วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ ผันผวน กลยุทธ์ยังเลือกลงทุนรายกลุ่ม/รายตัว
แกว่งผันผวนจากข่าวการเก็บภาษีการค้าของสหรัฐฯ หุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นโดยมีปัจจัยสำคัญที่สนับสนุน ได้แก่ 1) การปรับขึ้นของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี เนื่องจากไมโครซอฟต์ประกาศแผนลงทุน Data center มูลค่า 8 หมื่นล้านดอลลาร์
เพื่อรองรับงานด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการรายงานผลประกอบการที่ดีกว่าคาดของ Foxconn (บ.อิเล็กทรอนิกส์ ไต้หวัน) เนื่องจากความต้องการเซิร์ฟเวอร์ AI ที่เพิ่มขึ้น 2) วอชิงตันโพสต์ รายงานว่าที่ประธานาธิบดีทรัมป์ มีแผนผ่อนคลายการเก็บภาษีการค้า โดยอาจเลือกเก็บเฉพาะบางอุตสาหกรรม แทนที่จะเป็นการปรับขึ้นถ้วนหน้าทั้งหมด (Universal tariffs) ตามที่เคยหาเสียงในช่วงเลือกตั้ง แม้ทรัมป์จะออกมาปฏิเสธข่าวดังกล่าว แต่ดัชนีค่าเงินสหรัฐฯ (Dollar Index) อ่อนค่าลง ซึ่งเป็นบวกกับการฟื้นตัวของสินทรัพย์เสี่ยง
กลุ่มพลังงานและสื่อสาร กดดันหุ้นไทยลง -7 จาก -12 จุด: หุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้าปรับลดลง หลังอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ พูดถึงความเป็นไปได้ของการปรับลดค่าไฟลงจาก 4.15 บาท/หน่วย เหลือ 3.70 บาท/หน่วย ซึ่งหากเกิดขึ้นจะกระทบกับรายได้ค่าขายไฟของโรงไฟฟ้าขนาดกลาง-เล็กที่ขายไฟให้กับเอกชน (SPP) ทั้งนี้ จากการประเมินของเรารัฐสามารถทำได้ผ่าน การลดผลตอบแทนของการไฟฟ้า, การลดค่าภาคหลวง หรือใช้ผลตอบแทนปันผลของหุ้นกลุ่ม PTT แต่จะเลือกแนวทางไหนขึ้นกับการศึกษา ซึ่งน่าจะทราบผลในอีก 3-4 เดือนข้างหน้า // สำหรับกลุ่มสื่อสาร เราคาดปรับลดลง เนื่องจากในวันนี้ (7 ม.ค.) ครม.จะพิจารณามาตรการเร่งด่วนในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมออนไลน์ ซึ่งอาจมีการกำหนดให้ผู้ประกอบการสื่อสารและธนาคาร มีส่วนรับผิดชอบต่อความเสียหาย (แต่ยังไม่กำหนดรูปแบบและแนวทาง)
กลต.เปิดรับฟังความเห็นปรับปรุงเกณฑ์ Margin loan: เราคาดมีผลต่อธุรกรรมปกติจำกัด โดยรวมการปรับปรุงเกณฑ์รอบนี้ กระทบต่อการกู้ยืมสำหรับจองซื้อ IPO, ลดการปล่อยกู้ไม่เหมาะสมกับฐานะบล., การปล่อยกู้กระจุก/มากเกินไปในรายหลักทรัพย์, การบริหารความเสี่ยงด้านเครดิตและเข้มงวดในการเรียกหลัก
ประกันหรือบังคับขาย และการให้กู้ยืมที่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ นอกจากนี้ มีเรื่องการยกเลิกหน่วยลงทุนจากการเป็นหลักทรัพย์ให้กู้ยืมเพื่อซื้อในบัญชีมาร์จิ้น ซึ่งปกติน่าจะไม่ใช่เป้าหมายในการกู้ยืมเพื่อเก็งกำไรอยู่แล้ว ดังนั้นเรามองมาตรการข้างต้นช่วยลดความเสี่ยงเชิงระบบจากการบังคับขายเนื่องจากการกู้ยืมไม่เหมาะสม
ภาพรวมกลยุทธ์ ความผันผวนช่วงม.ค.เป็นโอกาสในการเลือกซื้อ โดยยังมองกลุ่ม Earnings momentum play ใน 4Q67-1Q68 มีความน่าสนใจ โดยเราชอบ หุ้นในกลุ่มท่องเที่ยว, การแพทย์, ค้าปลีก และอาหาร (เครื่องดื่มและเนื้อสัตว์) ขณะที่คาดธนาคาร และการเงิน จะเป็นกลุ่มช่วยประคองบรรยากาศรวม
แนวรับ: 1,370 แนวต้าน : 1,390-1,400 จุด
สัดส่วนลงทุน: เงินสด 40% vs พอร์ตหุ้น 60%
หุ้นแนะนำ (* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ นักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาเข้าซื้อ)
• BCPG* (6.40): คาดผลการดำเนินงานผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วจากการหมด adder ในปี 67 และเข้าสู่การเติบโตรอบใหม่จากหลายโครงการในตปท. ตัดขาดทุน 5.45 บาท
• KTB (25) : คาดรายงานกำไรไตรมาส 4/67 ที่ 11,009 ล้านบาท -0.9% QoQ, +21.2% YoY คาดผลตอบแทนปันผลที่ 5% ตัดขาดทุน 20.80 บาท
• CBG* (85): ผลการดำเนินงานมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง จากต้นทุนการผลิตที่ปรับลดลง และการสร้างโรงงานที่พม่าบวกต่อการแย่งส่วนแบ่งการตลาด ตัดขาดทุน 77.25 บาท
• BTG (21) : คาดกำไร 4Q67F เพิ่มขึ้นทั้ง qoq และ yoy จากต้นทุนการผลิตที่ปรับลดลง ส่งผลให้อัตรากำไรยังปรับดีขึเนต่อเนื่อง ตัดขาดทุน 17.50 บาท
ประเด็นที่น่าสนใจ
- ดัชนี PMI ภาคบริการสหรัฐขยายตัวเดือนที่ 23 ในธ.ค.
- BRICS มีมติเอกฉันท์ประกาศรับอินโดนีเซียเป็นสมาชิกใหม่อย่างเป็นทางการ
- เงินเฟ้อไทย ธ.ค. บวก 1.23% ทั้งปีเฉลี่ย 0.40% คาดปี 68 ขยายตัวในช่วง 0.3-1.3%
- รมว.ดีอี มั่นใจระบบ "ดิจิทัลวอลเล็ต เฟส 3" เสร็จทัน มี.ค.แน่นอน
- ธปท. เกาะติดอุตสาหกรรมยานยนต์ หวั่นกระทบแรงงาน 1 ล้านคน
- SCM แจงราคาฟลอร์ 4 วันติด เหตุผู้บริหารถูก “ฟอร์ซเซล” ไม่กระทบธุรกิจ-กระแสเงินสด
- บทวิเคราะห์วันนี้ : LPN แนะนำ ขาย เป้า 2.10 บาท
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
7 ม.ค. – EU CPI, US Exports, JOLTs Job Openings
8 ม.ค. – FOMC Minutes
10 ม.ค. – US Non Farm Payrolls (Dec)