วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง ลุ้น ผลประชุม กนง.
ทางเทคนิค คาด SET Index เคลื่อนไหวอ่อนตัว แนวรับ 1,458/1,453 จุด แนวต้าน 1,471/1,478 จุด ภาพระยะกลางอยู่ในรูปแบบ Sideways กรอบใหญ่ 1,273-1,716 จุด โดยมีแนวต้านสำคัญที่ 1,489 จุด (EMA 200 สัปดาห์)
ส่วนระยะสั้น คาดดัชนีฯ อ่อนตัว อิงการเกิดรูปแบบขาลง (Inverted Hammer เมื่อวันศุกร์ + การเกิดแท่งเทียนสีแดง ที่เป็น Lower High, Lower Low) โดยจุดลุ้นรีบาวนด์อยู่ที่แนวรับ 1,458/1,440 จุด (EMA 10/25 วัน) กลยุทธ์ลงทุน คงคำแนะนำ ขึ้นขาย เพื่อรอซื้อคืนที่แนวรับหลัก
ประเด็น Event สำคัญวันนี้
US: Earnings Results โดย Consensus คาด TESLA รายงาน 3Q24E EPS USD0.60 (Vs Previous USD0.66); Morgan Stanley คาด EPS USD1.60 (Vs Previous USD1.38); Abblot คาด EPS USD1.20 (Vs Previous USD1.14); US Bancorp คาด USD0.99 (Vs Previous USD1.05) ASML (ยุโรป)
Hong Kong: Chief Executive John Lee ประกาศมาตรการกระตุ้นการบริโภค
Japan: สุนทรพจน์ของคณะกรรมการ BoJ Seiji Adachi
ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ
Thailand: ผลประชุมกนง. คาดมีมติคงดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับเดิม 2.5% (Reuter Poll 24 จาก 28 รายคาดคงดอกเบี้ยที่ระดับเดิม) แต่อาจมีผู้เห็นด้วยกับการปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจาก 1 เสียง เป็น 2-3 เสียง จากทั้งหมด 7 เสียง โดยหากเป็นไปตามคาดการณ์ จะเป็นการเปิดโอกาสให้กนง. มีโอกาสลดดอกเบี้ยนโยบายลงได้ในการประชุมครั้งสุดท้ายปีนี้ 25 bps. เป็น 2.25% ทั้งนี้ Trading Economics คาดกนง. ปรับลดดอกเบี้ย 3 ครั้ง จำนวน 25 bps. ในการประชุมเดือน ธ.ค. 2024, เดือน มี.ค. 2025 และเดือน ก.ย. 2025 (ผลจากแนวโน้มลดดอกเบี้ยเร็ว อาจส่งผลต่อทิศทางค่าเงินบาท/USD มีแนวโน้มอ่อนค่าต่อเนื่องในสัปดาห์นี้)
การประชุมกนง. ไทย (วันที่ 16 ต.ค.): อิง DATA Dependent สนับสนุนให้กนง. ต้องปรับลดดอกเบี้ย แต่หากพิจารณาร่วมกับมุมมอง Outlook dependent กนง. อาจแค่ส่งสัญญาณด้วยเสียงที่ไม่เป็นเอกฉันท์ ก่อนจะลดดอกเบี้ยจริงในเดือน ธ.ค. ดังนั้น เราจึงประเมินว่าการประชุมกนง. ครั้งนี้ (16 ต.ค.) มีแนวโน้มคงดอกเบี้ย แต่มติจะไม่เป็นเอกฉันท์ เพื่อส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยในการประชุมเดือน ธ.ค. ทั้งนี้ เกาหลีใต้เป็นธนาคารกลางของเอเชียล่าสุดที่ประกาศปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย จาก 3.5% เป็น 3.25% สะท้อนโอกาสที่กนง. ไทยมีโอกาสปรับลดดอกเบี้ยสูงในช่วงที่เหลือปีนี้
อิง DATA Dependent สนับสนุนให้ กนง. ต้องปรับลดดอกเบี้ย
- มีโอกาสสูงที่กนง. จะพิจารณาปรับลดดอกเบี้ยลงในการประชุมวันที่ 16 ต.ค. นี้ หลังอัตราเงินเฟ้อไทยในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา อยู่เพียง 0.2% YoY ต่ำกว่าคาดการณ์ ธปท. ที่ 0.6% YoY ค่อนข้างมาก
- ในทางเดียวกัน แม้ว่าในช่วงที่เหลือของปี (4Q24) เงินเฟ้อไทยมีแนวโน้มเร่งตัวขึ้นมาที่ 1.5% YoY (สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า) ด้วยปัจจัยฐานต่ำ และราคาสินค้าเกษตรภายในประเทศที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากอุทกภัย แต่ก็ยังทำให้เงินเฟ้อปี 2024 มีแนวโน้มอยู่ที่ 0.5% YoY ต่ำกว่าเป้าหมายของธปท. เช่นกัน
- หากอิงตามสมมติฐานดังกล่าว จะทำให้อัตราดอกเบี้ยแท้จริงของไทยทรงตัวอยู่ในระดับสูงถึง 2.0% สูงเกินไปเมื่อเทียบกับ 2024 GDP ที่คาดการณ์เติบโตได้เพียง 2.6% YoY (ธปท.) และเมื่อเทียบกับประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกันที่มีอัตราดอกเบี้ยแท้จริงในระดับสูงเช่นเดียวกัน ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ จีน และ เกาหลีใต้ ต่างก็ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมาแล้ว
- ทำให้หากพิจารณาตามพัฒนาการของข้อมูล (DATA Dependent) ข้างต้น เรามองว่าไทยควรปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงในการประชุมครั้งนี้ได้
กลยุทธ์การลงทุน: แนะนำ TTB SCB AAV
Strategic daily picks
TTB ปิด 1.89 บาท/แนวรับ 1.81 บาท แนวต้าน 1.98 บาท
KTX คาดกำไร 3Q24E ที่ 5,300 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12% YoY แต่ลดลง 1% QoQ ส่วนกำไรก่อนสำรอง (PPOP) คาดจะลดลง 2.6% YoY และ 2.0% QoQ โดยสินเชื่อหดตัว 7.2% YoY และ 2.5% QoQ เนื่องจากกำลังซื้อบ้านและรถยนต์ที่อ่อนแอ และกลยุทธ์ของธนาคารที่ลดพอร์ตสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ โดย KTX ประเมินมูลค่าเหมาะสม 2.00 บาท
SCB ปิด 109.00 บาท/แนวรับ 106.00 บาท แนวต้าน 115.00 บาท
KTX คาดว่ากำไร 3Q24E ของ SCB จะอยู่ที่ 1.01 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 5% YoY และทรงตัว QoQ ขณะที่สินเชื่อคาดว่าจะหดตัวเล็กน้อย 1.2% YoY และ 0.5% QoQ ขณะที่ NIM เพิ่มขึ้น YoY แต่ลดลงเล็กน้อยจากการขยายตัวของสินเชื่อ (High Yield) ซึ่งช่วยสนับสนุนให้ NII เติบโต 3% YoY และทรงตัว QoQ โดย KTX ประเมินมูลค่าเหมาะสม 124.00 บาท
AAV ปิด 2.70 บาท/แนวรับ 2.52 บาท แนวต้าน 2.86 บาท
จากกระแสข่าวการควบรวกิจการระหว่างไทยแอร์เอเชีย เอ็กซ์ และไทยแอร์เอเชีย นั้น AAV (เจ้าของสายการบินไทยแอร์เอเชีย) ยืนยันว่าประเด็นดังกล่าวไม่เป็นความจริง เพราะจากการพิจารณาและศึกษารายละเอียดธุรกิจแล้ว ทั้ง 2 บริษัท ไม่สามารถควบรวมกันได้ เนื่องจากได้ใบรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศ (AOC) และตารางบิน (Slot) ที่แตกต่างกัน สำหรับในปัจจุบันไทยแอร์เอเชียมีจำนวนเครื่องบินเพิ่มเป็น 60 ลำ ภายใน 4Q24 โดยให้บริการเส้นทางการบินในประเทศและต่างประเทศ ทั้งนี้ Bloomberg Consensus ประมาณการกำไรสุทธิปี 2024 ที่ 2.05 พันล้านบาท (+340.65% YoY) และมูลค่าเหมาะสม 3.32 บาท