"ดิจิทัลแอสเซท" โดนคุม "เหมารวม" ความท้าทายบนเส้นทางสู่โลกการเงินอนาคต
สมาคม บล.-บลจ. -สินทรัพย์ดิจิทัล -นักวิชาการการเงิน ประสานเสียง "ดิจิทัลแอสเซท" โดนคุมแบบ"ถูกเหมารวม" ยังเป็นข้อจำกัด อาจถอยหลังกลับไปจุดเดิม แนะหน่วยงานกำกับ แยกประเภทสินทรัพย์ชัดเจน หวังเป็นอีกทางเลือกการลงทุนสู่โลกอนาคตที่ต้องมี ไปคู่กับสินทรัพย์ดั่งเดิม
บนเวทีเสวนา “ส่องทิศทางการขับเคลื่อนตลาดทุนไทย พร้อมปรับและรับมือ” ในงานสัมมนา SEC Capital Market Symposium 2022 โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ในโลกการเงินอนาคตที่ “สินทรัพย์ดั่งเดิมและสินทรัพย์ดิจิทัล” กำลังจะต้องเดินไปพร้อมกัน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในตลาดทุนไทย พร้อมปรับและรับมือกับ การกำกับดูแลอย่างไรนั้น
นายพิเชษฐ สิทธิอำนวย นายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย (ASCO) กล่าวว่า “การกำกับดูแล” เป็นเหมือน “เหรียญสองด้านเสมอ” “หน่วยงานกำกับ” ต้องมีการพูดคุยกับ “ผู้ถูกกำกับ” ตลอดเวลา และต้องซักซ้อมทำความเข้าใจร่วมกันก่อน สิ่งสำคัญต้องมีการสื่อสารร่วมกันอย่างต่อเนื่อเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ต่างๆ ผู้ถือกับกับ คือ ผู้ประกอบการ สามารถทำได้หรือไม่ได้อย่างไร และหากต้องมีการปรับเปลี่ยนควรสามารถทำได้ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปได้ตลอดเวลา
“แน่นอนว่า ผู้ถูกกำกับดูแลทุกคน อยากทำให้ถูกต้อง ไม่มีใครอยากทำผิดกฎ เพราะเรามองว่า ลูกค้าต้องได้ประโยชน์ ให้บริการลูกค้า และป้องกันความเสียหายให้กับนักลงทุน เป็นแนวทางที่เราเห็นตรงกันอยู่แล้ว แต่คงต้องมีการพูดคุยร่วมกันเพื่อให้ไปด้วยกันได้ทุกฝ่าย”
ธุรกิจ บล. พร้อมปรับตัวรับ
ทั้งนี้ ภายใต้การเปลี่ยนแปลงทั้งกฎเกณฑ์ต่างๆ พฤติกรรมและความต้องการของผู้ลงทุนที่เปลี่ยนไป อย่างรวดเร็ว ที่ผ่านมา นายพิเชษฐ กล่าวว่า ธุรกิจบล. มีการปรับตัวกันตลอดเลา โดยเฉพาะในตลาดทุนไทย ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เริ่มถูกมองเป็นการลงทุน มากกว่าเป็นแค่การเก็งกำไร และยิ่งมีการเปิดเสรีด้านธุรกิจหลักทรัพย์ ทำให้แต่ละบล.ต่างพยายามหาโมเดลธุรกิจที่แตกต่างกันตามความชำนาญและความต้องการของกลุ่มลูกค้าเซ็กเม้นท์ใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้น
ขณะที่ธุรกิจ บล.ในระยะข้างหน้านั้น แน่นอนว่า จะเห็นพัฒนาการผลิตภัณฑ์ เครื่องมือและบริการการลงทุน แยกย่อยตามลักษณะของกลุ่มลูกค้าแต่ละประเภทมากขึ้น เช่น สินทรัพย์ดิจิทัล หรือสินทรัพย์ดั่งเดิม ตามกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ
สมาคบลจ.หารือ ก.ล.ต. เปิดทางลงทุน"สินทรัพย์ดิจิทัล"
นางชวิดา หาญรัตนกูล นายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (AIMC) กล่าวว่า ขณะนี้ สินทรัพย์ดิจิทัล เป็นช่วงเริ่มต้นของการพัฒนาการ และยังเป็นเทรนด์ในอนาคต ที่คนในปัจจุบันและอนาคต หนีไม่พ้น
ธุรกิจ บลจ. มองว่า ดังนั้น สินทรัพย์ดิจิทัล ตอนนี้อาจต้องกลับมาพิจารณาให้เกิดความเรียบร้อย แลเชื่อว่า คงต้องมีการกำกับดูแลในระดับหนึ่ง เพื่อให้สินทรัพย์ดิจิทัลเดินหน้าต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้ระบบการเงินยังมีเสถียร ภาพ เพื่อทำให้นักลงทุน เกิดความมั่นใจการลงทุนมากขึ้น นอกจากมุ่งเน้นในเรื่องความปลอดภัยของระบบและผู้ลงทุนอยู่แล้ว
"เรามอยากเข้าไปลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัล เป็นอีกทางเลือกให้กับนักลงทุน ในลักษณะการลงทุนแบบ PASSIVE ที่่ผานมา สมาคม ได้หารือกับ ก.ล.ต. ว่า เมื่อถึงจังหวะที่พร้อมควรเปิดการลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัล ในลักษณะดังกล่าว เป็นทางเลือกและสร้างสีสันการลงทุน ให้กับนักลงทุนรุ่นใหม่ในอนาคต ทั้งสินทรัพย์ดั่งเดิมและสินทรัพย์ดิจิทัลยังต้องไปควบคู่กันในอนาคต แม้ว่าตอนนี้ สินทรัพย์ดิจิทัล จะต้องกลับมาเซ็ทอัพให้ชัดเจน"
"สินทรัพย์ดิจิทัล" กำลังถูกเหมารวม เป็นข้อจำกัดการลงทุน
นางชวินดา กล่าวว่า ตอนนี้ สินทรัพย์ดิจิทัล กำลังถูกเหมารวม เช่น แม้กระทั่ง ICO ก็ถูกเหมารวมเป็นสินทรัพย์ดิจิทัล อาจจะต้องมีแยกประเภทให้สมดุลและชัดเจน อะไรที่สามารถขับเคลื่อนไปก่อนได้ ผลักดันไปก่อน ส่วนอะไรที่ยังต้องรอความชัดเจน แยกออกมาไว้ก่อน เพื่อให้มีพัฒนาไปข้างหน้า ไม่ใช่นั้นอาจถอยกลับมาสู่จุดตั้งต้นใหม่
"สินทรัพย์ดั่งเดิม-สินทรัพย์ดิจิทัล" ต้องเดินไปคู่กัน
นายพิริยะ สัมพันธรักษ์ กรรมการส มาคมสินทรัพย์ดิจิทัลไทย กล่าวว่า สินทรัพย์ดั่งเดิมและสินทรัพย์ดิจิทัล ในอนาคตยังต้องเดินไปคู่กัน แต่ก็ต้องมาพร้อมกับความชัดเจนด้วย
เพราะหน่วยงานกำกับดูแล ยังมอง สินทรัพย์ดิจิทัล แบบเหมารวม แต่หากพิจารณา สินทรัพย์ดิจิทัล แต่ละประเภทจะพบว่า แตกต่างกันคนละโลกคนละจักรวาล เช่น บิทคอยน์ ทำหน้าที่ยืนหนึ่งเป็นเงิน เป็นระบบป้องกันการฉ้อโกงมีความโปร่งใส ขณะที่อีเธอเลียม ทำหน้าที่เป็นดีเซ็นทรัลไลท์แอปฯ แฟลตฟอร์ม
ดังนั้น ด้วยโครงสร้างของสินทรัพย์ดิจิทัลที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง มองว่า ผู้กำกับดูแล คงต้องมีการแยกสินทรัพย์ดิจิทัลแต่ละประเภท มีหน้าที่แตกต่างกันอย่างไร จะกำหนดแนวทางกำกับดูแลแยกกันอย่างไรต่อไป
หากเราเข้าใจว่า สินทรัพย์ดิจิทัลมีความหลากหลาย และบางประเภทไม่ได้แตกต่างจากสินทรัพย์ดั่งเดิมมากนักแล้ว เช่น อาจมองได้ว่า หุ้นจริงๆก็อาจเป็นสินทรัพย์ดิจิทัล เพราะตอนนี้สินทรัพย์ทุกอยู่ก็อยู่บนดิจิทัลกันหมดแล้ว หรือยังมีสินทรัพย์ดิจิทัลที่เป็นโทเคน ซึ่งเหรียญคริปโทเคอเรนซีบางตัวหรือบางส่วนเป็น
หลักทรัพย์ เพราะบางเหรียญสามารถสร้างประโยชน์ได้เหมือนหลักทรัพย์หรือทำหน้าที่เป็นเดลิเวอร์ทีฟให้กับสินค้าอื่นๆได้
ความเข้าในในประเด็นดังกล่าวมองว่า จะทำให้การกำกับดูแล "สินทรัพย์ดิจิทัลไปพร้อมสินทรัพย์ดั่งเดิม" ได้ ในอนาคตอาจจะเกิดในลักษณะการเมิร์ชกัน เช่น ลักษณะของตลาดหุ้นที่เป็นโกเบิลมากขึ้น หรือมีความอัตโนมัติมากขึ้น
หรือมีสินทรัพย์การระดมคล้ายกับรีท เข้ามาเป็นเครื่องมาช่วยการระดมทุนได้มากขึ้น
"ตอนนี้มองว่า เราไม่ได้มีสินค้าใหม่ แม้จะมีเทคโนโลยีใหม่หรือตลาดใหม่ แต่ก็คือสินค้าเดิมที่มีอยู่แล้วเพียงแต่ตอนนี้สินทรัพย์ดิจิทัลทุกประเภทโดนเหมารวมกันอยู่ ทำให้ยากต่อการกำกับดูแลว่า ส่วนนี้ส่วนนั้นจะกำกับดูแลแบบไหนหรือไม่ดูแลแบบนั้น"
ตอนนี้สินทรัพย์ทางการเงินไม่มีอะไรใหม่
รศ.ดร. คณิสร์ แสงโชติ อาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์ และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เชื่อว่า ในโลกการเงินตอนนี้ไม่มีอะไรใหม่ หน้าที่ของสินทรัพย์ทางการเงิน มี 3 หน้าที่ คือ 1 การเก็บรักษาสินทรัพย์ 2 แลกเปลี่ยนโอนสินทรัพย์ และนำกำลังซื้อในอนาคตล่วงหน้ามาใช้ก่อน เป็นหน้าที่สินทรัพย์ทางการเงินที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลง
เรากำลังจะกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งสินทรัพย์ดิจิทัลหรือไม่ดิจิทัล มองว่า แบ่งเป็นลักษณะสินทรัพย์เป็น 2 ประเภท คือ ถืออยู่ก็เป็นเจ้าของ และถือไว้แค่คาดหวังว่าใครสักคนจะทำตามสัญญาที่ให้ไว้
ดังนั้นไม่ว่า สินทรัพย์นั้นไม่ว่าจะอยู่บนอะไร เช่น กระดาษ ฐานข้อมูล บล็อกเชน ถ้าเกิดคนที่สัญญาไว้แล้วไม่สามารถทำตามสัญญานั้นได้ ทำให้ระบบการเงินที่เป็นอยู่ เกิดความปั่นป่วน ความกังวล ขาดความเชื่อมั่น ทำให้ไม่มีเสถียรภาพเกิดขึ้น
และมองว่า สินทรัพย์ทางการเงินไม่ว่าจะอยู่ในโลกไหน ยังมีความจำเป็นต้องมีการสร้างมาตรฐานอยู่ และสินทรัพย์ดิจิทัล อยู่ภายใต้กรอบดังกล่าวที่มีอยู่แล้ว สิ่งที่กำลังจะขออนุญาตหรือจำเป็นขออนุญาตหรือไม่ อาจจะพิจารณาได้หรือไม่ว่า สินทรัพย์ที่อยู่นอกบล็อกเชนทำอะไรได้ หากสิ่งที่อยู่บนบล็อกเชนนั้นจะขอทำบ้างได้เช่นกัน