Bitkub มอง ESG กฏใหม่เกมธุรกิจ เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วย ‘กรีน ซัพพายเชน’

 Bitkub มอง ESG กฏใหม่เกมธุรกิจ เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วย ‘กรีน ซัพพายเชน’

ในอนาคตความยั่งยืน หรือ ESG อาจเป็นกฏใหม่ของโลก”ธุรกิจ”ทำให้เศรษฐกิจต้องขับเคลื่อนด้วย “กรีน ซัพพายเชน” ซึ่งเป็นข้อบังคับร่วมกัน ทั้งภาครัฐ เอกชน ผู้บริโภค ที่ต้องร่วมมือกัน

 จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด หรือ “บิทคับ” หนึ่งในผู้นำธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลไทย กล่าวในงาน “SUSTAINABILITY FORUM 2024” จัดโดย​ “กรุงเทพธุรกิจ” วันที่ 14 ธ.ค. 2566 มองว่าในปัจจุบันยังมีการถกเถียงถึง”นิยาม”ที่แท้จริงของ ESG ที่คนยังมีภาพจำเพียงแค่การบรรลุเป้าหมาย Net Zero เท่านั้น แต่ในความจริงแล้ว ESG สำหรับการดำเนินธุรกิจในระดับองค์กรมีความลึกซึ้งกว่ามาก

E มาจาก Environment ที่สังคมจะไม่เพียงแค่ Awareness หรือรับรู้ว่าตอนนี้ทั่วโลกมีเป้าหมายเพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน Net Zero Emissions เท่านั้น แต่จะเป็นการ Enforce หรือ “บังคับใช้” กฎหมายที่มีความเชื่อมโยงเกี่ยวกับ ESG ซึ่งคาดว่าภายใน 2-3 ปีกฎหมายเหล่านี้จะถูกบังคับใช้มากขึ้นทั้งอีโคซิสเตม ทำให้ธุรกิจใดที่ต้องการ “อยู่รอด” จะต้องเปิดโอกาสในการเปลี่ยนแปลงสู่สิ่งใหม่ๆ

และ S ที่ไม่ได้หมายถึง Social อย่างเดียว แต่หมายถึง Stake holders ที่ต้องมีความสามารถในการบริหารจัดการให้ทุกภาคส่วนมีความสมดุลเท่าเทียมกัน 

สุดท้าย G ที่มากกว่า Governance  ไม่เพียงแต่การดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใสเท่านั้น แต่จะต้องคำนึงถึง Data Privacy ความปลอดภัยของข้อมูลลูกค้าด้วย

ถือว่า ESG คือปรัชญาของการสร้างบริษัทและองค์การเพื่อเติบโตในระยะยาว ซึ่งมี 2 หลักสำคัญในการจัดการคือ

1.การจัดการความสมดุลของทุกภาคส่วนภายในองค์กร  และ

2.เข้าใจกฎหมายของเกมธุรกิจที่จะถูก “บังคับใช้” ซึ่งถ้ามามารถเปลี่ยนแปลงการทำงานให้เป็น ESG ได้ทุกขั้นตอนจะพบว่า ต้นทุนจะถูกลงอย่างมหาศาล 

ในอนาคตทุกอุตสาหกรรมจะถูกกดดันจากเทรนด์ ESG ที่ตอนนี้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงแล้ว เช่นการออกข้อบังคับในตลาดทุน ซึ่งในตอนนี้ตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงมีการออกข้อบังคับว่าจะต้องมีรายงานว่าตัวเองมีประโยชน์ต่อโลกแค่ไหน จนกลายเป็นการสร้างคุณค่าให้กับธุรกิจ 

นำไปสู่การทำรายงาน CSR ของบริษัททั้ง 3 ขั้นตอน ขั้นแรกคือการรายงาน และขั้นที่ 3 คือบริษัทที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์ ธุรกิจคู่ค้าแบบ B2B มี่ตะถูกกดดันเป็นทอดๆ 

     รวมทั้งระบบการเงินที่จะมีการเกิดขึ้นของสินทรัพย์ใหม่ๆที่เชื่อมโยงกับ Net Zero มากขึ้น จะมีการเกิดขึ้นของ Natural Assets Company สู่การลงทุนกองรีท( REIT)สำหรับธุรกิจธรรมชาติ และการเกิดขึ้นของอาชีพใหม่ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Green Taxonomy

     นอกจากการเตรียมพร้อมในระยะยาวสำหรับเศรษฐกิจไทยที่ต้องเปลี่ยนแปลงไปสู่ “กรีนซัพพลายเชนGreen supply Chain แล้วนั้น

ในระยะสั้น อย่างแรก ไทยต้องเรียกความเชื่อมั่นกลับมาสู่ตลาดทุนไทย เพื่อสร้างสภาพคล่องให้กับตลาด ถัดมาคือ ต้องแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนโดยเร็วที่สุด เพราะตอนนี้หนี้ครัวเรือนไทยอยู่ในระดับที่สูงมาก และสุดท้ายคือการเริ่มปลี่ยนแปลงประเทศให้เข้าสู่ “เศรษฐกิจดิจิทัล” และเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดเล็ก SME เพื่อสามารถแข่งขันกับระดับโลกได้