.65/3.0 พันล้านบาท โดย KTX ประเมินมูลค่าเหมาะสม 12M FWD ที่ 4.97 บาท อิงอัตราผลตอบแทนคาดหวัง 9.2%