ธปท.ชี้เดินหน้า CBDC พลิกโฉมระบบชำระเงิน

ธปท.ชี้เดินหน้า CBDC  พลิกโฉมระบบชำระเงิน

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นหนึ่งในธนาคารกลางลำดับแรกๆที่เล็งเห็นถึงกระแส “ดิจิทัล” ที่จะปฏิวัติรูปแบบ“การเงิน”และได้จัดทำแผนศึกษา ทดลอง และพัฒนานวัตกรรมการเงินในรูปแบบต่างๆ โดยการนำเอา“เทคโนโลยี” มาใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพโครงสร้างพื้นฐานการเงินของประเทศ

โดยหนึ่งในงานสำคัญคือ การเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานในการรองรับ CBDC หรือ “สกุลเงินดิจิทัลแห่งชาติ” โดยการนำร่องทดสอบการใช้งานทั้ง “รายใหญ่” และ “รายย่อย”

ณพงศ์ธวัช โพธิกิจ ผู้อำนวยการ ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย เล่าถึงกระบวนการในการทดสอบและทดลองการใช้งาน CBDC ในปัจจุบัน ผ่านรายการ 'แบงก์ชาติชวนคุย' ว่า การพัฒนา Wholesale CBDC เพื่อการโอนเงินระหว่างประเทศมีความเป็นไปได้ที่จะนำมาใช้งานจริง และคาดว่าจะพัฒนาให้ถูกนำมาใช้เร็วกว่า Retail CBDC การพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลสำหรับประชาชน ที่ยังไม่มีแผนใช้งานจริงในเร็วๆนี้ เพราะจะต้องพัฒนาเทคโนโลยีให้มีข้อมผิดพลาดน้อยที่สุด

แม้ว่าสถานภาพของการชำระเงินในบ้านเรามีสเถียรภาพอยู่แล้ว แต่ธปท.พยายามมองหาช่องว่างของระบบการชำระเงินที่ยังไม่ตอบโจทย์และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ซึ่งหากมองในมุมการทดสอบการใช้งาน CBDC ระหว่างสถาบันการเงิน การทำธุรกรรมแต่ละครั้งมีมูลค่าสูง และมีปัญหาในหลายขั้นตอนสำหรับการใช้โอนเงินระหว่างประเทศ ทำให้ต้องผ่านตัวกลางเยอะ ใช้เวลานาน และค่าใช้จ่ายสูง เทคโนโลยีนี้จึงเข้ามาตอบโจทย์

ขณะนี้อยู่ระหว่างการทดสอบ CBDC ทั้ง 2 แบบ ทั้ง Wholesale และRetail ในฝั่งของ Wholesale เป็นการทดสอบการโอนเงินระหว่างธนาคารและผู้ให้บริการทางการเงินรายใหญ่ ในโครงการ mBridge หรือ “Multiple Currency CBDC Bridge” เป็นการพัฒนา Wholesale CDBC เพื่อการโอนเงินระหว่างประเทศ

 

โดยเป็นการศึกษาร่วมกับ ธนาคารกลางฮ่องกง (HKMA) สถาบันศึกษาสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลางแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (PBC DCI) ธนาคารกลางสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (CBUAE) และศูนย์พัฒนานวัตกรรมของธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BISIH) ณ เมืองฮ่องกง 

จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า ช่วยลดระยะเวลาการโอนเงินระหว่างประเทศเหลือเพียงหลักวินาที เมื่อเปรียบเทียบกับการโอนเงินในระบบปัจจุบันซึ่งใช้เวลาประมาณ 3-5 วัน  อย่างไรก็ตาม การโอนเงินระหว่างประเทศเป็นโจทย์ที่ชัดเจนสำหรับการพัฒนาให้เกิดการใช้งานจริง ทั้งการทดสอบระบบการทำงาน

รวมถึงสิ่งที่ต้องคำนึงถึงอย่ามาก คือการทำงานร่วมกับนโยบายทางการเงินแต่ละประเทศ รวมทั้งการบริหารจัดการร่วมกับธนาคารหลายๆแห่งทั้งประเทศไทยและประเทศ เพราะกฏระเบียบในการโอนเงินแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน

สำหรับ CBDC รายย่อยถูกออกแบบมาเพื่อประชาชนทั่วไป และใกล้เคียงกับธนบัตรมากที่สุด มีการวางโครงสร้างพื้นฐานใหม่ให้สามารถชำระเงินได้ทุกร้านและทุกระบบ สามารถโอนเงินได้อย่างไรข้อจำกัด ไม่ว่าจะเป็น อีมัน พร้อมเพย์ หรือนอนแบงก์ 

กษิดิศ ตันสงวน ผู้อำนวยการ กลุ่มงานยุทธศาสตร์องค์กร ธนาคารแห่งประเทศไทย อธิบายว่ากลุ่มทดสอบในวงจำกัดจำนวน 1 หมื่นคน จะต้องทำการทดสอบผ่านแอปพลิเคชัน CBDC วอลเล็ต ผูกกับบัญชีธนาคารเพื่อนำเงินฝากในบัญชีแลกเปลี่ยนเป็น CBDC ซึ่งมีการทดสอบร่วม 3 แห่งในวงจำกัดได้แก่ ธนาคารกรุงศรี ธนาคารไทยพาณิชย์ และผู้ให้บริการทางการเงิน 2C2P ได้มีการทดสอบตั้งแต่ปลายปี 65 ในวงเล็กๆ สู่การขยายกว้างมากขึ้น ในร้านค้าที่ใกล้แบงก์ชาติ เพราะจะสามารถเข้าไปแก้ไขได้ทันทีเมื่อ ติดขัด หรือเกิดปัญหา

การทดสอบ Retail มีการพัฒนา 2 ขั้น คือ “ฟาวเดชันแทร็ก” การทดสอบ โอน จ่าย เบิก ถอน และอินโนเวชันแทร็ก ในการพัฒนาโครงสร้างเทคโนโลยีให้มีความสเถียร และมองถึงการพัฒนาในอนาคตว่าสามารถหยิบ CBDC ไปพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมทางการเงินที่หลากหลายในอนาคตได้

ความโปร่งใสของระบบทำให้หลายคนตั้งคำถามว่าทุกการใช้จ่ายผ่าน CBDC แบงก์ชาติจะเห็นการทำธุรกรรมหรือไม่ โดยระบบของ CBDC ออกแบบมาคำนึงถึงความปลอดภัย มีการแบ่งข้อมูลชัดเจนระหว่างส่วนบุคคลและตรวจสอบความถูกต้องของธุรกรรมทางการเงิน เหมือนระบบการโอนพร้อมเพย์ในปัจจุบัน ที่แบงก์ชาติมีหน้าที่เพียงแสตมป์ธุรกรรมว่ามีเงินส่งจากแอดเดรสหนึ่งไปอีกแอดเดรสหนึ่ง

ณพงศ์ธวัช ย้ำว่า CBDC ไม่ใช่เหรียญคริปโทเคอร์เรนซีที่ออกโดยธนาคารกลาง เนื่องจากมีการอ้างอิงมูลค่าเท่ากับสกุลบาทด้วยมูลค่าที่แท้จริง ขณะนี้ส่วนใหญ่ในตลาดการเงินมีการใช้สกุลเงินดิจิทัลในรูปแบบของการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นสตาร์ทอัพ เทคคอมพานี สร้างอินโนเวชันเพื่อสร้างเหรียญขึ้นมาเป็นสื่อกลางในการระดมทุน 

ส่วนการใช้เป็นสื่อกลางในการชำระเงินกลับยังไม่ถึงจุดนั้น เนื่องจากแบงก์ชาติออกมาตรการว่า คริปโทไม่สามารถนำมาเป็นสื่อกลางในการชำระเงินได้ รวมทั้งการพัฒนา CBDC ยังอยู่ในวงจำกัดจากเรื่องเทคโนโลยี เนื่องจากความรวดเร็วที่จะต้องได้รับการพัฒนาขึ้นอีกมาก

อย่างไรก็ตาม CBDC ไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนเท่านั้น ซึ่งทางธปท.เลือกใช้เทคโนโลยีที่สามารถใช้งานได้อย่างคล่องตัว เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด แม้ว่าเทคโนโลยีบล็อกเชนจะมีความน่าเชื่อถือ จากความโปร่งใส่ที่เห็นยอดการทำธุรกรรม แต่มีข้อจำกัดในเรื่องของต้นทุนและความรวดเร็วในการทำธุรกรรม

ในต่างประเทศเรื่องสกุลเงินดิจิทัลยังถือเป็นเรื่องใหม่ หลายประเทศยังไม่มีแนวทางที่ตรงกัน สามารถแบ่งความเคลื่อนไหวออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ  

กลุ่มแรก มีการ “แบน” ห้ามใช้อย่างชัดเจน เช่น ในประเทศจีนที่มีการห้ามใช้งานทุกรูปแบบ ห้ามเกี่ยวข้องกับการลงทุน ขุด ซื้อขายแลกเปลี่ยน และห้ามในบางส่วน เช่น ห้ามรายย่อยลงทุน กลุ่มที่สอง คือกลุ่มที่กำลังเฝ้ามองตลาด ยังไม่มีกติกามีเพียงการทำเปเปอร์ และรับฟังความคิดเห็น ความเคลื่อนไหวของหลากหลายฝ่าย และกลุ่มสุดท้าย คือ มีการเคลื่อนไหวในเรื่องของการกำกับดูแลที่ตอบรับการพัฒนาที่เกิดขึ้น อย่างประเทศไทยเองมีพ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัลฯ ที่ออกมาช่วยกำกับดูแลตลาดดิจิทัล