KKP เผยภาษีทรัมป์ ส่อฉุดจีดีพีต่ำ 1.1% หวังรัฐเร่งเจรจา หวั่นศก.ไทยถดถอย

KKP เผยภาษีทรัมป์ ส่อฉุดจีดีพีต่ำ 1.1% หวังรัฐเร่งเจรจา หวั่นศก.ไทยถดถอย

กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ชี้ ภาษีทรัมป์ ส่อฉุดจีดีพีต่ำ 1.1% หวังรัฐบาลเร่งเจรจา หวั่นเศรษฐกิจไทยถดถอยขณะที่ กนง.มีโอกาสลดดอกเบี้ยปีนี้เหลือ 1.5% ด้านเหตุแผ่นดินไหว กระทบแค่ระยะสั้น

หลังจากที่ โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าทุกประเทศที่เกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ ซึ่งไทยถูกเก็บภาษีในอัตรา 36% ก่อนที่ในเวลาต่อมาจะประกาศขอปรับปรับเป็น 37% ซึ่งถือว่าค่อนข้างสูงและเกินคาดหมาย ส่งผลให้กระทบต่อส่งออกไทยโดยตรง และอาจฉุดจีดีพีไทยถึง 1.1% "กูรู" ชี้ไทยเสี่ยงภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้หากรัฐไม่เร่งเจรจา ขณะที่ กนง.มีประชุมในสิ้นเดือนเม.ย. นี้คาด จะมีการปรับลดลงของอัตราดอกเบี้ยได้

KKP เผยภาษีทรัมป์ ส่อฉุดจีดีพีต่ำ 1.1% หวังรัฐเร่งเจรจา หวั่นศก.ไทยถดถอย

ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร หรือ KKP เปิดเผยว่า ผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหว และการขึ้นภาษี Reciprocal Tariffs หรือภาษีตอบโต้ของสหรัฐที่ไทยโดยเรียกเก็บ 37% หากได้รับผลกระทบมากขึ้น นโยบายการคลังและนโยบายการเงินอาจต้องเข้ามาช่วยเหลือมากขึ้น

โดยคาดว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง.น่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ได้ถึง 2 ครั้ง ไปอยู่ที่ 1.5% และลดลงในปีหน้าอีก 1 ครั้งที่ 1.25% และมีโอกาสเห็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายปรับลงมาต่ำกว่า 1.25% หากสถานการณ์เกิดขึ้นมาอย่างรุนแรง หรือ Reciprocal Tariffs อยู่นานกว่านั้น

ทั้งนี้ มีความเป็นไปได้ที่จะเห็นการลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุม กนง.สิ้นเดือนนี้ เม.ย.นี้ ซึ่งที่ผ่านมาซึ่ง ธปท.มีการออกมาตรการหลายอย่างที่ออกมาช่วย ไม่ว่าจะเป็นมาตรการ LTV หรือมาตรการช่วยเหลือภาคธนาคารหากลูกหนี้มีปัญหาในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบยังคงสภาวะปัจจุบันไว้ก่อน 

"คาดว่าน่าจะมีโอกาสปรับลดอัตราดอกเบี้ยได้ จึงเชื่อว่าในการประชุมกนง.ครั้งนี้น่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งหากมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งก็อาจจะไม่ได้ช่วยให้สหรัฐปรับลดภาษีได้เร็วขึ้น แต่น่าจะช่วยซัพพอร์ตเศรษฐกิจในประเทศได้บ้าง และการส่งต่อนโยบายการเงินเชื่อว่า ในรอบนี้อาจจะเห็น ธปท.มีความเข้มงวดมากขึ้นในการที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยจะช่วยส่งผ่านไปการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในแต่ละธนาคารได้"

อย่างไรก็ตาม การค้าโลกได้รับผลกระทบจากการจัดเก็บภาษีนำเข้า ซึ่งผลกระทบทางตรงต่อเศรษฐกิจไปยังสหรัฐ ประเมินผลกระทบต่อเอเชียทั้งหมดประมาณ 0.6% ขณะที่ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบมากกว่าประเทศในเอเชียอื่น ๆ เพราะไทยส่งออกต่อจีดีพีสูง หากอัตราภาษีนี้อยู่ไปตลอดทั้งปีจะเป็นลบต่อจีดีพี ไทยที่ 1.1% และเศรษฐกิจไทยที่ประเมินไว้ที่ 2.3% จะลดลงไปที่ 1% 

ทั้งนี้ หากภาษียังอยู่ในระดับสูง ผลกระทบที่จะเกิดขึ้น อาจจะเห็นภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว และสหรัฐก็อาจอยู่ในภาวะเศรษฐกิจชะลอแต่เงินเฟ้อขึ้น แต่ประเทศที่เป็นผู้ส่งออกจะประสบกับเศรษฐกิจชะลอตัวแต่ราคาสินค้าในประเทศลดลง ซึ่งประเมินว่า อัตราภาษีที่สูงอาจจะไม่ได้อยู่นาน เพราะการขึ้นภาษีที่สูงเช่นนี้ก็จะทำให้เศรษฐกิจสหรัฐย่ำแย่เช่นกัน บวกกับเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ดังนั้นจึงเป็นการขู่ และต้องการเรียกร้องให้ประเทศนั้นเข้าสู่การเสนอเงื่อนไขในสิ่งที่สหรัฐต้องการ แต่ถ้ายังภาษีในระดับนี้ยังอยู่นานก็อาจจะทำให้ไทยเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ 

โดย ความเสี่ยงที่เกิดขึ้น ทรัมป์มีการประกาศ Reciprocal Tariffs หรือการเก็บภาษีตอบโต้ ซึ่งทรัมป์พูดมาตลอดว่า ทรัมป์ถูกเอาเปรียบและอยากจะเก็บทุกประเทศ จากที่เคยประกาศรอบแรกเก็บจาก แคนนาดา แม็กซิโก จีน ยุโรป และผลิตภัณฑ์บางชนิด เช่น รถยนต์ และอาจจะมีตามมา เช่น ยา และเซมิคอนดักซ์เตอร์ ซึ่ง ณ ขณะนี้ทรัมป์ประกาศสงครามการค้าทุกสมรภูมิและทุกประเทศด้วย จึงเป็นหนึ่งนโยบายเศรษฐกิจสหรัฐความสัมพันธ์ระหว่างประเทศการค้าสหรัฐ

ข้อเสนอที่สหรัฐอยากได้ที่ประเมินไว้คือ 

1.สหรัฐนำเข้าสินค้าปีละ 3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หากเก็บภาษี Tariffs หากเก็บภาษีนำเข้าจะทำให้สหรัฐมีรายได้ปีละ 100-400 พันล้านดอลลาร์ เพราะสหรัฐเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดและถือเป็นแหล่งรายได้ที่ดี 

2.เป็นการขู่ให้ประเทศต่าง ๆ หรือนักลงทุนที่ผลิตสินค้าย้ายฐานการผลิตไปต่างประเทศ และย้ายกลับเข้ามาในสหรัฐ เป็นการเสริมสร้างการลงทุนในการผลิต 

3.ทรัมป์มองขาดดุลการค้าสหรัฐถูกเอาเปรียบ เพราะฉะนั้นจึงต้องการทำให้เกิดดุลการค้ามากขึ้น หรือไม่ถูกเอาเปรียบจากเดิม

4.ใช้เป็นเครื่องมือในการทำสงครามการค้ากับจีนเป็นหลัก เพราะที่ผ่านมาหากย้อนไปในช่วงเทรดวอร์ครั้งที่ 1 จีนพยายามหลบไปประเทศอื่น ๆ  ซึ่งการเก็บภาษีกับทุก ๆ ประเทศเพื่อทำจีนไปในประเทศอื่นทำได้ยากขึ้น  

5.ใช้เป็นอำนาจในการเป็นผู้ซื้อรายใหญ่ของโลกในการต่อรองแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ในสิ่งที่สหรัฐต้องการมากที่สุด 

อย่างไรก็ตาม หากประเทศเหล่านี้ทำในสิ่งที่ทรัมป์ต้องการ และยอมเรื่องติ๊กต็อกดีลก็จะยอมลดอัตราภาษีลงมาได้ ซึ่งมองว่า ทรัมป์ไม่ได้ต้องการจัดเก็บภาษีระดับสูงแต่ต้องการ ใช้เครื่องมือในการเจรจาต่อรองให้ได้สูงที่สุด

ทั้งนี้หากมีการเจรจาแล้วคาดว่าอัตราภาษีจะปรับลดลงมาที่ 5-10% ยกเว้นมีการตอบโต้กันหรือทรัมป์ไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการ โดยทรัมป์พูดชัดเจนหากอยากให้มีการลดภาษี Tariffs ลงแต่ละประเทศต้องทำ 5 สิ่งนี้ 

1. ต้องนำสินค้ามาผลิตในสหรัฐ

2. ลดภาษีนำเข้าที่แพง ๆ 

3. ลดมาตรการกีดกันทางการค้าต่าง ๆ ที่ไม่ใช้ภาษีนำเข้า

4. อย่าแซกแทรงค่าเงิน

5. ซื้อสินค้าจากสหรัฐเพิ่มเติม 

อย่างไรก็ตาม ทางเลือกของไทยหรือสิ่งที่รัฐบาลต้องทำคือ ต้องเข้าสู่การเจรจาเพราะ ณ ขณะนี้กระทบต่อธุรกิจส่งออก โดยการเจรจาแบ่งออกเป็น 2 ระดับ 

1.เจรจาภายนอก โดยการเข้าไปคุยกับสหรัฐ อยากได้อะไร และไทยสามารถนำเสนออะไรได้บ้าง และสหรัฐจะยอมลดอัตราภาษีให้ไทยได้หรือไม่  

2.กับการเจรจาภายใน วันนี้ผลกระทบคือส่งออก และไทยจะนำอะไรไปแลกซึ่งเซกเตอร์อื่น ๆ จะยอมแลกกับด้วยหรือไม่ เช่น หากนำภาคเกษตรไปแลก ผลกระทบก็จะไปอยู่ที่ภาคเกษตร และผลกระทบน้อยลงคือส่งออกและเศรษฐกิจโดยรวม เราจะยอมกันอย่างไร เรามีกลไกอย่างไร 
 

"ทางเลือกของไทยที่ดีที่สุด คือการไปเจรจา ไทยมีการพึ่งพาสหรัฐมากกว่า สหรัฐพึ่งพาไทยแน่นอน และเราสามารถให้สหรัฐได้หรือไม่  หรือจะเข้าไปเจรจาเป็นกลุ่มอำนาจในการต่อรองก็อาจจะเป็นไปได้ หรืออาจจะต้องเปิดตลาดบริการมากขึ้น" 

ขณะที่เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นไมได้มีผลกระทบรุนแรงจากโครงสร้างฐานของประเทศ และไม่ได้มีผลกระทบต่อการดิสรัปชันของเศราษฐกิจและธุรกิจ หากย้อนกลับไปดูในอดีตแผ่นดินไหวเกิดขึ้นบ่อยในญี่ปุ่น ล่าสุดช่วงต้นปี 2567 ที่มีค่อนข้างแรง ส่งผลกระทบต่อจีดีพีของปี 2567 หายไปค่อนข้างมาก เนื่องจากไปกระทบต่อโครงสร้างพื้นฐาน และกระทบธุรกิจที่ทำให้เกิดความกังวลและเกิดความเสียหาย 

ขณะที่ไทย ถือว่าโชคดีและถือเป็นการทดสอบความแข็งแกร่งของตึกในประเทศ ซึ่งมีตึกเดียวที่ทำให้เกิดความตกใจและเสียใจมาก แต่หากมองภาวะผลกระทบต่อเศรษฐกิจเชื่อว่า เป็นแค่เพียงระยะสั้นเท่านั้น 

1.การท่องเที่ยว ทำให้ขาดความเชื่อมั่นมีการยกเลิกทริปต่างๆ  แต่ไม่ได้กระทบรุนแรง ยังเป็นเพียงระยะสั้น ๆ ในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้า และช่วงนี้ถือว่าเป็นช่วงโลซีซั่นของการท่องเที่ยวไทยพอดี และคาดหวังว่า พอเข้าสู่ไฮซีซั่นการเดินทางของนักท่องเที่ยวน่าจะกลับเข้ามาสู่ภาวะปกติมากขึ้น 

2.ความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภค ทำให้เกิดความหวั่นไหว ทำให้เกิดการป้องกันตัวเองมากขึ้น 

3.คอนโดมิเนียมได้รับผลกระทบราคาร่วง ทำให้สินเชื่อประเภทคอนโดฯอาจจะได้รับผลกระทบ 

อย่างไรก็ตาม ผลกระทบต่อจีดีพีจะมีขึ้นในไตรมาส 2/68 ซึ่งผลกระทบจากแผ่นดินไหวน่าจะเป็นผลกระทบในระดับหนึ่ง แต่ไม่มาก เพียงแค่ระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น