ทำไมเอเชียถึงแย่งกันเป็น ‘คริปโทฮับ’ ไทยลงแข่งด้วยหรือไม่ ?
ทำไมแต่ทั่วโลกต้องการเป็น “Crypto hub” หรือ ศูนย์กลางคริปโทระหว่างประเทศ ทั้งไมอามี ปูซานของเกาหลีใต้ และคู่แข่งของฮ่องกงอย่างสิงคโปร์ ลอนดอน ดูไบรวมถึงประเทศไทย ต่างมองโอกาสใน “อุตสาหกรรมคริปโท”
ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา บริษัทคริปโทกำลังถามหาถึงการขาดความชัดเจนด้านกฎระเบียบและการดำเนินการบังคับใช้ที่เข้มงวดมากขึ้น ทำให้ตลาดอุตสาหกรรมคริปโทที่ใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ในภาวะชะลอตัว จากแพลตฟอร์มคริปโทใหญ่ๆหลายเจ้า รวมถึง Kraken, Bittrex และ Coinbase ต่างตกเป็นเป้าหมายของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐฯ เนื่องจากถูกกล่าวหาว่าละ “ละเมิดกฎหมายหลักทรัพย์” ในขณะที่ SEC และ Commodity Futures Trading Commission ยังคงไม่เห็นด้วยว่าคริปโทเป็น “หลักทรัพย์”
การที่สหรัฐเริ่มเข้มงวดกับการดูแลคริปโทมากขึ้นกว่าเดิม ทำให้สภาพแวดล้อมด้านกฎระเบียบที่ไม่เอื้ออำนวยในสหรัฐอเมริกา ผลักดันให้บริษัทคริปโทต้องออกไปแสวงหาโอกาสที่ดีกว่าที่ประเทศอื่น ทำให้ภาคเศรษฐกิจใน“เอเชีย”หลายแห่งกำลังแข่งขันกันเพื่อก้าวขึ้นเป็นผู้นำของอุตสาหกรรมคริปโท และเทคโนโลยีบล็อกเชน และ Web 3.0 ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานของเศรษฐกิจดิจิทัล
รายงานการตลาดของ Statista เว็บไซต์วิจัยและเก็บสถิติชั้นนำ ที่ถูกเผยแพร่ออกมาในเดือนเมษายน 2566 คาดการณ์ว่ารายได้ในตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลจะเติบโตในอัตรา 16.15% ต่อปี จนมึมูลค่าตลาดเกิน 102 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2570 และมีผู้ใช้งานเกือบพันล้านคน
“ฮ่องกง” หนึ่งในผู้เล่นที่มีความกระตือรือร้นในการแข่งขันพยายามพลักดันตัวเองขึ้นมาเป็น“คริปโทฮับ” หลังจากที่เศรษฐกิจของฮ่องกงซบเซาจากพิษโควิด-19 และข่าวการปราบปรามผู้เห็นต่างทางการเมือง ทำให้ฮ่องกงมีความพยายามที่จะเรียกคืนเศรษฐกิจที่ชะลอตัวให้กลับมา“เฟื่องฟู”อีกครั้ง ด้วยการดึงดูดนักลงทุนใหม่ๆและบุคลากรที่มีความสามารถกลับคืนสู่ฮ่องกง
ตั้งแต่ปลายปี 2565 ฮ่องกงยังได้เปิดตัวโครงการริเริ่มเพื่อดึงดูดธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล และบริษัท Web3 จากต่างประเทศและจีนแผ่นดินใหญ่ โดยมีธุรกิจอย่างน้อย 80 แห่งได้แสดงความสนใจที่จะจัดตั้งการดำเนินงานในเมืองนี้
และดูเหมือนว่าความพยายามของฮ่องกงจะสัมฤทผลจากการสนับสนุนด้าน “สินทรัพย์ดิจิทัล” ที่รัฐบาลให้การสนับสนุน ด้วยการเป็นศูนย์กลางในการออกใบอนุญาตให้แก่ธุรกิจคริปโท ทำให้ธุรกิจคริปโทหลายแข่งตบเท้าเข้าแดนสิงคโปรเพื่อขอไลเซ่นในการประกอบธุรกิจกันมากมาย และกฏหมายที่เอื้อต่อการใช้งาน การซื้อขายคริปโทมากขึ้น แต่มีความเข้มงวดเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ถึงขั้นกำหนดให้บริษัทคริปโทต้องวางมาตรการป้องกันความเสี่บงแก่ลูกค้าก่อนลงทุน แต่ก็ยังมีอุปสรรคเรื่องความคลุมเครือด้านกฎระเบียบ และการขาดแคลนบุคลากรด้านเทคโนโลยีที่หายากเหลือเกิน
การที่ฮ่องกงยอมรับคริปโทก็เพราะว่าเป็นหนึ่งในนโยบายในฐานะศูนย์กลางทางการเงินที่ทันสมัย ทำให้รัฐบาล “จำเป็นต้องยอมรับสิ่งเหล่านี้” ซึ่งรัฐบาลได้มีการอนุญาตกองทุนสัญญาซื้อขายฟิวเจอร์สของ Bitcoin และ Ether
สิ่งที่น่าสังเกตุคือ การผลักดันของฮ่องกงดูเหมือนจะได้รับการสนับสนุนอย่างเงียบ ๆ จากจีน ในการใช้ฮ่องกงเป็นพื้นที่ทดสอบสำหรับสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งรู้กันดีว่าจีนแผ่นดินใหญ่มีการห้าม และแบนคริปโทในทุกรูปแบบ ถือเป็นความเสี่ยงที่อาจลามมาถึงฮ่องกง
อย่างไรก็ตาม หน่วยงานกำกับดูแลของฮ่องกงได้คัดค้านแนวคิดนี้ โดยอ้างถึงหลักการ “หนึ่งประเทศ สองระบบ” ที่อนุญาตให้อดีตอาณานิคมของอังกฤษมีระบบเศรษฐกิจและการเมืองของตนเอง
แต่เส้นทางของฮ่องกงสู่ฮับ Web3 ระดับโลกไม่ได้ปราศจากผู้ท้าชิง สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้กำลังเพิ่มความเข้มข้นในการแสวงหาการเติบโตของเศรษฐกิจสินทรัพย์ดิจิทัล และออกกฎระเบียบที่เป็นมิตรกับสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อดึงดูดการลงทุนและบริษัทต่างๆ
“สิงคโปร์” คู่แข่งคนสำคัญของฮ่องกง ยังคงต้องการเป็นศูนย์กลางสำหรับสินทรัพย์ดิจิทัลและบล็อกเชน แต่ย้ำจุดยืนชัดเจนว่าไม่ใช่สำหรับการ “เก็งกำไร” ในสกุลเงินดิจิทัล
ราวี เมนอน (Ravi Menon) กรรมการผู้จัดการของธนาคารกลางแห่งสิงคโปร์ (Monetary Authority of Singapore) กล่าวว่า
“หากศูนย์กลางคริปโทมีความหมายเกี่ยวกับการทดลองกับโปรแกรมเงิน ยูสเคสการใช้สินทรัพย์ดิจิทัล หรือการแปลงสินทรัพย์ทางการเงินเป็นโทเคนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดความเสี่ยงในการทำธุรกรรมทางการเงิน นั่นแปลว่า เราต้องการเป็น "คริปโทฮับ”
แต่หากเป็นเรื่องของการซื้อขายและการเก็งกำไรในสกุลเงินดิจิทัล นั่นไม่ใช่ศูนย์กลางการเข้ารหัสลับแบบที่เราต้องการ"
ธนาคารแห่งชาติสิงคโปร์ (DBS Bank) มีความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล โดยกำลังทดสอบการนำร่องการใช้เงินดิจิทัลแรกของสิงคโปร์เมื่อปี 2565
ประเทศไทยเอาด้วยหรือไม่?
กับการที่ประเทศต่างๆในแถบเอเชียมองเห็นอนาคตของ“เศรษฐกิจดิจิทัล”
นายชลเดช เขมะรัตนา นายกสมาคมฟินเทคประเทศไทย ได้กล่าวในหัวข้อบริการทางการเงินในโลกยุคฟินเทคและความพร้อมของประเทศไทยในการก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางด้านฟินเทค ในโครงการพัฒนาศักยภาพผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจระดับสูง(พศส.)2566 หัวข้อเปิดโลกนวัตกรรมก้าวทันเทรนด์การเงินยั่งยืนโดยสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ
“สมาคมเตรียมเสนอให้รัฐบาลใหม่สนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลาง Fintech ในภูมิภาคและเสนอให้กระทรวงการคลังและกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอี)เป็นเจ้าภาพ”
5 ข้อได้เปรียบของกรุงเทพเหนือเอเชีย
1.โครงสร้างพื้นฐานด้านการเงินที่แข็งแกร่งตลาดทุนมีสภาพคล่องสูงและบิริษัทจดทะเบียนมีการบริหารเพื่อความยั่งยืน
2.ความพร้อมของคนไทยในการใช้บริการด้านFintechทั้งบริการที่มีอยู่เดิมและบริการที่คิดคันขึ้นมาใหม่
3.ทำเลที่ตั้งของกรุงเทพที่เป็นศูนย์กลางในภูมิภาคและมีเชียงใหม่กับภูเก็ตเป็นหัวเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญ
4.ความหลากหลายของการใช้ชีวิตในวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ซึ่งรองรับทั้งการทำงานและการพักผ่อนหย่อนใจ
5.ความเป็นไทยที่เข้าได้กับทุกฝ่ายประสานงานกับชาติไหนก็ได้ลดความเสี่ยงด้าน Geopoltical Risk
ชลเดช กล่าวต่อว่า ภาครัฐและเอกชนต้องร่วมมือกันสร้าง Ecosystem ที่เอื้อต่อการเข้ามาตั้งสำนักงานและประกอบธุรกิจของบริษัท Fintech จากนานาชาติเริ่มตั้งแต่การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทแบบ Online One-stop Service ที่รวดเร็วและรองรับภาษาอังกฤษการเปิดบัญชีธนาคารแบบ Online สำหรับนิติบุคคลความสะดวกและข้อจำกัดที่น้อยลงสำหรับการจ้างงานชาวต่างชาติบริการที่ปรึกษาด้านบัญชีกฎหมายและใบอนุญาตจากหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง
ถ้าไทยเป็น Fintech Hub จริงๆ เราจะได้อะไร?
หากเราประสบความสำเร็จในการเชิญชวนบริษัทด้าน Fintech จากนานาชาติให้มาตั้งสำนักงานในไทยได้แล้วประโยชน์ทงตรงที่จะได้ คือเป็นเงินลงทุนจากต่างประเทศและการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นในระยะกลางเราจะเป็นแหล่งรวมของบุคลากรชั้นนำด้านFintechที่จะช่วยร้างเด็กรุ่นใหม่ในประทศ
สู่การเป็น Fintech Talent ในระดับโลกคนไทยที่ทำงานในต่างประเทศกับบริษัทชั้นนำมีโอกาสที่จะได้กลับมาทำงานที่บ้านเกิดเพื่อพัฒนประเทศในโอกาสต่อไป
ไทยเป็นจุดยุทธศาสตร์ของวงการคริปโทได้หรอ?
กวิน พงษ์พันธ์เดชา ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทาซซ่า จำกัด หรือ “Bitazza” เผยกับทางกรุงเทพธุรกิจถึง มุมมองอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลในไทยจะเติบโตมหาศาล และเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นจุดแข็งของประเทศสู่ศูนย์กลางตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล หรือ “คริปโทฮับ”ของภูมิภาคนี้
และมีความเป็นไปได้ที่จะสามารถแข่งขันกับฮ่องกงและสิงคโปร์ได้เลย ถึงขั้นที่ว่าหลายๆแพลตฟอร์มที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลและสามารถอยู่รอดได้เลือกสร้างโครงสร้างพื้นฐานในประเทศไทยเพื่อรอตลาดขาขึ้นในอนาคต
“มองว่าประเทศไทยoutperform กว่าประเทศอื่นๆ ทำให้บิทาซซ่าตั้งใจอยู่ในตลาดนี้ ส่วนตัวมีความหวังในอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลประเทศไทยที่สามารถไปต่อได้ และถือเป็น 1 ในประเทศผู้นำ จากอีโคซิสเต็มที่สมบูรณ์ จากทั้งรัฐบาลสนับสนุน การให้ความสนใจจากทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจ และ“ผู้ใช้บริการ” ที่ถือเป็นส่วนสำคัญที่สุด”