วิเคราะห์หุ้น : บล.กรุงศรี Banking and Consumer Finance โครงการ “คุณสู้ เราช่วย”
มุมมองเป็นกลางต่อโครงการ “คุณสู้ เราช่วย” สำหรับธนาคารพาณิชย์และบริษัทลูกในกลุ่มธุรกิจ เพราะเราคาดว่ารายได้ดอกเบี้ย (NII) ของสถาบันการเงินที่หายไปจากการช่วยเหลือลูกหนี้ จะถูกชดเชยกับค่าใช้จ่ายสำรอง (credit cost) และหนี้เสีย NPL ที่ลดลง
โครงการ “คุณสู้ เราช่วย” เน้นช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มเปราะบาง คือ กลุ่มรายย่อย (บ้านและรถ) และ SME ทั้งลดอัตราการผ่อนชำระและดอกเบี้ยเป็นเวลา 3 ปี โดยธนาคารที่มีสัดส่วนสินเชื่อดังกล่าวในสัดส่วนที่สูงจะเป็น TISCO, KKP, TTB สำหรับเงินทุนและหลักทรัพย์จะมีเพียง TIDLOR และ KTC ที่เข้าโครงการนี้
ประเด็น
โครงการ“คุณสู้ เราช่วย” สำหรับธนาคารพาณิชย์ บริษัทลูกในกลุ่มธุรกิจ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจครอบคลุมจำนวนลูกหนี้ 1.9 ล้านราย จำนวนบัญชี 2.1 ล้านบัญชี ยอดหนี้คงค้าง 8.9 แสนล้านบาท ลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม 2024 – 28 กุมภาพันธ์ 2025 เงินสนับสนุนมาจากภาครัฐ ( เงินนำส่ง FIDF 0.23% และเงินงบประมาณ ม. 28 ของ SFIs 0.125%) และสถาบันการเงินอย่างละครึ่งโครงการ “คุณสู้ เราช่วย” ประกอบด้วย 2 มาตรการ
มาตรการที่ 1 “จ่ายตรง คงทรัพย์”
ประเภทสินเชื่อที่เข้าร่วมมาตรการ
- สินเชื่อบ้าน / Home for cash ไม่เกิน 5 ล้านบาท
- สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ / Car for cash ไม่เกิน 8 แสนบาท
- สินเชื่อรถจักรยานยนต์ / Car for cash ไม่เกิน 5 หมื่นบาท
- สินเชื่อ SMEs (ทั้งบุคคลและนิติบุคคล) ไม่เกิน 5 ล้านบาท
คุณสมบัติลูกหนี้
- สัญญาสินเชื่อทำขึ้นก่อนวันที่ 1 มกราคม 2024
- มีสถานะ ณ 31 ตุลาคม 2024 เป็นลูกหนี้ที่มีจำนวนวันค้างชำระ 31-365 วัน หรือลูกหนี้ไม่มีจำนวนวันค้างชำระ หรือค้างไม่เกิน 30 วัน ที่เคยมีประวัติการค้างชำระเกินกว่า 30 วัน และได้รับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามมาตรการแก้หนี้อย่างยั่งยืน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2022 รวมถึงภายใต้หลักเกณฑ์ Responsible Lending ใน 2024
รูปแบบความช่วงเหลือ
- ลดภาระผ่อนชำระ : ปีแรก ชำระ 50% ของค่างวดเดิม ปีที่สอง ชำระ 70% ของค่างวดเดิม ปีที่สาม ชำระ 90% ของค่างวดเดิม
- ลดดอกเบี้ย : ดอกเบี้ยจะถูกพักไว้ และค่างวดจะนำไปตัดต้นทั้งหมด หากลูกหนี้ปฏิบัติตามเงื่อนไขครบ 3 ปี จะยกดอกเบี้ยให้
เงื่อนไขการเข้ามาตรการ
- ลูกหนี้รายย่อยไม่สามารถขอสินเชื่อใหม่ได้ในช่วง 12 เดือนแรกที่เข้าร่วมมาตรการ
- ติด Flag การเข้าร่วมมาตรการใน NCB ระหว่างการเข้ามาตรการ
มาตรการที่ 2 “จ่าย ปิด จบ”
ประเภทสินเชื่อที่เข้าร่วมมาตรการ และคุณสมบัติลูกหนี้
ลูกหนี้ NPL บุคคลธรรมดาทุกประเภทสินเชื่อในสัญญาที่มีภาระหนี้คงค้างไม่เกิน 5,000 บาท
รูปแบบความช่วงเหลือ
ลูกหนี้ต้องจ่ายชาระบางส่วนของภาระหนี้ และสถาบันการเงินปลดลดหนี้ส่วนที่เหลือให้ ที่มา : BOT
ความเห็นและคำแนะนำ
- เรามีมุมมองเป็นกลางต่อโครงการ “คุณสู้ เราช่วย” สำหรับธนาคารพาณิชย์และบริษัทลูกในกลุ่มธุรกิจ เพราะเรามองว่ารายได้ดอกเบี้ย (NII) ของสถาบันการเงินที่หายไปจากการช่วยเหลือลูกหนี้ จะถูกชดเชยกับค่าใช้จ่ายสำรอง (credit cost) และหนี้เสีย NPL ที่ลดลง
- มาตรการที่ 1 “จ่ายตรง คงทรัพย์” ช่วยเหลือสินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อรถจักรยานยนต์ และสินเชื่อ SMEs (ทั้งบุคคลและนิติบุคคล)
Bank ที่มีสินเชื่อกลุ่มดังกล่าวเรียงจากมากไปน้อยดังนี้ TISCO (74%) > KKP (69%) > TTB (64%) > SCB (56%)> KBANK (51%) > BBL (30%) > KTB (29%)
Consumer Finance ที่มีสินเชื่อกลุ่มดังกล่าวเรียงจากมากไปน้อยดังนี้ TIDLOR (80%) > KTC (2%)
- มาตรการที่ 2 “จ่าย ปิด จบ” ช่วยเหลือลูกหนี้ NPL บุคคลธรรมดาในสินเชื่อทุกประเภทที่มีภาระหนี้คงค้างไม่เกิน 5,000 บาท เรามองเป็นกลุ่มสินเชื่อรายย่อย
Bank ที่มีสินเชื่อกลุ่มดังกล่าวเรียงจากมากไปน้อยดังนี้ TISCO,KKP (69%) > TTB (62%) > SCB (48%) > KTB (46%) > KBANK (28%) > BBL (12%)
Consumer Finance ที่มีสินเชื่อกลุ่มดังกล่าวเรียงจากมากไปน้อยดังนี้ KTC (100%) > TIDLOR (80%)
- สำหรับกำหนดการและรายละเอียดส่วนอื่นทาง ธปท. จะประกาศอีกครั้ง
- เราคงคำแนะนำ NEUTRAL ต่อกลุ่ม Bank คง KBANK (TP 180 บ.) และ KTB (TP 24 บ.) เป็น Top Pick
- เราคงคำแนะนำ NEUTRAL ต่อกลุ่ม Consumer Finance คง MTC (TP 58บ.) เป็น Top Pick