JPMorgan ฟันธง Bitcoin ร่วงแตะ 42,000 ดอลลาร์ หลังจาก halving เหตุขุดยากขึ้น
รายงานจากนักวิเคราะห์ JPMorgan เชื่อว่าราคาบิตคอยน์ Bitcoin อาจร่วงเหลือ 42,000 ดอลลาร์ หลังจาก halving ในเดือนเมษายน เนื่องจากอุตสาหกรรมการขุดที่ดุเดือดมากขึ้น และกดดันต้นทุนการผลิตลดลงเหลือ 42,000 ดอลลาร์
นักวิเคราะห์จากธนาคาร JPMorgan คาดการณ์ว่าราคาบิตคอยน์( Bitcoin) จะลดลงเหลือ 42,000 ดอลลาร์หลังการ halving ในช่วง เม.ย.นี้ โดยอ้างถึงผลตอบแทนจากการขุดที่ลดลงและต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น
Bitcoin Halving จะลดรางวัลของนักขุด Bitcoin ลงครึ่งหนึ่ง จากปัจจุบันทุกๆ 10 นาที นักขุดจะขุดได้ 6.25 BTC ต่อบล็อก เป็น 3.125 BTC และจะส่งผลเสียต่อความสามารถในการทำกำไรของนักขุด ซึ่งนั่นจะนำไปสู่ต้นทุนการผลิต Bitcoin ที่สูงขึ้น ตามที่ นิโคลอส ปานิกีร์โซกลู (Nikolaos Panigirtzoglou) นักวิเคราะห์ของ JPMorgan กล่าวในรายงาน
ทั้งนี้ ต้นทุนการผลิตบิตคอยน์นั้นมีอิทธิพลต่อราคาบิตคอยน์ ซึ่งนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าราคาบิตคอยน์ จะอยู่ที่ประมาณ 42,000 ดอลลาร์หลังการ halving
“ต้นทุนการผลิต bitcoin ทำหน้าที่เป็น lower bound ของราคา bitcoin” นักวิเคราะห์กล่าว
กล่าวคือ effective lower bound หมายถึง ต้นทุนการผลิต bitcoin เป็นตัวกดดันราคาบิตคอยน์ จนลงมาติดกับกรอบล่างไปแล้ว
อุตสาหกรรมการขุด Bitcoin ดุเดือด
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์กล่าวว่ามีความเป็นไปได้ที่ hashrate จะลดลง 20% หลังการ halving ซึ่งHash rate หมายถึง จำนวนพลังที่ใช้ในการขุดเหรียญใหม่ความปลอดภัยและการตรวจสอบธุรกรรมบนเครือข่ายของบิตอยน์ ซึ่ง hashrate ที่เพิ่มขึ้นนั้นบ่งบอกถึงมีนักขุดจำนวนเพิ่มมากขึ้นที่ต้องการในการรักษาความปลอดภัยของเครือข่ายนี่จึงเป็นสัญญาณในเชิงบวกของอุตสาหกรรมนี้
โดยสาเหตุหลักมาจากเครื่องขุดที่มีประสิทธิภาพน้อยลงที่โดนถอดออกเนื่องจากความสามารถในการทำกำไรที่ลดลง และสิ่งนี้จะลดจุดศูนย์กลางของช่วงต้นทุนการผลิตโดยประมาณที่ลงเหลือ 42,000 ดอลลาร์ โดยอิงจากค่าไฟฟ้าเฉลี่ย 0.05 ดอลลาร์ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง
หลังการ Halving นักขุด Bitcoin ที่มีต้นทุนไฟฟ้าต่ำกว่าค่าเฉลี่ย และมีอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าก็มีแนวโน้มที่จะอยู่รอด ในขณะที่ผู้ที่มีต้นทุนการผลิตสูงจะต้องดิ้นรนมากขึ้น
ดังนั้น ความเข้มข้นของอุตสาหกรรมการขุด Bitcoin คาดว่าจะเพิ่มขึ้นหลังการ Halving โดยจะมีส่วนแบ่งที่สูงขึ้นจากผู้ขุด Bitcoin ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เนื่องจากมีการลดต้นทุนเพื่อปกป้องความสามารถในการทำกำไร
อ้างอิง theblock