‘เศรษฐพุฒิ’ ย้ำดอกเบี้ยที่ 2.50% เหมาะสมกับระดับศักยภาพเศรษฐกิจไทย

‘เศรษฐพุฒิ’ ย้ำดอกเบี้ยที่ 2.50% เหมาะสมกับระดับศักยภาพเศรษฐกิจไทย

ผู้ว่าธปท. ย้ำ การขึ้นดอกเบี้ยมาสู่ 2.50% เป็นระดับที่เหมาะสมกับระดับศักยภาพระยะยาวของประเทศไทย และเป็นจุดที่ดอกเบี้ยเข้าสู่ระดับ Neutral rate แล้ว ชี้การขึ้นดอกเบี้ย เป็นการมองไปข้างหน้า จากความเสี่ยงเงินเฟ้อที่อาจเร่งตัวขึ้น

      นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ  ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า  การดำเนินนโยบายการเงินของกนง.ในช่วงที่ผ่านมา คือการดำเนินนโยบายการเงินแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อรักษา Smooth Takeoff เพราะเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้ากว่าประเทศในภูมิภาค 
แต่ปัจจุบัน

        สิ่งที่กนง.พยายามสื่อสารมาโดยตลอด คือ ถึงเวลาที่การดำเนินนโยบายการเงิน ต้องเปลี่ยนไปสู่การ Landing หรือการลงจอดอย่างเหมาสม เรียบร้อย มีเสถียรภาพ  ซึ่งการ ลงจอดอย่างมีเสถียรภาพ  ไม่ใช่ดูเพียงปัจจัยระยะสั้น แต่ต้องเหมาะสมกับภาพระยะยาว เหมาะสมกับระดับศักยภาพระยะยาวกับเศรษฐกิจหรือไม่ด้วย  

        ซึ่งระดับที่เหมาะสมนี้ คือการที่ดอกเบี้ยเข้าสู่ระดับ Neutral rate ที่เหมาะสมกับศักยภาพเศรษฐกิจในระยะยาว ไม่ใช่การเหยียบคันเร่ง หรือเหยียบเบรก  

        ควบคู่ไปกับการพิจารณาจาก 3ประเด็นหลัก คืออัตราการเติบโตของเศรษฐกิจอยู่ในระดับศักยภาพ โดยจีดีพีเติบโตระดับ 3-4% ขณะที่เงินเฟ้อต้องอยู่ในกรอบอย่างยั่งยืน และอยู่ในกรอบเป้าหมายที่ 1-3% และสุดท้าย คือ การที่ไม่สร้างความไม่สมดุลด้านการเงิน 

     อีกทั้ง การที่ดอกเบี้ยไทยต่ำมานาน 0.5% ทำให้เกิดหนี้ครัวเรือน ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และพฤติกรรมการแสวงหาผลตอบแทนหรือ Search for Yield การดำเนินนโยบายการเงินยึดหลักมองไปข้างหน้า
      ส่วนการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของกนง.ที่ผ่านมา ท่ามกลางการปรับจีดีพีของเศรษฐกิจไทยลดลง และเงินเฟ้อที่ลดลง เนื่องจาก การดำเนินนโยบายการเงิน ต้องดูแลเรื่องระยะยาวด้วย ไม่ได้ดูเฉพาะปัจจัยระยะสั้นๆ 
      และการดำเนินนโยบายการเงิน ต้องคำนึงถึงสถานการณ์ข้างหน้า ไม่ใช่เพื่อต้องการสกัด  เพราะผลของการดำเนินนโยบายการเงิน กว่าจะเห็น ต้องใช้เวลา ดังนั้นสิ่งที่ธปท.พยายามสื่อสารคือ การทำนโยบายการเงิน ต้องดู Outlook Dependent มากกว่า Data Dependent 
     “การดำเนินนโยบายการเงิน หากเรายึดเฉพาะ Data Dependent การดำเนินนโยบายก็จะมีความไม่เสถียร และผันผวน เหมือนเราขับรถ โดยดูเฉพาะกระจกรถข้างหลัง แทนที่จะมองไปข้างหน้า ก็อันตรายไม่เหมาะสม เสี่ยง ทำให้เกิด Noise เยอะ ดังนั้นจึงต้องยึด Outlook มากกว่า Data dependent  เพราะวันนี้โลกผันผวนมากอยู่แล้ว เราไม่ต้องการให้เราเป็นแหล่งที่ทำให้เกิดความผันผวนขึ้นไปอีก ไม่ต้องการทำให้ Policy ของเรายิ่งเพิ่มความไม่แน่นอน เพิ่มความผันผวนให้ตลาดไปอีก เพราะวันนี้ก็ผันผวนมากอยู่แล้ว” 

การขึ้นดอกเบี้ยสู่2.50%เป็นระดับเหมาะสม
    อย่างไรก็ตาม สำหรับการขึ้นดอกเบี้ยของกนง. มาสู่ 2.50% ที่ระบุในรายงานกนง. ว่า การดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่านมา เป็นอัตราที่เหมาะสม Pause for a white เป็นการพักดอกเบี้ยไประยะหนึ่ง เป็นจุดที่เหมาะกับระดับ Neutral rate แล้ว 
         แต่ หากแนวโน้มข้างหน้า เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ จากการคาดการณ์ไว้ ทั้งจีดีพี เงินเฟ้อ และเสถียรภาพระบบการเงิน อย่างมีนัยสำคัญ กนง.ก็พร้อมปรับเปลี่ยนนโยบายการเงิน 
    “แต่จะฟันธงไม่ได้ ว่าจบรอบขึ้นดอกเบี้ยแล้ว เพราะในการประชุมกนง.เราก็มี แต่ หากสถานการณ์เปลี่ยนไปจากที่มองไว้ เราก็พร้อมปรับนโยบายให้สอดคล้องระยะต่อไป แต่อัตราดอกเบี้ยที่ 2.50% เป็นเรทที่คิดว่า ไม่ตึงเกินไป เป็นเรทที่เป็นจุด neutral  ที่ดอกเบี้ยที่แท้จริงอยู่ราว 0.5%  แม้การขึ้นดอกเบี้ย ลูกหนี้อาจไม่ชอบ และหากดูอัตราดอกเบี้ยปัจจุบัรนถือว่าเราต่ำสุดในภูมิภาคแล้ว หากเทียบกับมาเลเซียที่ 3% เกาหลี 3.5% และอินโด ฟิลลิปปินส์ที่5-6%” 
    
ห่วงเงินเฟ้อเร่งตัว
        อย่างไรก็ตาม หากดูจาก 3ปัจจัย ทั้งเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ เสถียรภาพระบบการเงิน ด้านเศรษฐกิจ วันนี้ ธปท.เชื่อว่า ยังมีการฟื้นตัวได้ต่อเนื่องเป็นสิ่งที่ธปท.มั่นใจ จากการบริโภคที่เติบโตได้ดี บวกกับมาตรการรัฐที่จะเข้ามา จะเป็นส่วนหนุนเศรษฐกิจให้เติบโตต่อเนื่องได้ ดังนั้นความกังวลต่อประเด็นเศรษฐกิจมีไม่มาก 

        ขณะที่ปัจจัยเงินเฟ้อทั่วไป คาดว่าปีหน้าจะอยู่ที่ 1.6% ถือว่ายังอยู่ในกรอบ แต่ถามว่าธปท.ห่วง กังวลปัจจัยเงินเฟ้อในระยะข้างหน้าใช่หรือไม่ ใช่ เพราะ มีความเสี่ยงที่เงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นในระยะข้างหน้า โดยเฉพาะจาก แอลนีโญ่ ที่มาแรงกว่าคาด ซึ่งมีผลต่อตระกร้าเงินเฟ้อค่อนข้างมาก นอกจากนี้ยังมาจากราคาน้ำมัน ที่ปัจจุบันปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง ดังนั้นโอกาสที่ฝั่ง  cost push ฝั่งซัพพลายมีค่อนข้างสูง รวมไปถึงนโยบายการปรับขึ้นค่าแรง และนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ที่จะมีผลที่ทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น
        นอกจากนี้ ขอย้ำว่า การดำเนินนโยบายการเงินของกนง. ไม่ได้คำนึงถึงเฉพาะ ปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งเท่านั้น แต่ประเด็นที่กังวลคือ ความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ แม้ธปท.จะมีการนำมารวมอยู่ในประมาณการณ์อยู่แล้ว แต่หากปัจจัยข้างต้น เกิดขึ้นพร้อมๆกัน โอกาสที่จะเห็นผลกระทบที่ส่งผ่านมาสู่เงินเฟ้อจะสูงกว่าคาดได้ 
ขึ้นดอกเบี้ยไม่ใช่สกัดเงินบาทอ่อนค่า-เงินไหลออก
        ส่วน ปัจจัย ค่าเงินบาท ไม่ใช่ หนึ่งในเป้าหมายหลักของธปท. ในการตัดสินเรื่องดอกเบี้ย แต่ต้องยอมรับว่า เป็นปัจจัยหนึ่ง ที่กระทบต่อด้านเสถียรภาพ และกระทบต่อเงินเฟ้อ ดังนั้นการขึ้นดอกเบี้ย ไม่ใช่เพื่อต้องการสกัดการอ่อนค่าของค่าเงินบาท 
    แต่ระยะหลังๆ ค่าเงินบาทผันผวนมากกว่าปกติ ปัจจัยแรกมากจาก ปัจจัยภายนอก ที่ทำให้ค่าเงินบาทมีความผันผวน จากการเคลื่อนไหวของค่าเงินดอลลาร์ จากการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)

     นอกจากนี้ ยังมาจาก เศรษฐกิจจีนที่ผันผวน เนื่องจากเศรษฐกิจไทยมีความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจจีนค่อนข้างมาก และสุดท้าย ปัจจัยทองคำ จากการที่คนไทยซื้อขายทองค่อนข้างมาก เหล่านี้มีผลต่อการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทค่อนข้างมาก 
      นอกจากนี้ เรายังมีปัจจัยเฉพาะหลังเลือกตั้ง และการจัดตั้งรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมา ที่ทำให้ความเชื่อมั่นถูกกระทบบ้างในช่วงหลัง เหล่านี้ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทอ่อนค่าเป็นหลัก