'บิตคอยน์' ถูกสร้างมาให้โตไปพร้อม'เงินเฟียต' อีกหนึ่งแรงส่งราคาสู่ยอดดอย
หรือ ซาโตชิ ออกแบบบิตคอยน์ให้เติบโตไปพร้อมกับวัฏจักรเศรษฐกิจ ? เทียบการเติบโตอันสอดคล้องระหว่าง M2 หรือปริมาณเงินในระบบ (Money Supply) กับ Halving Bitcoin ที่บ่งชี้ว่าเป็นแรงส่งให้ราคาบิตคอยน์พุ่งสู่ยอดดอยในแต่ละครั้ง
KEY
POINTS
- หรือ ซาโตชิ ออกแบบบิตคอยน์ให้เติบโตไปพร้อมกับวัฏจักรเศรษฐกิจ ?
- ความสอดคล้องของ Money Supply กับ Halving Bitcoin สะท้อนแรงส่งให้ราคาบิตคอยน์พุ่งสู่ยอดดอยในแต่ละครั้ง
ในอดีต ตลาดคริปโทเคอร์เรนซีได้ประโยชน์จากการเพิ่มการปริมาณเงินทั่วโลก เนื่องจากภาวะตลาดกระทิงหรือตลาดส่วนใหญ่ในอดีต มีความใกล้เคียงกับนโยบายทางการเงินของธนาคารกลาง นั่นคือการเพิ่มหรือลด ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจก็สอดคล้องไปกับวัฎจักรของการ Halving ของบิตคอยนด้วย
“ผศ.ดร.อุดมศักดิ์ รักวงษ์วาน” ผู้ร่วมก่อตั้งและที่ปรึกษา FWX (อดีต Forward) แพลตฟอร์ม DeFi และอาจารย์ภาควิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่า ปริมาณเงิน M2 เป็นอีกหนึ่งดัชนีที่เราต้องจับตามองสำหรับการเทรดบิตคอยน์ เมื่อการขึ้นของราคาบิตคอยน์ต้องอาศัยสภาพคล่องของเงินเฟียต (เงินที่ออกโดยรัฐบาล)
โดยปริมาณเงิน M2 เป็นตัวเลขที่วัดจำนวนเงินที่ไหลอยู่ในระบบ ซึ่งรวมทั้งเงินสด เงินที่อยู่ในบัญชีออมทรัพย์ และบัญชีฝากประจำที่ระยะเวลาน้อยกว่า 1 ปี
M2 คือ ปริมาณเงินในระบบ (Money Supply) ได้แก่ สินทรัพย์ทางการเงินที่ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเช่น เหรียญกษาปณ์, ธนบัตร, เงินฝากกระแสรายวัน เงินฝากออมทรัพย์ เงินฝากประจำ และสินทรัพย์สภาพคล่องทั้งหมดซึ่งเป็นตัวบ่งชี้สภาพคล่องเบื้องต้นในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งทิศทาง M2 ของสหรัฐฯ เป็นดัชนีชี้นำแนวโน้มเงินเฟ้อพื้นฐานสหรัฐฯ
หรือ ซาโตชิ ออกแบบบิตคอยน์ให้ตรงกับวัฏจักรเศรษฐกิจ ?
อุดมศักดิ์ เผยข้อมูลจากสถิติพบว่าปริมาณเงินในระบบก็มีวัฏจักรเช่นกัน ซึ่งวัฏจักรของมันตรงกับ 4 ปีของ บิตคอยน์ฮาล์ฟวิงพอดีจนถึงกับมีทฤษฎีที่ว่าหรือจริงๆ แล้วเหตุผลที่ซาโตชิ ผู้สร้างบิตคอยน์ออกแบบบิตคอยน์ให้มีการ Halving ทุก 4 ปี และเริ่มด้วยเวลานั้นๆ ก็เพราะต้องการให้มันตรงกับวัฏจักรของการเพิ่ม/ลดปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจเพื่อให้เป็นแรงส่งของราคา
อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงคาอนข้างสมเหตุสมผล เพราะเมื่อเงินในระบบมีมากขึ้น และต้นทุนถูก เงินเหล่านี้ ส่วนหนึ่งก็จะไหลเข้าไปในบิตคอยน์เป็นสินทรัพย์ที่มูลค่าขึ้นลงด้วยดีมานด์และซัพพลายเป็นหลัก ทำให้ดันราคาของบิตคอยน์ให้วิ่งขึ้นไปได้
"ปริมาณเงินรวม (total money supply, M2) ที่เพิ่มขึ้น สามารถผลักดันให้คริปโทเข้าสู่ภาวะกระทิงอีกครั้ง และช่วยให้มีประสิทธิภาพเหนือกว่าตลาดแบบดั้งเดิม "
ก่อนหน้านี้ ราอูล พอล (Raoul Pal)ผู้ก่อตั้ง Real Vision และอดีตผู้บริหาร Goldman Sachs กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างอุปทานตลาดเงินที่เพิ่มขึ้นและจุดเริ่มต้นของตลาดขาขึ้น
เมื่อเปรียบเทียบราคาบิตคอยน์ กับจำนวน global M2 money ในระบบ ซึ่งชี้ให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของ Bitcoin และ global M2 supply ไปพร้อมกัน สะท้อนว่าในอดีตนั้น ราคาบิตคอยน์และตลาดคริปโทเริ่มมีประสิทธิภาพเหนือกว่าตลาดทางการเงินแบบดั้งเดิม เมื่อเงินในระบบพิ่มขึ้น
อ้างอิง Cointelegraph Em Udomsak