เจาะลึก! โครงการ e-Refund และเงื่อนไขการซื้อสินค้าเพื่อ 'ลดหย่อนภาษี'

เจาะลึก! โครงการ e-Refund และเงื่อนไขการซื้อสินค้าเพื่อ 'ลดหย่อนภาษี'

ทำความเข้าใจโครงการ e-Refund ลดหย่อนภาษีสูงสุด 50,000 บาท มีเงื่อนไขเป็นอย่างไร ใครบ้างที่สามารถช้อปสินค้าและบริการแล้วนำมาลดหย่อนได้บ้าง

สืบเนื่องจากโครงการแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ได้มีข้อสรุปสำหรับผู้ที่จะได้รับสิทธิเงินดิจิทัลนี้ ว่าต้องมีคุณสมบัติและเงื่อนไขคือ

- ต้องเป็นผู้ที่มีรายได้ไม่เกิน 70,000 บาท
- ต้องมีเงินฝากน้อยกว่า 500,000 บาท

ดังนั้น กรณีผู้มีรายได้น้อยกว่า 70,000 บาท แต่มีเงินฝากเกิน 500,000 บาท ก็จะไม่สามารถเข้าร่วมสิทธิเงินดิจิทัล 10,000 บาทได้ หรือมีรายได้มากกว่า 70,000 บาท แต่มีเงินฝากในธนาคารน้อยกว่า 500,000 บาท ก็ไม่สามารถเข้าร่วมสิทธิได้เช่นกัน

แต่ใช่ว่าผู้ที่ไม่เข้าเงื่อนไขที่จะได้รับเงินดิจิทัล 10,000 บาท จะไม่ได้รับสิทธิอะไรเลย เพราะรัฐได้มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอื่นมาช่วย กับโครงการ e-Refund ซื้อสินค้านำมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท โดยจะมีเงื่อนไขเป็นอย่างไร ใครบ้างที่สามารถช้อปสินค้าและบริการแล้วนำมาลดหย่อนได้บ้าง ไปศึกษาพร้อมกัน ดังนี้

  • ทำความรู้จัก “e-Refund” คืออะไร

e-Refund หรือการขอคืนภาษี เป็นสิทธิที่ผู้เสียภาษีสามารถทำได้ หากถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายระหว่างปีมากกว่ามูลค่าภาษีที่ตัวเองต้องจ่ายจริง โดยเมื่อมีการคำนวณภาษีและพบว่ามีภาษีที่ได้จ่ายไว้เกิน และต้องการขอคืนภาษี หลังจากยื่นภาษีไปแล้ว กรมสรรพากรก็จะพิจารณาตามเงื่อนไข และคืนเงินภาษีบางส่วนที่เกินกว่าที่จ่ายจริงกลับมาให้ผู้มีรายได้

ทั้งนี้ สามารถเช็กได้ว่าผู้มีรายได้มีภาษีที่สามารถขอคืนได้เท่าไหร่ โดยวิธีการคือหลังจากที่ยื่นภาษี ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 ตามประเภทรายได้ที่ได้รับ ผ่านเว็บของกรมสรรพากร ซึ่งจะสามารถยื่นภาษีประจำปีได้ช่วงประมาณเดือนมกราคม – เมษายน ของทุกปีแล้ว

โดยขั้นตอนสุดท้ายของการยื่นภาษีจะมีข้อความว่าสามารถขอคืนได้เท่าไหร่ในช่องของ “ยอดภาษีสุทธิชำระไว้เกิน” ก็จะทำให้ทราบภาษีที่จ่ายไว้เกินได้ จากนั้นหน้าเว็บไซต์จะถามว่า “ต้องการขอคืนภาษีที่ชำระไว้เกิน” และหากต้องการขอคืนก็กดตกลงได้เลย

  • ทำความเข้าใจ "โครงการ e-Refund"

สำหรับ “โครงการ e-Refund” หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ โครงการ Easy e-receipt แต่เรียกกันคุ้นหูว่า e-Refund นั้น เป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงต้นปี และเพื่อรองรับสำหรับผู้ที่มีรายได้เข้าเกณฑ์ต้องเสียภาษี รวมถึงกลุ่มคนที่มีรายได้สูงที่มีอยู่ถึง 20% ที่ไม่ได้รับเงินดิจิทัล 10,000 บาท ก็จะสามารถเข้าร่วมโครงการ e-Refund นี้ได้

โดยโครงการ e-Refund ผู้มีรายได้ถึงเกณฑ์เสียภาษี สามารถนำค่าใช้จ่ายจากการซื้อสินค้าและบริการสูงสุด 50,000 บาท มาลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ตามเกณฑ์รายได้สูงสุดที่อัตรา 35% หากใช้สิทธิลดหย่อน 50,000 บาท จะได้เงินคืนภาษีสูงสุดถึง 17,500 บาท/คน แต่ส่วนใหญ่จะอยู่ที่อัตรา 20% คือ 10,000 บาท/คน

  • คุณสมบัติและเงื่อนไข E-Refund ซื้อสินค้าและบริการเพื่อใช้ลดหย่อนภาษี

​เนื่องจากโครงการ e-Refund เป็นโครงการของรัฐบาลที่กระตุ้นเศรษฐกิจ สนับสนุนช่วยเหลือประชาชน และร้านค้าที่เข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax invoice) ดังนั้น เงื่อนไขและคุณสมบัติสำหรับโครงการ e-Refund หลักๆ จึงประกอบด้วย ดังนี้  ​

​- ผู้สามารถใช้สิทธิ์โครงการ e-Refund คือผู้มีรายได้ที่ถึงเกณฑ์เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทุกคน  
​- รองรับผู้ที่มีรายได้ทั้งที่เกินและไม่เกิน 70,000 บาท
​- มีเงินฝากในบัญชีเกิน 500,000 บาท
​- ผู้ที่รับเงินโครงการเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ยังสามารถเข้าร่วมโครงการ e-Refund เพื่อลดหย่อนภาษีได้
​- ซื้อสินค้าจากร้านค้าที่อยู่ในฐานระบบภาษี ที่สามารถออกใบกำกับภาษีในรูปอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น
​- นำใบกำกับภาษีจากการซื้อสินค้าและบริการ มูลค่าไม่เกิน 50,000 บาท มาลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

  • หลักการคำนวณลดหย่อนภาษี "โครงการ e-Refund"

หลักการคำนวณลดหย่อนภาษีสำหรับ “โครงการ E-Refund” นี้ ผู้ที่ซื้อสินค้าและบริการมูลค่า 50,000 บาท จะสามารถนำมาลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ตามเกณฑ์รายได้สูงสุดอัตรา 35%

กล่าวคือหากใช้สิทธิลดหย่อนเต็มจำนวน 50,000 บาท อัตราภาษีที่ต้องเสีย 35% จะได้คืนภาษีสูงสุดถึง 17,500 บาท/คน แต่ส่วนใหญ่จะอยู่ที่อัตรา 20% คือ 10,000 บาท/คน อัตราภาษีต่ำสุดที่ 5% จะได้เงินคืนภาษีสูงสุด 2,500 บาท ​

หรือหากใช้สิทธิลดหย่อนแค่ 10,000 บาท อัตราภาษีที่ต้องเสียอยู่ที่ 35% ก็จะได้คืนภาษี 3,500 บาท อัตราภาษีต่ำสุดที่ 5% จะได้เงินคืน 500 บาท ดังนี้

เจาะลึก! โครงการ e-Refund และเงื่อนไขการซื้อสินค้าเพื่อ \'ลดหย่อนภาษี\'

รายได้สุทธิ​​​ 0 – 150,000 บาท ​​

ได้รับยกเว้นภาษี

รายได้สุทธิ 150,001 – 300,000 บาท : อัตราภาษี 5%

  • กรณีใช้จ่าย 10,000 บาท​ ภาษีที่ได้คืน 500 บาท
  • กรณีใช้จ่าย 20,000 บาท ภาษีที่ได้คืน ​1,000 บาท​​
  • กรณีใช้จ่าย 30,000 บาท​ ภาษีที่ได้คืน ​1,500 บาท
  • กรณีใช้จ่าย ​40,000 บาท​ ภาษีที่ได้คืน ​2,000​ บาท
  • กรณีใช้จ่าย ​50,000 บาท​ ภาษีที่ได้คืน 2,500 บาท

รายได้สุทธิ 300,001 – 500,000 บาท : อัตราภาษี 10%

  • กรณีใช้จ่าย 10,000 บาท​ ภาษีที่ได้คืน ​​1,000​ บาท
  • กรณีใช้จ่าย 20,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 2,000​ บาท​​
  • กรณีใช้จ่าย 30,000 บาท​ ภาษีที่ได้คืน 3,000​ บาท
  • กรณีใช้จ่าย ​40,000 บาท​ ภาษีที่ได้คืน 4,000​ บาท
  • กรณีใช้จ่าย ​50,000 บาท​ ภาษีที่ได้คืน 5,000 บาท

รายได้สุทธิ​​​ 500,001 – 750,000 บาท บาท : อัตราภาษี 15%

  • กรณีใช้จ่าย 10,000 บาท​ ภาษีที่ได้คืน 1,500 บาท
  • กรณีใช้จ่าย 20,000 บาท ภาษีที่ได้คืน ​3,000​ บาท​​
  • กรณีใช้จ่าย 30,000 บาท​ ภาษีที่ได้คืน 4,500​ บาท
  • กรณีใช้จ่าย ​40,000 บาท​ ภาษีที่ได้คืน 6,000​ บาท
  • กรณีใช้จ่าย ​50,000 บาท​ ภาษีที่ได้คืน 7,500 บาท

รายได้สุทธิ​​​ 750,001 – 1 ล้านบาท : อัตราภาษี 20%

  • กรณีใช้จ่าย 10,000 บาท​ ภาษีที่ได้คืน 2,000 บาท
  • กรณีใช้จ่าย 20,000 บาท ภาษีที่ได้คืน ​4,000​ บาท​​
  • กรณีใช้จ่าย 30,000 บาท​ ภาษีที่ได้คืน 6,000​ บาท
  • กรณีใช้จ่าย ​40,000 บาท​ ภาษีที่ได้คืน 8,000​ บาท
  • กรณีใช้จ่าย ​50,000 บาท​ ภาษีที่ได้คืน 10,000 บาท

รายได้สุทธิ​​​ 1,000,000 - 2,000,000​​ บาท : อัตราภาษี 25%

  • กรณีใช้จ่าย 10,000 บาท​ ภาษีที่ได้คืน ​​2,500​ บาท
  • กรณีใช้จ่าย 20,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 5,000​ บาท​​
  • กรณีใช้จ่าย 30,000 บาท​ ภาษีที่ได้คืน 7,500​ บาท
  • กรณีใช้จ่าย ​40,000 บาท​ ภาษีที่ได้คืน 10,000​ บาท
  • กรณีใช้จ่าย ​50,000 บาท​ ภาษีที่ได้คืน 12,500 บาท

รายได้สุทธิ​​​ 2,000,000 - 5,000,000​​ บาท อัตราภาษี 30%

  • กรณีใช้จ่าย 10,000 บาท​ ภาษีที่ได้คืน 3,000​ บาท
  • กรณีใช้จ่าย 20,000 บาท ภาษีที่ได้คืน 6,000​ บาท​​
  • กรณีใช้จ่าย 30,000 บาท​ ภาษีที่ได้คืน 9,000 บาท
  • กรณีใช้จ่าย ​40,000 บาท​ ภาษีที่ได้คืน​ 12,000​ บาท
  • กรณีใช้จ่าย ​50,000 บาท​ ภาษีที่ได้คืน 15,000 บาท

รายได้สุทธิ​​​ 5,000,000 บาท : อัตราภาษี 35%

  • กรณีใช้จ่าย 10,000 บาท​ ภาษีที่ได้คืน ​​3,500 บาท
  • กรณีใช้จ่าย 20,000 บาท ภาษีที่ได้คืน ​7,000 บาท​​
  • กรณีใช้จ่าย 30,000 บาท​ ภาษีที่ได้คืน ​10,500​ บาท
  • กรณีใช้จ่าย ​40,000 บาท​ ภาษีที่ได้คืน 14,000 บาท
  • กรณีใช้จ่าย ​50,000 บาท​ ภาษีที่ได้คืน ​17,500​​ บาท

โดยผู้มีรายได้ที่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี เมื่อนำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์มายื่นลดหย่อนภาษีแล้ว หากมีภาษีที่ชำระไว้เกิน ทางกรมสรรพากรจะดำเนินการคืนเงินภาษีให้ผ่านระบบพร้อมเพย์
 
สรุป...เริ่มเมื่อไหร่ ใครมีสิทธิ์บ้าง

เบื้องต้นสำหรับโครงการ e-Refund จะเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 - วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 รวมเป็นเวลาทั้งหมด 45 วัน โดยประชาชนสามารถนำค่าใช้จ่ายจากการซื้อสินค้าและบริการตามส่วนที่จ่ายจริงไปไปหักลดหย่อยภาษี รวมไม่เกิน 50,000 บาท โดยการซื้อสินค้าและบริการที่จะสามารถ E-Refund ได้ จะต้องมีใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น

ทั้งนี้ ทุกคนที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ต้องต้องเสียภาษีสามารถใช้สิทธิ์ได้ทุกคน รวมถึงกลุ่มมนุษย์เงินเดือนก็สามารถซื้อสินค้าและบริการมูลค่าไม่เกิน 50,000 บาท ที่มีใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์มาช่วยลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน ซึ่งนำไปยื่นลดหย่อนภาษีได้ในช่วงปี พ.ศ.2568

แต่อย่างไรก็ตาม ยังอาจมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขต่างๆ ดังนั้น ผู้ที่สนใจต้องรอดูต่อไปว่านโยบาย e-Refund จะมีเงื่อนไขอะไรออกมาเพิ่มเติมอีกบ้างหรือไม่

 

อ่านบทความน่ารู้เกี่ยวกับภาษีเพิ่มเติม คลิกที่นี่
Source : Inflow Accounting