วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ ตัวเลขเศรษฐกิจผสมผสาน แต่เงินเฟ้อขึ้นกดดัน

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ ตัวเลขเศรษฐกิจผสมผสาน แต่เงินเฟ้อขึ้นกดดัน

ตัวเลขเศรษฐกิจโดยรวมแสดงความแข็งแกร่ง ติดตามผลประกอบการและประเด็นเฉพาะตัวหุ้นเทคโนโลยี เมื่อคืนที่ผ่านมา สหรัฐฯ รายงานตัวเลขเศรษฐกิจหลายตัว

ได้แก่ 1) GDP ไตรมาส 3/67 ที่ +2.8% YoY (คาดการณ์ +2.8% YoY และดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ +1.4% YoY) 2) ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน 213,000 ราย (คาดการณ์ 220,000 ราย / สัปดาห์ก่อนหน้า 219,000 ราย) 3) รายได้ส่วนบุคคล (Personal Income) ต.ค. +0.4% MoM (คาดการณ์ +0.3% / ก.ย.ที่ +0.3%) 4) การใช้จ่ายส่วนบุคคล (Personal Spending) ต.ค. ที่ +0.1% MoM (คาดการณ์ +0.2% / ก.ย.ที่ +0.5%) // ทั้งนี้ตัวเลขส่วนใหญ่สะท้อนถึงความแข็งแกร่งเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่างไรก็ตามหุ้นสหรัฐฯ ปรับลดลง โดยมีประเด็นสำคัญ คือผลประกอบการที่อ่อนแอของ Dell และ HP ขณะที่ Microsoft ถูกสอบสวนเรื่องการผูกขาด เช่น การรวมผลิตภัณฑ์ต่างๆเข้าด้วยกัน, ธุรกิจคลาวด์, และความปลอดภัยทางไซเบอร์และเอไอ ว่ามีการขัดขวางการแข่งขันหรือไม่?

เงินเฟ้อต.ค.เพิ่มขึ้น ทำให้นักลงทุนมองการลดดอกเบี้ยจะเป็นในอัตราที่ช้าและค่อยเป็นค่อยไป ดัชนีราคาการบริโภคส่วนบุคคลพื้นฐาน  (Core PCE) ต.ค. ซึ่งตัดราคาสินค้าอาหารและพลังงานที่มีความผันผวนออก ปรับตัวเพิ่มขึ้น +0.3% MoM , +2.8% YoY สอดคล้องกับที่ตลาดคาด (+0.3% MoM, +2.8% YoY) แต่เพิ่มขึ้นจาก ก.ย. (+0.3% MoM, +2.7% YoY) ทั้งนี้การเพิ่มขึ้นดังกล่าวแสดงถึงแรงกดดันเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ ซึ่งอาจทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ยังคงระมัดระวังในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในอนาคต  

ภาพรวมกลยุทธ์ “อาจฟื้นตัวระยะสั้น แต่หากดีดตัวไม่พ้น 1,438 จุด แรงฉุดทางลงจะยังเป็นต่อ เลือกเก็งกำไรรายตัว ให้น้ำหนักกับหุ้นที่โมเมนตัมผลประกอบการดีไปถึงไตรมาส 1/68 เราชอบกลุ่มท่องเที่ยว, การแพทย์, ค้าปลีก โดยคาดธนาคาร จะเป็นกลุ่มช่วยประคองบรรยากาศรวม // อาจเลือกหุ้นที่ได้แรงหนุนจากรายจ่ายภาครัฐ ได้แก่ SYNEX, SIS, SAMART, CSS, CK, STECON / หุ้นได้ประโยชน์จากต้นทุนการเงินลดลง MTC, TIDLOR

แนวรับ: 1,405-1,423  แนวต้าน : 1,438 จุด 

สัดส่วนลงทุน: เงินสด 40% vs พอร์ตหุ้น 60%

 

หุ้นแนะนำ  (* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ นักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาเข้าซื้อ)

•    CBG* (86) : ผลการดำเนินงานอยู่ในโมเมนตัมของการปรับประมาณการกำไรขึ้น ตัดขาดทุน 78.50 บาท  
•    STECON* (9) : งานในมือกว่า 1 แสนล้านบาท ได้ประโยชน์จากการใช้จ่ายภาครัฐ  และต้นทุนวัสดุก่อสร้างที่ปรับลง  7.70 บาท 
•    TMAN* (18) : ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเวชภัณฑ์ยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ราคาเหมาะสมเฉลี่ย IAA Consensus อยู่ที่ 25.13 บาท ตัดขาดทุน 16 บาท 
•    OKJ* (17) : เก็งกำไรหุ้นยัง underowned ในช่วงแรกของการเข้า IPO และราคาหุ้นยืนเหนือแนวรับสำคัญ ตัดขาดทุน 15.30 บาท
 

ประเด็นที่น่าสนใจ 

-    สหรัฐเผยดัชนี PCE +2.3% เดือนต.ค. สอดคล้องคาดการณ์
-    สหรัฐเผยการใช้จ่ายผู้บริโภค +0.4% เดือนต.ค. สอดคล้องคาดการณ์
-    สหรัฐเผย GDP +2.8% ใน Q3/67
-    สหรัฐเผยตัวเลขผู้ขอสวัสดิการว่างงานต่ำกว่าคาด
-    นักลงทุนเพิ่มน้ำหนักเฟดหั่นดบ. 0.25% เดือนธ.ค. หลังรายงานเฟดส่งสัญญาณดบ.ขาลง
-    IMF คาดเศรษฐกิจไทยขยายตัว 2.7% ปีนี้/2.9% ปีหน้า
-    ROJNA ซื้อบิ๊กล็อต “หุ้น PHG” ถือรวม 24.50% ยันไม่กระทบโครงสร้างการบริหาร
-    กลุ่ม Property คงน้ำหนัก MARKETWEIGHT

ปัจจัยที่ต้องติดตาม

2 ธ.ค. – US ISM Manufacturing PMI (Nov)

 

 

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ ตัวเลขเศรษฐกิจผสมผสาน แต่เงินเฟ้อขึ้นกดดัน วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ ตัวเลขเศรษฐกิจผสมผสาน แต่เงินเฟ้อขึ้นกดดัน