วิเคราะห์หุ้นรายตัว : บล.เคจีไอฯ PSH ผลประกอบการ 3Q67: อัตราการเติบโตกำไรสุทธิสูงกว่าคาด
ยอดขายบ้านของ PSH ลดลงทั้ง YoY และQoQ ที่ 4.6 พันล้านบาท ขณะที่อัตรากำไรขั้นต้นรวมการขายที่ดินเปล่าที่มีอัตรากำไรต่ำลดลงที่ 26% จากระดับปกติที่สูงกว่า 30% สวนทางกับรายได้จากธุรกิจโรงพยาบาลดีขึ้นสม่ำเสมอต่อเนื่องทั้ง YoY และ QoQ
ทั้งโรงพยาบาลวิมุตและโรงพยาบาลเทพธารินทร์ทำรายได้สูงสุดเป็นประวัติการณ์ใน 3Q67 มองแง่บวก ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร (SG&A) จัดการที่ดีโดยลดลง 16% YoY และทรงตัว QoQ ที่ 1.2 พันล้านบาท อีกทั้ง ต้นทุนการเงินลดลง QoQ จากการรีไฟแนนซ์หนี้ อีกทั้ง PSH บันทึกกำไรพิเศษ 187 ล้านบาทจากการปรับโครงสร้างธุรกิจในไตรมาสนี้ด้วย
กำไร 9M67 แย่ลง 60% YoY อยู่ที่ 753 ล้านบาท
กำไรสุทธิ 9M67 ที่ 753 ล้านบาท คิดเป็น 60% ของประมาณการทั้งปีของเรา ธุรกิจขายบ้านยังคงซบเซา
โดยลดลง 24% YoY พร้อมกับอัตรากำไรขั้นต้นที่ลดลง 3ppt ตามสัดส่วนสูงขึ้นจากการขายที่ดินเปล่าที่มี margin ต่ำ (18.7% ของยอดขายบ้านรวม) ส่วนรายได้จากธุรกิจโรงพยาบาลปรับตัวดีขึ้นทุกไตรมาสอยู่ที่ 1.6 พันล้านบาท (+21% YoY) ขณะที่อัตรากำไรก็ปรับตัวดีขึ้น 4ppt ที่ 19% ทั้งนี้ PSH สามารถลดค่าใช้จ่าย SG&A ลง 17% YoY ที่ 3.3 พันล้านบาท แต่ต้นทุนทางการเงินยังเพิ่มขึ้น 25% YoY อยู่ที่ 596 ล้านบาท นอกจากนี้ กำไรพิเศษลดลง 72% เหลือ 228 ล้านบาทจาก 812 ล้านบาทในช่วง 9M66
คาดกำไร 4Q67F ฟื้นตัวจากฐาน 4Q66 ต่ำ
เมื่อเทียบกำไร 4Q66 ต่ำที่ 123 ล้านบาท กำไร 4Q67F ของ PSH ควรจะดีขึ้นจาก i) การเปิดโครงการใหม่
ๆ มูลค่ารวมเกือบ 1.00 หมื่นล้านบาท ii) ธุรกิจโรงพยาบาลดีขึ้นต่อเนื่อง iii) มียอดขายรอโอน (backlog)
มูลค่า 2.2 พันล้านบาทที่จะบันทึกเป็นรายได้ และ iv) โอกาสเกิดกำไรพิเศษจากการปรับโครงสร้างของ
บริษัทฯ
Valuation & Action
ปัจจจุบันเราคงคำแนะนำ "ถือ" อย่างไรก็ดีเราอยู่ระหว่างทบทวนประมาณการกำไรและราคาเป้าหมายใหม่จากการที่กำไรสุทธิปี 2566 ลดลงมากและคาดว่ายังต่ำต่ออีกในปี 2567F ท่ามกลางช่วงการปรับโครงสร้างธุรกิจ เราคาดเงินปันผลต่อหุ้น (DPS) ลดลงที่ 0.65 บาท (จาก 0.96 บาทต่อปีในช่วงปี 2563-2566) เป็นนัยว่า dividend yield ยังสูงน่าสนใจราว 8% ต่อปี การที่ PSH มีอัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อทุน (net gearing) ต่ำเพียง 0.4x บริษัทน่าจะคงอัตราการจ่ายเงินปันผล (dividend payout ratio) ระดับสูงไว้ได้
Risks
ภาวะเศรษฐกิจอ่อนแอ โอกาสการปฏิรูปนโยบายจากภาครัฐ การให้สินเชื่อมีความเข้มงวดมากขึ้นท่ามกลางภาวะหนี้สินภาคครัวเรือนสูงยืดเยื้อ แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น รวมทั้ง การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ