‘เอสซีบี เอกซ์‘ ชู Virtual bank เรือธง สร้างรายได้ใหม่ โตทั้งในไทย - อาเซียน

‘เอสซีบี เอกซ์‘ ชู  Virtual bank เรือธง สร้างรายได้ใหม่ โตทั้งในไทย - อาเซียน

“อาทิตย์ เอสซีบี เอกซ์ ชี้อาเซียนเป็นยุทธศาสตร์สร้างโอกาสใหม่สำหรับธุรกิจ พร้อมเดินหน้าลงทุนอาเซียนทั้ง “เวียดนาม - อินโดนีเซีย” ควบคู่ลงทุนใน “ฟินเทค เทคโนโลยี” หวังช่วยลดต้นทุนธุรกิจ ยก “เวอร์ชวลแบงก์” ขึ้นแท่นเป็น “เรือธง” สร้างรายได้ใหม่ให้ เอสซีบี เอกซ์

‘เอสซีบี เอกซ์‘ ชู  Virtual bank เรือธง สร้างรายได้ใหม่ โตทั้งในไทย - อาเซียน นายอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซีบี เอกซ์ กล่าวในงานสัมมนา “กรุงเทพธุรกิจ” ASEAN Economic Outlook 2025: The Rise of ASEAN, A Renewing Opportunity ว่า หากดูภาพรวมอาเซียน จากข้อมูล EIC จากปัจจุบันจนถึงปี 2030 มองว่าอาเซียนจะเป็นหนึ่งในเขตเศรษฐกิจ หรือเขตที่มีการเจริญเติบโตสูงอันดับต้นๆ ของโลก คาดการเติบโตเฉลี่ยจะอยู่ที่ 4.7% หากดูขนาดการเติบโตในอาเซียน จะเป็นโอกาสที่ดี

ทั้งนี้มองว่า อาเซียนจะเป็น Going  area  Going economy ที่จะดึงดูดการลงทุน ดึงการย้ายฐานการผลิตโดยเฉพาะจากจีน จากประเทศต่างๆ มาสู่อาเซียน และอาเซียนเป็นหนึ่งประเทศที่มีการใช้ดิจิทัลค่อนข้างสูง (digital adoption)

ดังนั้นเหล่านี้มีความพร้อมทั้งโอกาสของการเติบโต ความพร้อมในการเป็นฐานการผลิต ความพร้อมในด้าน Digital use ที่มีสัดส่วนที่สูงมากในอาเซียน ดังนั้นเป็นโอกาสในการขยายธุรกิจของแบงกิ้ง หรือธุรกิจการเงินในภูมิภาคนี้ 
 

ในด้านการทำธุรกิจแบงกิ้งในอาเซียน พบว่าการเข้าถึงกลุ่ม underbanked ,unbanked, และธุรกิจเอสเอ็มอีขนาดเล็กที่วันนี้ ยังมีน้อยมาก หากเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ดังนั้นมองว่ายังมีโอกาสสูงมากสำหรับผู้เล่นต่างๆ ที่จะเข้าไปอาเซียน 

“หากดูธุรกิจแบงกิ้ง ประกัน กองทุนต่างๆในอาเซียน ที่เป็นลีดเดอร์ในอาเซียน เรายังนึกไม่ออกว่าใครเป็นลีดเดอร์ในรีจินอล ที่แข็งแรง  ดังนั้นการมีสาขา หรือบางส่วนของธุรกิจ ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นลีดเดอร์ เพราะสิ่งที่เราพบคือ มีแบงก์ท้องถิ่น ในอุตสาหกรรมไฟแนนเชียลมีความแข็งแรงมาก จากการเกื้อหนุนของผู้กำกับท้องถิ่นที่เข้มแข็ง ดังนั้นเราจะเห็นว่าแบงก์ หรือธุรกิจการเงินที่อยู่ในในไทย หรืออินโดนีเซีย เวียดนาม ในอาเซียน วันนี้บทบาทน้อยลง และบางส่วนก็ปรับตัว และออกจากอาเซียนไป” ‘เอสซีบี เอกซ์‘ ชู  Virtual bank เรือธง สร้างรายได้ใหม่ โตทั้งในไทย - อาเซียน

ดังนั้นแม้จะเห็นโอกาสแต่เชิงยุทธศาสตร์ของ ทำไมไม่ปักหลักอยู่ในประเทศไทย ประเทศเดียว เพราะเชื่อว่าวันนี้หลายคนทราบดีว่า ประเทศไทย หรืออาเซียนเอง แม้จะเป็นภูมิภาคที่จะได้รับประโยชน์ แต่เรากำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ ว่าเราจะมีบทบาท และสามารถเก็บเกี่ยวโอกาสเหล่านี้ได้มากน้อยแค่ไหน ที่ยังเป็นคำถามใหญ่ ในขณะนี้ 

เช่นเดียวกัน ภาพรวมของการทำธุรกิจในปัจจุบัน ที่พบว่า หลายธุรกิจสูญเสียความสามารถการแข่งขันลง ตั้งแต่ก่อนโควิด-19 และยิ่งโควิดมาซ้ำ ทำให้รายได้ประเทศหายไป ครัวเรือน ธุรกิจ ออกมาจากโควิดพร้อมภาระหนี้สูงมาก ซึ่งเป็นตัวหน่วงสำคัญเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า

ดังนั้นหากไม่สามารถปรับ แก้ไข หรือผลักดันเศรษฐกิจไทยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เหล่านี้จึงเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้เรามองหาโอกาส และแสวงหาการเติบโตนอกประเทศ 

อย่างไรก็ตามในมุม เอสซีบี เอกซ์ วันนี้มองโอกาสในอาเซียน รวมถึงนอกอาเซียนเป็น 3 Tier โดย เวียดนาม อินโดนีเซีย เป็นกลุ่มประเทศที่น่าสนใจในการเข้าลงทุน และขณะนี้ได้มีการเข้าไปลงทุนในสองประเทศนี้แล้ว Tier2 คือ ฟิลิปปินส์ ที่จะมีบทบาท และความสำคัญจากจีโอโพลิติก Tier3 การลงทุนในเกาหลี สหรัฐ อิสราแอล ที่จะเน้นลงทุนด้านเทคโนโลยี หรือการเป็นพาร์ทเนอร์ชิพด้านเทคโนโลยี เพื่อนำมาสร้างธุรกิจในอาเซียน 

โดยหากดูการลงทุนในปัจจุบัน พบว่าธุรกิจที่เน้นใช้เทคโนโลยีเข้ามาลงทุน เจาะตลาด เช่น แกร็บ ติ๊กต็อก ช้อปปี้ ฯลฯ สามารถสร้างเอ็นเกจเม้นท์กับผู้เล่น และเข้าไปเจาะตลาดอาเซียนได้ง่าย เพราะมีความสามารถด้านเทคโนโลยี ที่จะสามารถตอบสนองความต้องการของทุกกลุ่มลูกค้าได้ 

เป้าหมายของเอสซีบี เอกซ์ คือ การลงทุนในสตาร์ตอัป ลงทุนในฟินเทค รูปแบบนี้จะช่วยลดความเสี่ยง จากการใช้เม็ดเงินจำนวนมาก และลดความเสี่ยงจากการเข้าไปแข่งขันกับธุรกิจท้องถิ่นได้ ดังนั้นการมองหาพาร์ทเนอร์ชิพในประเทศต่างๆ และเอาความสามารถทางเทคโนโลยีมาใช้ เหล่านี้จะเป็นอาวุธสำคัญในการแข่งขัน ที่จะเข้าไปเจาะตลาดเพื่อนบ้านได้ง่ายขึ้น 

รวมถึงปัจจุบัน หากดูภาพรวมในประเทศไทยพบว่า มีปัญหาเกี่ยวกับการเติบโตของเศรษฐกิจไทยที่เติบโตช้า มีหนี้สูง หนี้เสียค่อนข้างมาก ทำให้ภาคการเงินมีความกังวล(concern)สำหรับภาคธุรกิจการเงิน แต่ประเทศอื่นๆ ที่กำลังเติบโต เช่น เวียดนาม ที่มีความกังวลน้อยกว่าในการเข้าไปเจาะกลุ่ม underbanked ,unbanked, และธุรกิจเอสเอ็มอีขนาดเล็ก มีทำให้มีโอกาสสร้าง “ผลตอบแทน” ได้มากกว่าผู้เล่นอื่นๆ ดังนั้นมองว่าเป็นโอกาสในการเข้าไปในประเทศเหล่านี้ 

ทั้งนี้หากดูการทำธุรกิจของแบงก์ดั้งเดิม พบว่าวันนี้มีต้นทุนสูงถึง 40% ของรายได้ แตกต่างกับการทำธุรกิจของฟินเทค ที่มีต้นทุนในการทำธุรกิจเพียง 20% เท่านั้น ดังนั้นเหล่านี้เป็นข้อได้เปรียบ ที่จะทำให้ธุรกิจฟินเทคมีโอกาส และมีช่องทางในการเจาะกลุ่มผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้มากนัก ทำให้เอสซีบี เอกซ์ มองว่าเหล่านี้ยังมีโอกาสในการเข้าไปเติบโตได้ 

ดังนั้นยุทธศาสตร์ของ เอสซีบี เอกซ์ คือ การจะใช้ธนาคารไร้สาขา Virtual bank ที่ธนาคารร่วมกับ KAKAO Bank และ WeBank  เพื่อจะใช้ Virtual Bank หาโอกาสในภูมิภาคนี้เพิ่มเติม นอกจากประเทศไทย ที่มองว่า Virtual bank จะมีขีดความสามารถ มีต้นทุนที่แข่งขันได้ ทั้งบนเวทีใน และนอกประเทศ เหล่านี้คือโอกาส 

ด้านยุทธศาสตร์ของ เอสซีบี เอกซ์ คือ การจะใช้ธนาคารไร้สาขา Virtual bank ที่ธนาคารร่วมกับ KAKAO Bank และ WeBank เพื่อจะใช้ Virtual Bank หาโอกาสในภูมิภาคนี้เพิ่มเติม นอกจากประเทศไทย ที่มองว่า Virtual bank จะมีขีดความสามารถ มีต้นทุนที่แข่งขันได้ ทั้งบนเวทีใน และนอกประเทศ เหล่านี้คือ โอกาส

แต่ไม่ได้หมายความว่า เอสซีบี เอกซ์ จะจับมือกับ KAKAO  BANK และ WeBank ทำ Vritual Bank ในต่างประเทศด้วย เพราะด้วยใบอนุญาต (ไลเซนส์)ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)วันนี้เป็นไลเซนส์ที่สามารถดำเนินธุรกิจในไทยเท่านั้น ดังนั้นการสิ่งที่เอสซีบี เอกซ์ มองว่า จะต่อยอดจาก KAKAO BANK และ Webank ได้คือ การใช้โนฮาว การใช้เทคโนโลยีจากพันธมิตรทั้งสองรายเข้าไปใช้ในการดำเนินธุรกิจในอนาคต โดยเฉพาะในต่างประเทศ 

"ทั้ง KAKAO Bank , Webank ทั้งสองคนเก่งคนละแบบ และเขาสามารถรับลูกค้าได้เกือบ 400 ล้านคน เครื่องยนต์ไม่เคยดับ เพราะมีโนฮาวที่ดี และเรามอง Virtual Bank เป็นเรือธงของเรา บนสเกลที่ใหญ่ ไม่ใช่เล็กๆ เราจะไม่ทำแค่อันเดอร์แบงก์ แต่เราจะเจาะกลุ่มลูกค้า Mass เพราะคนมีรายได้น้อย ไม่ได้มีเส้นแบ่งชัดเจน ดังนั้นเราหวังว่า เมื่อต้นทุนที่ถูกลงก็จะสามารถส่งต่อต้นทุนไปสู่ลูกค้าได้"
 

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์