แบงก์ชาติ เข็นนโยบายการเงิน-ระบบการเงิน หนุนเศรษฐกิจไทย สู่ smooth take off

แบงก์ชาติ เข็นนโยบายการเงิน-ระบบการเงิน หนุนเศรษฐกิจไทย สู่ smooth take off

แบงก์ชาติ ย้ำเสถียรภาพระบบการเงินไทย แข็งแกร่ง ระบบสถาบันการเงินเข้มแข็ง แจง เงินสำรองวูบ เงินบาทอ่อนค่าที่ระดับ 38บาทไม่ทำให้ประเทศขาดเสถียรภาพ ชี้ หากฝืนตลาดนำไปสู่ความเสี่ยง ย้ำภารกิจกดหนี้ครัวเรือนให้ลงสู่ระดับยั่งยืนที่ 80%

แบงก์ชาติ เข็นนโยบายการเงิน-ระบบการเงิน หนุนเศรษฐกิจไทย สู่ smooth take off        กรุงเทพธุรกิจจัดงานสัมนา Thailand Economic Outlook 2023  โดยมีนายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)   กล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “นโยบายด้านการเงินกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่ความยั่งยืน” โดยระบุว่า เสถียรภาพระบบการเงิน โดยรวมถือว่าอยู่ในระดับที่ดี สถานะการเงินของสถาบันการเงินต่างๆเข้มแข็ง

     ไม่ว่าจะดูในด้านเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง สภาพคล่อง หรือการสำรองที่ธนาคารต่างๆตั้งไว้ถือว่าอยู่ในระดับสูง ขณะที่หนี้เสีย หรือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ อยู่ในระดับที่ไม่น่าห่วง ซึ่งยอมรับว่าแนวโน้มคงเพิ่มขึ้นบ้าง แต่คงไม่สูงถึงขนาดเกิดหน้าผาเอ็นพีแอล จากมาตรการต่างๆที่มีออกมาช่วยลูกค้า 

แบงก์ชาติ เข็นนโยบายการเงิน-ระบบการเงิน หนุนเศรษฐกิจไทย สู่ smooth take off      นายเศรษฐพุฒิ กล่าวย้ำว่า โดยรวมเศรษฐกิจไทยปีหน้า ยังคงฟื้นตัวต่อเนื่อง แม้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง แต่การทำประมาณการของธปท. ที่คาดการณ์เศรษฐกิจปีหน้าขยายตัว 3.8% ได้มีการประเมินผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวอย่างมีนัยสำคัญไปแล้ว ที่อาจทำให้การส่งออกลดลงอย่างชัดเจน

       “ปีหน้าเศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวต่อเนื่อง จากอุปสงค์ในประเทศเป็นสำคัญ ที่มาจากนักท่องเที่ยวที่คาดว่าปีหน้าที่จะเพิ่มเป็น 21 ล้านคน จากปีนี้ที่กว่า 9 ล้านคน ยกเว้นเกิดโควิดกลายพันธ์ แม้ตลาดการเงินจะมีความผันผวนสูง แต่ด้วยเสถียรภาพด้านต่างประเทศของไทยค่อนข้างดี ทำให้มั่นใจว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยจะไม่สะดุด
 

แบงก์ชาติ เข็นนโยบายการเงิน-ระบบการเงิน หนุนเศรษฐกิจไทย สู่ smooth take off       ทั้งนี้ภายใต้บริบทเศรษฐกิจปัจจุบัน การดำเนินนโยบายการเงินของธปท. โจทย์ไม่ได้เปลี่ยน คือทำอย่างไรให้ เศรษฐกิจ เกิด Smooth take off ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งบริบทของไทยแตกต่างกับต่างประเทศ ทำให้การดำเนินนโยบายการเงินจึงต้องต่างจากต่างประเทศ ของต่างประเทศไม่ใช่การ Smooth take off แต่การทำอย่างไรให้เกิด Sofl landing ที่ต้องหาทางลง เพื่อให้เงินเฟ้อลดลง โดยที่เศรษฐกิจไม่กลับไปสู่ภาวะถดถอย

เศรษฐกิจไทยยังฟื้นช้า

     นายเศรษฐพุฒิ กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยวันนี้ ยังไม่กลับไปฟื้นตัวสู่ระดับก่อนโควิด-19 ดังนั้นการดำเนินนโยบายการเงินแบบต่างประเทศคงไม่เหมาะกับบริบทเศรษฐกิจไทย ซึ่งการดำเนินนโยบายการเงินที่เหมาะกับบริบทเศรษฐกิจไทย จึงต้อง Normalizetion ที่ต้องทำให้การดำเนินนโยบายการเงินกลับเข้าสู่ภาวะปกติ จากที่ผ่านมาที่ไม่ได้อยู่ในภาวะปกติ ดอกเบี้ยต่ำยาวนาน 

      ส่วนอีกด้านคือการ Normalizetion มาตรการทางการเงิน ที่ตอนเกิดโควิด มีการออกมาตรการการเงินแบบจัดเต็ม พักหนี้แบบปูพรหม แต่ของพวกนี้ทำนานไม่ได้ และมีผลข้างเคียง ดังนั้นจึงต้องพยายามปรับแบบค่อยเป็นค่อยไปให้เหมาะกับสถานการณ์ จากมาตรการปูพรหม มาสู่มาตรการที่ตรงจุดมากขึ้น เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะเจอปัญหา 

      โดยมีบางจุดที่ยังมีความเปราะบาง ทำให้ยังมีความจำเป็นที่ต้องมีมาตรการ 3 ก.ย. คือมาตรการปรับโครงสร้างหนี้อย่างยั่งยืน พักทรัพย์พักหนี้ การยกเลิกการจำกัดการจ่ายเงินปันผล และให้สถาบันการเงินกลับมาจ่ายเงินเข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟู(FIDF) กลับมาสู่ภาวะปกติ

       นายเศรษฐพุฒิ กล่าวว่า  ขอย้ำว่าความหมายของ Gradual and measured ค่อยเป็นค่อยไป ที่เหมาะกับสถานการณ์ ในทางปฏิบัติค่อยเป็นค่อยไป คือเราไม่เห็นความจำเป็นในการขึ้นดอกเบี้ยเร็วและแรง เหมือนที่สหรัฐทำ หรือฝั่งตะวันตกทำ เพราะบริบทเราไม่เหมือนเขา แต่ Measured คือเหมาะกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป  หากต่างจากที่คาด หรือหากสถานการณ์สะท้อนว่าเงินเฟ้อออกมาสูงกว่าที่คาด จำเป็นที่ต้องขึ้นดอกเบี้ยมากเป็นพิเศษ 0.25% ไปที่ 0.50% ทั้งหมดเพื่อให้การฟื้นตัวเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ให้เกิด Smooth take off

บริบทไทย แตกต่างกันต่างประเทศ

    ทั้งนี้การที่ประเทศไทย ขึ้นดอกเบี้ยช้าเกินไป น้อยเกินไปหรือไม่ ซึ่งดูจากที่ต่างประเทศขึ้นเร็ว เหตุผลหลักๆคือบริบทไทย แตกต่างกันต่างประเทศ ด้านแรกเงินเฟ้อที่เราเจอต่างกับต่างประเทศ ต่างประเทศเงินเฟ้อมาจากฝั่งอุปทาน ซัพพลายช็อค จากราคาน้ำมัน แต่เงินเฟ้อของไทยที่มาจากฝั่งดีมานด์แทบไม่เห็นในไทย ดังนั้นต่างกันสิ้นเชิงกับสหรัฐ สวนกับตลาดแรงงานสหรัฐที่ร้อนแรง ต้องปรับขึ้นค่าจ้างต่างๆแต่ภาพนี้ไม่เห็นในไทย

      สอง บริบทเศรษฐกิจ วัฏจักรเรายังไม่ฟื้น หากเทียบกับประเทศอื่นๆที่มีการขึ้นดอกเบี้ย หลังจากที่เศรษฐกิจเริ่มกลับไปสู่ระดับก่อนโควิดแล้ว แต่ของไทยยังไม่กลับไปสู่ระดับก่อนโควิด แต่มีการขึ้นดอกเบี้ยแล้ว สะท้อนว่า เราไม่ Behind the Curve ดังนั้นสิ่งที่เราเหมาะกับบริบทเศรษฐกิจไทย

      ดังนั้นโอกาสที่เครื่องยนต์เงินเฟ้อติด โอกาสที่จะเกิดขึ้นหากเทียบกับต่างประเทศถือว่าต่ำ ดังนั้นโอกาสเกิด wage price spiral เงินเฟ้อขึ้นค่าแรงสุง ตรงนี้ในไทยยังไม่เห็น สะท้อนโอกาสเห็นเครื่องยนต์ติดของไทยมีค่อนข้างน้อย ดังนั้นการขึ้นดอกเบี้ยต้อง ค่อยเป็นค่อยไป เหมาะสมกับสถานการณ์จึงเหมาะกับบริบทไทย

เงินบาทอ่อนไม่ได้สะท้อนไทยขาดเสถียรภาพ

     นายเศรษฐพุฒิ กล่าวว่า ในส่วนค่าเงินบาท หลักๆ การอ่อนค่าของเงินบาท มาจากการแข็งค่าของดอลลาร์ ธปท.ชี้เงินบาทอ่อนค่าที่ 38บาทต่อดอลลาร์ ไม่ได้สะท้อนประเทศขาดเสถียรภาพ เพราะเงินบาทอ่อนค่า มาจากดอลลาร์แข็งค่าเป็นปัจจัยหลักที่ควบคุมไม่ได้  ซึ่งยอมรับว่า ธปท.เข้าไปดูแลเงินบาท บางจังหวะเพราะไม่อยากเห็นความผันผวนเกินไป แต่ไม่ด้เข้าไปฝืนตลาด เพื่อให้อยู่ระดับที่ต้องการ เชื่อเงินบาทระดับ 38บาทต่อดอลลาร์ไม่ได้เป็นระดับที่ทำให้ประเทศขาดเสถียรภาพ

     นอกจากนี้ กรณีมีคำถามว่า ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสู่ทำให้เงินบาทอ่อนค่าหรือไม่ หลักๆการอ่อนค่าของเงินบาทมาจากการแข็งค่าของดอลลาร์ ที่ไม่สามารถคอนโทรลได้ จึงเป็นเหตุผลทำให้เงินบาทอ่อนค่า ไม่ได้มาจากเงินทุนเคลื่อนย้าย หรือเงินทุนไหลออก แต่มาจากการแข็ง

      "หากดูด้านเสถียรภาพด้านต่างประเทศของไทยถือว่าแข็งแกร่ง ทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ระดับสูง ที่ 2.3 แสนล้านดอลลาร์ เป็นอันดับที่ 12ของโลก ดังนั้นไม่มีข้อกังวลในด้านเสถียรภาพ”

     ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ค่าเงินบาทไม่ได้เคลื่อนไหวผิดเพี้ยนจากภูมิภาค เงินบาทเคลื่อนไหลอยู่กลางๆ ดังนั้นส่วนต่างดอกเบี้ยทำให้เงินบาทอ่อนค่า จากเงินทุนไหลออกหรือไม่ ไม่ เพราะปัจจุบันยังไม่เห็นเงินทุนไหลออกอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งปัจจุบันเงินทุนไหลเข้าไทยรวมแล้วอยู่ที่ 3.5พันล้านดอลาร์ แม้มีไหลออกบ้างในก.ย. ที่กว่า 600ล้านดอลลาร์ แต่ไม่ได้เป็นการไหลออกที่น่ากังวล หรือเป็นนัยสำคัญ

ไทยไม่ซ้ำรอยปี40

      นายเศรษฐพุฒิ กล่าวว่า ทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยที่ลดลง มาจากการที่สกุลอื่นๆในทุนสำรอง และเมื่อเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น จะทำให้มูลค่าสินทรัพย์เหล่านี้ลดลง แต่ถามว่าทางธปท.มีการเข้าไปดูแลค่าเงินบาทหรือไม่ เรามีจังหวะเพราะเราไม่ต้องการเห็นความผันผวนแรงเกินไปเร็วเกินไปในบางจังหวะ การเข้าไปไม่ได้เข้าไปเพื่อไปฝืนตลาด หรือยันให้อยู่ระดับที่เราต้องการ เพราะเรารู้ดีว่าทำไม่ได้  จากการอ่อนค่าของเงินบาทมาจากการแข็งค่าของดอลลาร์เป็นหลักเป็นเรื่องที่ควบคุมไม่ได้ และบทเรียนจากปี 2540 ชัดเจน ว่าอะไรที่ไปฝืนตลาดมากๆก็ทำให้มีความเสี่ยงสารพัดอย่าง     

     สำหรับหนี้ครัวเรือน ปัจจุบันอยู่ระดับสูง เพิ่มขึ้นมา 20%มาอยู่ที่ระดับเกือบ 90% หากเทียบกับ 10 ปีก่อน ดังนั้นการทำให้ Smooth take offเกิดขึ้น เรื่องที่ต้องทำที่เป็นเรื่องระยะยาว คือ หนี้ครัวเรือน ให้อยู่ในระดับที่ยั่งยืน ตามหลักสากลที่ชี้ว่าหนี้ครัวเรือนระดับยั่งยืนต้องอยู่ที่ระดับ 80% ดังนั้น สิ่งที่เราอยากเห็นคือ การทำให้หนี้ครัวเรือนมาอยู่ในระดับที่ยั่งยืนที่ 80% แต่เรื่องนี้ เป็นเรื่องที่แก้ได้ไม่เร็ว ต้องใช้เวลา และต้องทำอย่างถูกต้อง ครบวงจร ทั้งการแก้หนี้ลดลงหนี้ ทำให้ถูกหลักการ

      นอกจากนี้สิ่งที่ต้องทำต่อเนื่องให้ยั่งยืน คือการไปสู่ กระแสของ Green ความยั่งยืน ต้องเป็นกรีนกว่าเดิม หรือน้ำตาลให้น้อยลง เพราะหากเราไม่ทำเราจะไม่สามารถทำอะไรได้ เพราะตัวเลขฟ้องว่าไทยถูกผลกระทบจากภูมิอากาศและมาตรการตอบโต้จากประเทศพัฒนาแล้ว หรือมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดนของสหภาพยุโรป CBAM โดย 1 ใน 3 แรงงานไทยอยู่ในภาคเกษตร และการส่งออกเกือบ 50% อยู่ในชิ้นส่วนยานยนต์ อิเล็กทรอนิส์ และพลาสติกที่จะถูกระทบจาก และท่องเที่ยว 1 ใน 5 คิดเป็นสัดส่วนรายได้ 12% ของจีดีพี สิ่งเหล่านี้จะถูกกระทบหมด แต่บทบาทของธปท. คือ สนับสนุนภาคการเงินให้สามารถเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน

กำหนดทิศทางเป็นรูปธรรม

       นายเศรษฐพุฒิ กล่าวว่า การจะนำมาสู่การออก Direction Paper เรื่อง Green และจะออกมาเป็นรูปธรรมมากขึ้น เพื่อกำหนดทิศทาง กำหนดหลักเกณฑ์กติกาเพื่อหนุนภาคธุรกิจ สถาบันการเงินไปสู่กระแสกรีนมากขึ้น สุดท้ายคือ Digital เป็นเรื่องของการวางโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ เพื่อให้เกิดโอกาสใหม่ๆ เกิดขึ้น หน้าที่ของธปท.คือ การปูระบบนิเวศใหม่ ใหม่เอื้อให้เกิดสิ่งใหม่เกิดขึ้นผ่านการวางอินฟราสตรัคเจอร์ การวางโครงสร้างใหม่ๆ เพื่อเปิดโอกาสให้คนเข้าถึงดิจิทัลมากขึ้น