ธปท.พบลูกหนี้ กว่า 5 แสนบัญชี เข้าข่ายเป็น ‘หนี้เรื้อรัง

ธปท.พบลูกหนี้ กว่า 5 แสนบัญชี เข้าข่ายเป็น ‘หนี้เรื้อรัง

ธปท. เปิดมาตรการแก้หนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน อาทิ ปล่อยกู้อย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม และมาตรการแก้หนี้เรื้อรัง ที่ปิดจบหนี้ไม่ได้ใน5ปี ส่งผลดอกเบี้ยท่วมเงินต้น ชี้มีลูกหนี้ที่รายได้ต่ำกว่า 1-2หมื่นบาทต่อเดือน ส่อเป็นหนี้เรื้อรังกว่า 5 แสนบัญชี

          นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน กล่าวว่า ล่าสุด ธปท. ได้ออกมาตรการที่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจเพื่อดูแลหนี้ครัวเรือนให้ตรงจุดและยั่งยืนขึ้น โดยจะยกระดับมาตรฐานธุรกิจการให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ ตั้งแต่ก่อนเป็นหนี้ กำลังจะเป็นหนี้ ระหว่างเป็นหนี้ เมื่อหนี้มีปัญหา และเมื่อมีการขาย/ฟ้องหนี้ 
ได้แก่

        (1) หนี้เสีย ให้สามารถแก้ไขได้ 
        (2) หนี้เรื้อรัง ให้มีทางเลือกปิดจบหนี้ได้

         (3) หนี้ใหม่ ให้มีคุณภาพ ไม่กลายเป็นปัญหาในอนาคต และ 
          (4) หนี้นอกระบบ ให้มีโอกาสมากขึ้นที่จะเข้ามากู้ในระบบได้ โดยมาตรการที่จะเร่งบังคับใช้ก่อน คือ การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (responsible lending)

        โดยคาดจะมีผลบังคับใช้ได้ในม.ค. ปี 2567 ที่รวมถึงการดูแลหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt) ที่คาดมีผลเม.ย.ปีหน้าเช่นกัน 

        โดย หลักเกณฑ์การปล่อยสินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรมแก่ลูกหนี้ตลอดวงจรหนี้ ได้แก่  
ก่อน/กำลังจะเป็นหนี้ ต้องโฆษณาและเสนอขายผลิตภัณฑ์ โดยให้ข้อมูลที่ครบถ้วน ถูกต้อง ชัดเจน ไม่กระตุ้นให้ลูกหนี้เป็นหนี้เกินตัว 
ระหว่างเป็นหนี้ ส่งเสริมการให้ข้อมูลเงื่อนไขและคำเตือนที่ลูกหนี้ควรรู้ เพื่อกระตุกพฤติกรรมลูกหนี้ (nudge)

        รวมถึงสร้างเครื่องมือช่วยสนับสนุนให้ลูกหนี้มีวินัยทางการเงิน เช่น ทำระบบอัตโนมัติให้ลูกหนี้จ่ายชำระมากกว่าขั้นต่ำ เพื่อช่วยลดภาระดอกเบี้ยเมื่อลูกหนี้มีปัญหาชำระหนี้

        ต้องมีแนวทางช่วยเหลือที่เหมาะกับความสามารถใน
การชำระหนี้ของลูกหนี้ และ 
เมื่อจะดำเนินคดีและโอนขายหนี้ ต้องแจ้งสิทธิและข้อมูลสำคัญแก่ลูกหนี้ ไกล่เกลี่ยหนี้ ตลอดจนผู้รับโอนหนี้ต้องกำหนดเงื่อนไขการชำระหนี้อย่างเหมาะสม     

         ธปท.พบลูกหนี้ กว่า 5 แสนบัญชี เข้าข่ายเป็น ‘หนี้เรื้อรัง ถัดมาคือ มาตรการแก้หนี้เรื้อรัง ที่จ่ายดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

       โดยจะต้องให้ความช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลประเภทหมุนเวียน (revolving personal loan) ที่มีรายได้น้อยและเป็นหนี้เรื้อรัง ให้ปิดจบหนี้ได้ภายใน 5 ปี ด้วยอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 15% ต่อปี และมีเงินเหลือพอดำรงชีพ 

.     ทั้งนี้ ลูกหนี้ที่ประสงค์จะเข้าร่วมการปรับโครงสร้างหนี้ (opt-in) ต้องปิดวงเงิน revolving ดังกล่าว เพื่อไม่ก่อหนี้เพิ่ม และควรมีการรายงานประวัติข้อมูลเครดิตว่าลูกหนี้ได้ปรับโครงสร้างหนี้
      “มาตรการแก้ไขหนี้ครัวเรือน ธปท.หวังว่าจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ให้หนี้ครัวเรือน่ลดลงมาอยู่ระดับยั่งยืนได้ แต่เหล่านี้ต้องใช้เวลาและอาศัยการร่วมมือจากทุกภาคส่วน และหวังว่าเมื่อหนี้ครัวเรือนลดลง ครัวเรือนจะมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น”

        นางสาวสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน  ธปท.กล่าวว่า สำหรับมาตรการแก้หนี้เรื้อรัง ครอบคลุมเฉพาะสินเชื่อส่วนบุคคลที่เป็นวงเงินหมุนเวียนเท่านั้น ที่มีสถานะเป็นลูกหนี้ดี แต่จ่ายดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้นในช่วงที่ผ่านมา 
        โดยมาตรการนี้จะเป็นมาตรการสมัครใจ ที่ลูกหนี้สามารถเลือกเข้าโครงการได้ หรือไม่เข้าก็ได้ สำหรับลูกหนี้ที่มีรายได้ไม่เกิน 20,000บาทต่อเดือน สำหรับลูกหนี้ธนาคารพาณิชย์ และ ลูกหนี้ที่มีรายได้ต่ำกว่า 10,000บาทต่อเดือนสำหรับลูกหนี้ผู้ให้บริการทางการเงิน หรือนอนแบงก์ 
        ซึ่งมาตรการนี้จะเริ่มมีผลเม.ย. 2567 โดยนับตั้งแต่วันที่มาตรการมีผลบังคับใช้ ธนาคาร และนอนแบงก์ จะมีการส่งข้อความ แจ้งเตือน หรือติดต่อลูกหนี้ ทันที หากลูกหนี้ดังกล่าวเข้าข่ายเป็นหนี้เรื้อรัง และเป็นกลุ่มรายได้ที่กำหนด เพื่อเปิดทางเลือกให้ลูกหนี้ ชำระหนี้ต่อเดือนได้มากขึ้น เพื่อลดภาระดอกเบี้ย และสามารถออกจากหนี้เรื้อรังได้เร็วขึ้น
        และยื่นเงื่อนไข โดยการลดดอกเบี้ยให้ลูกหนี้ลดลงมาเหลือต่ำกว่า 15% เพื่อเร่งให้ลูกหนี้ปิดจบหนี้ได้ไม่เกิน 5 ปี นับจากวันเข้าโครงการ
        ซึ่งเชื่อว่าจะมีประโยชน์กับลูกหนี้ ทั้งลดภาระดอกเบี้ยลดลง และสามารถออกจากหนี้เรื้อรังได้รวดเร็วเช่น โดยยกตัวอย่าง กลุ่มลูกหนี้ ที่ไม่เข้าสู่มาตรการแก้หนี้เรื้อรัง หากต้องจ่ายต่อเดือนราว 3%ของยอดคงค้าง ไม่ต่ำกว่า 100บาทต่อเดือน สำหรับวงเงินต้น 15,000บาท พบว่า ลูกหนี้กลุ่มนี้จะปิดหนี้ได้ราว 18 ปี และต้องจ่ายดอกเบี้ยรวมกันประมาณ 29,000บาท 
        แต่ขณะเดียวกัน หากลูกหนี้เข้าสู่มาตรการ ลูกหนี้อาจจ่ายต่อเดือนเท่าเดิม หรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อยสำหรับ คนที่เงินต้นลดลงน้อย ราว 260 บาทต่อเดือน ซึ่งกลุ่มนี้จะปิดหนี้ได้เพียง 3.5 ปี แต่จ่ายดอกเบี้ยทั้งหมดเพียง 17,500 บาท ซึ่งกรณีนี้ดอกเบี้ยลดลงกว่า กลุ่มแรกถึง 11,500 บาทต่อเดือน 
        อย่างไรก็ตามลูกหนี้กลุ่มนี้ จะต้องมีประวัติ หรือติด Flag เป็นลูกหนี้กลุ่มเรื้อรัง บนฐานข้อมูลของเครดิตบูโร ดังนั้น มองว่า ลูกหนี้กลุ่มนี้อาจรับผลกระทบบ้างในช่วงแรก

     ส่วนนี้ ธปท.มีการหารือกับสถาบันการเงิน ไม่ใช่ว่าจะไม่ให้สินเชื่อเลย เนื่องจากกลุ่มนี้ ถือเป็นลูกหนี้ที่ดีมาโดยตลอด และต้องการเริ่มต้นใหม่ในการปิดจบหนี้ ส่วนจะให้สินเชื่อหรือไม่ ส่วนนี้เป็นดุลพินิจของแบงก์ในการพิจารณา 
          ทั้งนี้ หากดูข้อมูลลูกหนี้กลุ่มเรื้อรัง จากข้อมูลจากสถาบันการเงิน นอนแบงก์ พบว่า มีจำนวนหลายแสนบัญชี ซึ่ง น่าจะเกิน ซึ่งน่าจะเกิน 5 แสนบัญชี ที่เข้าข่ายเป็นหนี้เรื้อรัง 
และการที่มาตรการมุ่งเป้ามาตรการไปที่กลุ่ม รายได้ไม่เกิน 20,000บาทสำหรับสถาบันการเงิน และรายได้ไม่เกิน 10,000บาท สำหรับนอนแบงก์

     เนื่องจาก ธปท.ต้องพิจารณาถึง กลุ่มคนที่เดือดร้อนที่สุด และมีแนวโน้มเป็นหนี้เรื้อรังสูง ดังนั้นภายใต้ทรัพยากรจำกัด ธปท.จึงต้องช่วยเหลือกลุ่มที่เดือนร้อนที่สุดก่อน

     อย่างไรก็ตาม นอกจาก มาตรการแก้หนี้ครัวเรือนในข้างต้นแล้ว ธปท. ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาแนวทางการดูแลหนี้ครัวเรือนเพิ่มเติมควบคู่ไปด้วย ได้แก่ การทดสอบโครงการ Sandbox ในการกำหนดอัตราดอกเบี้ยตามความเสี่ยงของลูกหนี้ (risk-based pricing: RBP) และการกำหนดภาระหนี้ต่อรายได้ (debt service ratio: DSR)

     โดยมาตรการ RBP จะเป็นกลไกช่วยเพิ่มโอกาสให้ผู้กู้ที่มีความเสี่ยงสูงเกินกว่าเพดานดอกเบี้ยปัจจุบันสามารถเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้มากขึ้น 

      ขณะที่กลุ่มลูกหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำหรือมีประวัติการชำระหนี้ดี จะมีโอกาสได้รับอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลงกว่าเพดานดอกเบี้ยปัจจุบัน

.   ซึ่งจะช่วยส่งเสริมวัฒนธรรมด้านสินเชื่อที่ดี โดยจะยังไม่มีการยกเลิกหรือขยับเพดานดอกเบี้ยปัจจุบันเป็นการทั่วไป 
    ทั้งนี้ ในไตรมาส 2 ปี 2567 ธปท. จะให้ผู้ให้บริการที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด เข้าทดสอบการให้สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับที่มิใช่สินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน และสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกำกับ เป็นเวลา 1 – 2 ปี
        โดยผู้ให้บริการต้องเสนอระบบประเมินความเสี่ยงและรูปแบบการกระจายตัวของดอกเบี้ยในแต่ละกลุ่มลูกหนี้ให้ ธปท. พิจารณาก่อนเข้าทดสอบ และเมื่อผ่านการทดสอบ ผู้ให้บริการจึงจะให้สินเชื่อภายใต้เพดานดอกเบี้ยใหม่ได้

        โดย ธปท. จะกำหนดหลักเกณฑ์การออกจากโครงการ Sandbox ที่วัดความสำเร็จได้ชัดเจน
         สำหรับผู้ให้บริการที่ไม่ผ่านการทดสอบจะต้องกลับไปใช้เพดานดอกเบี้ยเดิม ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้ ธปท. จะดำเนินการอย่างรอบคอบเพื่อให้มั่นใจได้ว่ากลไกนี้จะเป็นประโยชน์กับลูกหนี้อย่างแท้จริง
       
  
      “สำหรับการคิดดอกเบี้ยตามความเสี่ยงผู้กู้ แม้ธปท.มีเพดานในใจว่า ดอกเบี้ยเพดานสูงสุดจะอยู่ที่เท่าไหร่แล้ว แต่ธปท.ขอดูโมเดลของแบงก์ และผู้ให้บริการทางการเงินที่ยื่นเข้ามาก่อน ว่าประเมินอย่างไร ดังนั้นหวังว่า หากผู้ปล่อยกู้คิดเพดานด้านบนสูง สำหรับกลุ่มเสี่ยงมาก แต่ก็หวังว่ากลุ่มที่เป็นลูกหนี้ดี กลุ่มนี้ดอกเบี้ยจะถ่างออก หรือลดลงมากเช่นกัน” 

      สำหรับมาตรการ DSR ถือเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางดูแลความเสี่ยงเชิงระบบ (macroprudential policy) เพื่อดูแลการก่อหนี้ใหม่ ลดการก่อหนี้เกินตัว ให้ลูกหนี้มีรายได้หลังชำระหนี้เพียงพอต่อการดำรงชีพ

.      ซึ่งในระยะแรกจะเริ่มใช้กับสินเชื่ออุปโภคบริโภคที่ไม่มีหลักประกัน (เช่น บัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ) ซึ่งเป็นศูนย์กลางของปัญหาหนี้ครัวเรือนก่อน อย่างไรก็ดี ผู้ให้บริการอาจพิจารณาให้สินเชื่อได้เกิน DSR ที่กำหนดได้

    หากแสดงให้เห็นได้ว่าลูกหนี้มีความสามารถเพียงพอที่จะชำระหนี้ เพื่อลดโอกาสที่ลูกหนี้บางส่วนอาจต้องออกไปนอกระบบ

      ในเบื้องต้น ธปท. มีแผนจะบังคับใช้มาตรการนี้ในปี 2568 โดยจะประเมินสถานการณ์และบริบททางเศรษฐกิจอีกครั้ง ซึ่งการบังคับใช้มาตรการ จะต้องสื่อสารล่วงหน้าให้ประชาชนและผู้ให้บริการมีเวลาในการปรับตัว
นอกจากการดำเนินการตามแนวทางแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนข้างต้นแล้ว การแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน ต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคส่วนอื่น เพื่อขยายผลไปยังหนี้ครัวเรือนที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับของ ธปท. ด้วย

     เช่น (1) การปลูกฝังให้ลูกหนี้มีความรู้และวินัยทางการเงิน (2) การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบของเจ้าหนี้ทุกประเภท (3) การมีกลไกให้คำปรึกษาและไกล่เกลี่ยหนี้เป็นระบบ และ 
      ธปท.พบลูกหนี้ กว่า 5 แสนบัญชี เข้าข่ายเป็น ‘หนี้เรื้อรัง (4) การวางรากฐานให้กับประเทศ ทั้งการพัฒนาฐานข้อมูลเครดิตและข้อมูลทางเลือกที่ใช้ประเมินและติดตามหนี้ ตลอดจนการสร้างรายได้ไปพร้อมกับการแก้ปัญหาหนี้