วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ ตลาดหุ้นไทยแกว่งในกรอบ เน้นเลือกลงทุนรายตัวเป็นหลัก
ประเมินตลาดหุ้นไทยจะยังแกว่งในกรอบ 1,370 – 1,400 จุด แม้จะมีปัจจัยหนุนจากปัจจัยภายในประเทศ อาทิ 1) โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล เช่น โครงการ Easy E-Receipt, Digital Wallet เฟส 2 และการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ
ที่ช่วยหนุนการใช้จ่ายและบริโภคภายในประเทศในช่วงต้นปี และ 2) ภาคการท่องเที่ยวที่มีโอกาสฟื้นตัวต่อเนื่องจากช่วงปลายปี 67 โดยล่าสุด ททท. รายงานจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในช่วงสัปดาห์แรกของปี 68 (1 ม.ค. – 5 ม.ค. 68) ที่ 5.05 แสนคน เพิ่มขึ้น +19.2% yoy นำโดย 1) จีน, 2) มาเลเซีย, 3) รัสเซีย, 4) เกาหลีใต้ และ 5) อินเดีย ตามลำดับ ช่วยหนุนผลการดำเนินงานของหุ้นอิงปัจจัยในประเทศ อย่างไรก็ตามระยะสั้นตลาดหุ้นไทยอาจผันผวนได้จาก 1) แรงขายจากกองทุน LTF ที่ทยอยครบกำหนดอายุที่สามารถขายกองทุนได้, 2) นโยบายของว่าที่ประธานาธิบดี Donald Trump ที่เตรียมขึ้นรับตำแหน่งในปลายเดือน ม.ค. นี้ เราจึงยังคงแนะนำกลยุทธ์การลงทุนแบบเน้นเลือกลงทุนเป็นรายกลุ่ม/ตัว เป็นหลัก
ปัจจัยที่ต้องติดตาม LTF / ภาวะการคลังสหรัฐฯ / นโยบายของผู้นำใหม่สหรัฐฯ: ตลาดหุ้นไทยช่วงม.ค.อาจเผชิญความผันผวน ซึ่งเรามองเป็นโอกาสซื้อ โดยปัจจัยติดตามที่สำคัญมีดังนี้ 1) แรงขายจากการครบกำหนดถือลงทุน 7 ปีของ LTF ที่ลงทุนในช่วงปี 2018-19 ซึ่งมีเม็ดเงินลงทุนรวมราว 1.5 แสนล้าน อย่างไรก็ตามการต้องถือครบระยะเวลาตามปีปฏิทิน ทำให้แรงขายน่าจะเป็นลักษณะทยอยขายซึ่งอาจทำให้ผันผวน แต่น่าจะไม่กระทบรุนแรงต่อตลาด 2) ปัญหาเพดานหนี้สหรัฐฯ ที่จะถึงขีดจำกัดภายใน 14-23 ม.ค.25 อย่างไรก็ตามรัฐบาลสหรัฐฯ ยังอาจใช้มาตรการพิเศษเพื่อขยายเวลาถึงขีดจำกัดดังกล่าวไปอีกระยะ และ 3) การเปลี่ยนแปลงนโยบายเศรษฐกิจและการค้าของสหรัฐฯ เนื่องจากการเปลี่ยนผู้นำ ซึ่งโดนัลด์ ทรัมป์ มีกำหนดสาบานตนรับตำแหน่ง 20 ม.ค. 68
ภาพรวมกลยุทธ์ ความผันผวนช่วงม.ค.เป็นโอกาสในการเลือกซื้อ โดยยังมองกลุ่ม Earnings momentum play ใน 4Q67-1Q68 มีความน่าสนใจ โดยเราชอบ หุ้นในกลุ่มท่องเที่ยว, การแพทย์, ค้าปลีก และอาหาร (เครื่องดื่มและเนื้อสัตว์) ขณะที่คาดธนาคาร และการเงิน จะเป็นกลุ่มช่วยประคองบรรยากาศโดยรวม
แนวรับ: 1,370 แนวต้าน : 1,400 จุด
สัดส่วนลงทุน: เงินสด 40% vs พอร์ตหุ้น 60%
หุ้นแนะนำ (* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ นักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาเข้าซื้อ)
• BCPG* (6.60): คาดผลการดำเนินงานผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วจากการหมด adder ในปี 67 และเข้าสู่การเติบโตรอบใหม่จากหลายโครงการในตปท. ตัดขาดทุน 5.95 บาท
• KTB (25) : คาดรายงานกำไรไตรมาส 4/67 ที่ 11,009 ล้านบาท -0.9% QoQ, +21.2% YoY คาดผลตอบแทนปันผลที่ 5% ตัดขาดทุน 20.80 บาท
• CBG* (85): ผลการดำเนินงานมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง จากต้นทุนการผลิตที่ปรับลดลง และการสร้างโรงงานที่พม่าบวกต่อการแย่งส่วนแบ่งการตลาด ตัดขาดทุน 77.25 บาท
• BTG (21) : คาดกำไร 4Q67F เพิ่มขึ้นทั้ง qoq และ yoy จากต้นทุนการผลิตที่ปรับลดลง ส่งผลให้อัตรากำไรยังปรับดีขึ้นต่อเนื่อง ตัดขาดทุน 17.50 บาท
ประเด็นที่น่าสนใจ
- เงินเฟ้อยูโรโซน พุ่ง 2.4% ในเดือน ธ.ค.67 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเดือนที่ 3
- สัปดาห์แรกปี 2568 ต่างชาติเข้าไทยเฉลี่ยวันละ 1 แสนคน
- คลังยัน "Global Minimum Tax" ไม่ใช่ต้นเหตุหุ้นร่วง คาดหนุนรายได้ภาษีเพิ่ม 1.2 หมื่นลบ.
- ตลท.สร้างโอกาสและความเท่าเทียมแก่ผู้ลงทุนทุกกลุ่มเดินหน้ายกระดับบริการ Co-location ใน Q2/68
- ครม.อนุมัติ กรอบงบประมาณปี’69 วงเงิน 3.78 ล้านล้านบาท
- ครม.เคาะมาตรการสินเชื่อ 2 หมื่นล้าน เสริมสภาพคล่อง SME
- เผ่าภูมิ เผย เงินเฟ้อ ปี 67 ที่ 0.4% ต่ำเกินไป ย้ำปี 68 ต้องดันให้แตะ 2%
- ราคาน้ำมัน WTI พุ่งไม่หยุด ล่าสุดทะลุ $74 กังวลอุปทานตึงตัว
- "เทนเซ็นต์-CATL" โต้เพนตากอน ยืนยันไม่ได้ทำงานให้กองทัพจีน
- บทวิเคราะห์วันนี้ : PTTEP แนะนำ ซื้อ เป้า 143.00 บาท
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
8 ม.ค. – FOMC Minutes
10 ม.ค. – US Non Farm Payrolls (Dec)
13 ม.ค. – Chat with Tony: Bull Rally of Thai Capital Market