วิเคราะห์หุ้นรายตัว : บล.เคจีไอฯ SCC ประมาณการ 4Q67F: สถานการณ์ไม่แน่นอนยังคงอยู่
ในวันที่ 29 ม.ค. คาดเบื้องต้นว่า SCC จะรายงานผลขาดทุนสุทธิ 4Q67F ที่ 1.9 พันล้านบาท (เทียบกับกำไรสุทธิ 721 ล้านบาทใน 3Q67 และขาดทุนสุทธิ 1.1 พันล้านบาทใน 4Q66)
ส่วนใหญ่เพราะไม่มีรายการเงินสดกำไรจากการแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Swap: IRS) ที่ 2.1 พันล้านบาท เหมือนใน 3Q67 อย่างไรก็ตามคาดขาดทุนหลักจะอยู่ที่ 962 ล้านบาท (เทียบกับขาดทุนหลัก 160 ล้านบาทใน 3Q67 และกำไรหลัก 502 ล้านบาทใน 4Q66) ถูกฉุดโดยการดำเนินงานที่แย่ลงของหน่วยธุรกิจเคมีภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ต้นทุนดำเนินงานสูงขึ้นทั้งค่าเสื่อมราคาและดอกเบี้ยจ่าย (DD&A) ถึงแม้ได้รับการชดเชยบางส่วนจากประสิทธิภาพต้นทุนที่ดีขึ้น เงินปันผลรับที่แข็งแกร่งขึ้นจากโตโยต้าและคูโบต้า
Key highlights
i) กลุ่มธุรกิจเคมีภัณฑ์ อาจเผชิญผลขาดทุนที่มากขึ้นตาม spread ที่ลดลง (PP และ PE) ผลขาดทุนจากสต็อกที่มากขึ้น และปริมาณขายที่ทรงตัว ส่วน HDPE spread ลดลงเหลือ 323 US$/ton (-11%QoQ แล -16% YoY) และ PP spread อยู่ที่ 315 US$/ton (-4% QoQ แต่ +3% YoY)
ii) กำไรจากกลุ่มธุรกิจปูนซีเมนต์น่าจะทรงตัว QoQ หนุนจากยอดขายปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำที่แข็งแกร่งขึ้นพร้อมโอกาสในการเพิ่มอัตราการเจาะตลาด
iii) กลุ่มธุรกิจบรรจุภัณฑ์จะเผชิญกับกลไกการส่งผ่านต้นทุนที่ไม่ดี และการรับรู้ผลประกอบการเต็มไตรมาสของ Fajar พร้อมต้นทุนดอกเบี้ยเต็มจำนวนอีกด้วย
Valuation and action
นักลงทุนยังคงไม่เชื่อมั่นว่าวัฏจักรขาลงได้สิ้นสุดลงแล้วหรือไม่ แม้ผู้บริหารจะมีมุมมองเชิงบวก โดยเฉพาะผลการดำเนินงานที่คาดจะที่แข็งแกร่งขึ้นในปี 2568F (โดยเฉพาะตั้งแต่ 2H68F) ขับเคลื่อนโดยกลุ่มธุรกิจเคมีภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ดีขึ้นท่ามกลางความหวังการฟื้นตัวของจีน นอกจากนี้ กลยุทธ์หลักที่มุ่งเน้นการลดหนี้ การเพิ่มประสิทธิภาพ CAPEX ประสิทธิภาพการผลิต และการปรับเปลี่ยนไปสู่เคมีภัณฑ์มูลค่าสูงและปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าหุ้นจะเทรดทั้ง P/E และ P/BV ในอดีตต่ำกว่า -2SD แต่ยังขาด re-rating catalyst ขณะที่ความเสี่ยงในการปรับลดประมาณการยังคงอยู่ ทั้งนี้ การประชุมนักวิเคราะห์ 4Q67 ของ SCC กำหนดจัดขึ้นในวันที่ 30 ม.ค. 68
Risks
การปิดซ่อมบำรุงนอกแผน, ปัญหา cost overruns และภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว