ทำงานทั้งปี เงินเดือน โบนัส ที่ได้ ต้องเสีย 'ภาษี' เท่าไหร่บ้าง

ทำงานทั้งปี เงินเดือน โบนัส ที่ได้ ต้องเสีย 'ภาษี' เท่าไหร่บ้าง

มนุษย์เงินเดือนรู้ไหม เงินเดือนที่ได้รับอยู่ทุกเดือน รวมถึงโบนัส สวัสดิการต่างๆ ที่แต่ละคนได้รับ เช่น ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าล่วงเวลา (OT) ค่าเดินทาง เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ รวมแล้วต้องเสียภาษีกันกี่บาท?

เหล่ามนุษย์เงินเดือนเคยรู้บ้างหรือไม่ว่า เงินเดือนที่ได้รับอยู่ทุกเดือน รวมถึงโบนัส สวัสดิการต่างๆ ที่ได้รับ ของแต่ละคน เช่น ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าล่วงเวลา (OT) ค่าเดินทาง เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ รวมแล้วต้องเสียภาษีกันกี่บาท?

เพราะหลายคนอาจทราบแค่ว่าได้รับเงินเดือนมาต้องยื่นภาษี บางคนก็ถูกหักไปแล้วในแต่ละเดือน ได้เงินมาเท่าไหร่ก็ใช้เท่านั้น ไม่รู้ต้องจัดการกับภาษีอย่างไรต่อ หรือหากต้องยื่นแต่ไม่ต้องเสียภาษีก็อาจลืมวางแผนภาษีไป ทำให้หลายรายเงินเดือนทั้งเดือนหมดไปกับการเสียภาษีโดยไม่รู้ตัว

ทำงานทั้งปี เงินเดือน โบนัส ที่ได้ ต้องเสีย \'ภาษี\' เท่าไหร่บ้าง

ดังนั้น พนักงานเงินเดือนทั้งหลาย ควรวางแผนภาษีและใช้สิทธิลดหย่อนภาษีตามที่กรมสรรพารกำหนดให้ครบถ้วน เพื่อให้มีเงินเหลือเก็บไว้ใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้น

โดยวันนี้ลองมาคำนวณภาษีที่ต้องเสียต่อปีกันว่า เงินเดือนทั้งปีของคุณที่ได้รับ ต้องเสียเป็นค่าภาษีเท่าไหร่กันบ้าง...  

ตารางอัตราภาษีก้าวหน้า

  • ขั้นที่ 1 ​รายได้สุทธิ 1 - 150,000 บาท ​​ได้รับการยกเว้น
  • ขั้นที่ 2​ รายได้สุทธิ 150,001 - 300,000 ​​บาท อัตราภาษี 5% (ภาษีสูงสุดของขั้น 7,500 บาท)
  • ขั้นที่ 3​ รายได้สุทธิ 300,001 - 500,000 ​​บาท อัตราภาษี 10% (ภาษีสูงสุดของขั้น 20,000 บาท)
  • ขั้นที่ 4​ รายได้สุทธิ 500,001 - 750,000 ​​บาท อัตราภาษี 15% (ภาษีสูงสุดของขั้น 37,500 บาท)
  • ขั้นที่ 5​ รายได้สุทธิ 750,001 - 1,000,000 ​​บาท อัตราาภาษี 20% (ภาษีสูงสุดของขั้น 50,000 บาท)
  • ขั้นที่ 6​ รายได้สุทธิ 1,000,001 - 2,000,000 ​บาท อัตราค่าภาษี 25% (ภาษีสูงสุดของขั้น 250,000 บาท)
  • ขั้นที่ 7​ รายได้สุทธิ 2,000,001 - 5,000,000 บาท ​อัตราภาษี 30% (ภาษีสูงสุดของขั้น 900,000 บาท)
  • ขั้นที่ 8​ รายได้สุทธิ 5,000,001 บาทขึ้นไป ​​อัตราภาษี 35% (ภาษีสูงสุดของขั้น ไม่จำกัด)

ทำงานทั้งปี เงินเดือน โบนัส ที่ได้ ต้องเสีย \'ภาษี\' เท่าไหร่บ้าง

ตัวอย่างที่ 1

สมมุติให้ นาย ก. มีเงินเดือนอย่างเดียว เดือนละ 40,000 บาท = รายได้ทั้งปี 480,000 บาท

1.คำนวณแบบมีค่าลดหย่อนพื้นฐาน

- หักค่าใช้จ่ายส่วนตัว 100,000 บาท​
​- ได้ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท​
​- ได้ค่าลดหย่อนประกันสังคมสูงสุด 9,000 บาท

ดังนั้น นาย ก. จะเหลือเงินได้สุทธิคือ 480,000 – 100,000 – 60,000 – 9,000 = 311,000 บาท ที่ต้องนำไปคำนวณภาษีตามอัตราภาษีก้าวหน้า โดยแบ่งเป็นขั้นบันได ดังนี้

  • ขั้นที่ 1​​เงินได้ 150,000 บาท ​ไม่เสียภาษี

ในขั้นที่ 1 คำนวณได้คือ 311,000 – 150,000 คงเหลือเงินได้สุทธิ 161,000 บาท

  • ขั้นที่ 2​ ​เงินได้ 150,001 – 300,000 บาท เสียภาษี 5% ​

ในขั้นที่ 2 คำนวณได้คือ 161,000 – 150,000 คงเหลือเงินได้สุทธิ 11,000 บาท ภาษีที่ต้องเสียในขั้นนี้คือ 7,500 บาท

  • ขั้นที่ 3​​ เงินได้ 300,001 – 500,000 บาท เสียภาษี 10%

ในขั้นที่ 3 คำนวณได้คือ 11,000 x 10%  ภาษีที่ต้องเสียในขั้นนี้คือ 1,100 บาท   ​

กรณีนี้ นาย ก. ไม่มีเงินลดหย่อนอื่นๆ (หากมีลดหย่อนอื่นๆ เช่น เลี้ยงดูบุตร บิดา/มารดา ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ บริจาค กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนด สามารถนำมาลดหย่อนเพิ่มได้)

ภาษีรวมที่ นาย ก. ต้องเสียคือ 7,500+1,100 = 8,600 บาท

2. คำนวณแบบมีค่าลดหย่อนพื้นฐาน+ค่าลดหย่อนอื่นๆ ตามที่กฎหมายกำหนด​​

- หักค่าใช้จ่ายส่วนตัว 100,000 บาท​
​- ได้ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท​
​- ได้ค่าลดหย่อนประกันสังคมสูงสุด 9,000 บาท
​- ค่าเลี้ยงดูบุตร (1 คน อายุไม่เกิน 20 ปี) 30,000 บาท
​- ค่าอุปการะเลี้ยงดูมารดา (อายุ60 ปี) 30,000 บาท
​- ประกันสุขภาพตนเอง 25,000 บาท​

ดังนั้น หากลองคำนวณใหม่ นาย ก. จะเหลือเงินได้สุทธิคือ 480,000 – 100,000 – 60,000 – 9,000 – 30,000 – 30,000 – 25,000 = 226,000 บาท ที่ต้องนำไปคำนวณภาษีตามอัตราภาษีก้าวหน้า โดยแบ่งเป็นขั้นบันได ดังนี้

  • ขั้นที่ 1​​ เงินได้ 150,000 บาท ​ไม่เสียภาษี ​

ในขั้นที่ 1 คำนวณได้คือ 226,000 – 150,000 คงเหลือเงินได้สุทธิ 76,000 บาท

  • ขั้นที่ 2​​ เงินได้ 150,001 – 300,000 บาท เสียภาษี 5% ​

ในขั้นที่ 2 คำนวณได้คือ 76,000 x 5% ภาษีที่ต้องเสียในขั้นนี้คือ 3,800 บาท

ภาษีรวมที่ นาย ก. ต้องเสีย = 3,800 บาท  

จะเห็นได้ว่าหากมีค่าลดหย่อนอื่นๆ มาช่วยลดหย่อนภาษี วิธีนี้จะช่วยทำให้เสียภาษีน้อยลง หรืออาจไม่ต้องเสียภาษีเลยก็ได้

ทำงานทั้งปี เงินเดือน โบนัส ที่ได้ ต้องเสีย \'ภาษี\' เท่าไหร่บ้าง

ตัวอย่างที่ 2

สมมุติให้ นาย ข. มีเงินเดือน 50,000 บาท และได้โบนัส 30,000 บาท รวมเป็นรายได้ทั้งปีคือ (50,000 x 12) + 30,000 = 630,000 บาท สามารถคำนวณได้ดังนี้

- หักค่าใช้จ่ายส่วนตัว 100,000 บาท​
​- ได้ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท​
​- ได้ค่าลดหย่อนประกันสังคมสูงสุด 9,000 บาท

ดังนั้น นาย ข. จะเหลือเงินได้สุทธิคือ 630,000 – 100,000 – 60,000 – 9,000 = 461,000 บาท ที่ต้องนำไปคำนวณภาษีตามอัตราภาษีก้าวหน้า โดยแบ่งเป็นขั้นบันได ดังนี้

  • ขั้นที่ 1​ ​เงินได้ 150,000 บาท ​ไม่เสียภาษี

ในขั้นที่ 1 คำนวณได้คือ 461,000 – 150,000 คงเหลือเงินได้สุทธิ 311,000 บาท

  • ขั้นที่ 2​​ เงินได้ 150,001 – 300,000 บาท เสียภาษี 5% ​

ในขั้นที่ 2 คำนวณได้คือ 311,000 – 150,000 คงเหลือเงินได้สุทธิ 161,000 บาท ภาษีที่ต้องเสียในขั้นนี้คือ 7,500 บาท

  • ขั้นที่ 3​ ​เงินได้ 300,001 – 500,000 บาท เสียภาษี 10% ​

ในขั้นที่ 3 คำนวณได้คือ 161,000 x 10%  ภาษีที่ต้องเสียในขั้นนี้คือ 16,100 บาท   ​

ภาษีรวมที่ นาย ข. ต้องเสียคือ 7,500+16,100 = 23,600 บาท  

ทั้งนี้ หากนาย ข. มีลดหย่อนอื่นๆ เช่น เลี้ยงดูบุตร บิดา/มารดา ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ บริจาค กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนด สามารถนำมาลดหย่อนเพิ่มได้ จะช่วยทำให้เสียภาษีน้อยลง

สรุป

ดังนั้น ช่วงนี้เป็นช่วงที่ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้ว ผู้มีรายได้ประจำ ได้รับเป็นเงินเดือนอย่าลืมวางแผนภาษีให้ดีก่อนยื่นภาษี โดยสามารถทดลองคำนวณภาษีเพื่อใช้เป็นแนวทางในการหาลดหย่อนอื่นๆ ที่สรรพากรยอมรับมาใช้ประโยชน์ทางภาษีได้อย่างเต็มสิทธิ  
 
 อ่านบทความน่ารู้เกี่ยวกับภาษีเพิ่มเติม คลิกที่นี่
Source : Inflow Accounting