“หุ้นเช่าซื้อ” ตอบรับยกกลุ่ม แรงหนุนความต้องการ ”เงินสด”

“หุ้นเช่าซื้อ” ตอบรับยกกลุ่ม   แรงหนุนความต้องการ ”เงินสด”

ปัญหาโครงสร้างเศรษฐกิจของไทยเผชิญมาตลอด "ค่าแรงถูก - สินค้าราคาแพง" ซึ่งในภาวะเศรษฐกิจปกติทำให้ไม่เป็นปัญหารุนแรง แต่ช่วงเงินเฟ้อปรับตัวสูงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปัญหาดังกล่าวเป็นภาระหนักสำหรับประชาชนในช่วงที่เศรษฐกิจพึ่งพ้นจากจุดต่ำกำลังเข้าสู่การฟื้นตัว

ยิ่งสถานการณ์เงินเฟ้อของไทยมาจากราคาพลังงานที่เป็นการนำเข้าเป็นส่วนใหญ่  ไม่ได้มาจากราคาสินค้าอุปโภค-บริโภคเป็นหลักทำให้ในระยะสั้นไม่น่ากังวลใจ  หากแต่กรณียืดเยื้อ และกินระยะยาวนานย่อมไม่เป็นผลดีต่อภาพเศรษฐกิจไทย เนื่องจากราคาสินค้าและบริการจ่อขยับขึ้นอย่างถ้วนหน้า

นโยบายการเงินแบงก์ชาติ จึงต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาสกัดเงินเฟ้อที่ 0.25% ในรอบ 2 ปี ตามนโยบายค่อยเป็นค่อยไปหรือ  "Smooth Takeoff"    ซึ่งถือว่าไม่ได้เข้มงวดเหมือนธนาคารกลางในเศรษฐกิจหลักของโลก

อีกด้านหนึ่งยอมรับว่าพิจารณาขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเพื่อเพิ่มเติมกำลังซื้อของประชาชนมีความสำคัญว่าจะ “ขึ้นแค่ไหนและเมื่อไร” ซึ่งไทยขึ้นค่าแรงขั้นต่ำครั้งล่าสุดเมื่อ 2 ปี ก่อนคือ ช่วงม.ค.ปี 2563 จากอัตรา 308-330 บาทต่อวัน เป็น 313-336 บาทต่อวัน  มีจังหวัดที่ได้ค่าแรงสูงสุด 336 บาทต่อวัน ได้แก่ ชลบุรี และภูเก็ต ขณะที่ กทม.และปริมณฑล ได้ค่าจ้างขั้นต่ำอยู่ที่ 331 บาทต่อวัน

จนเกิดวิกฤติโควิด-19 ทำให้เลื่อนการพิจารณาปรับขึ้นค่าแรง จนมามีแรงกระเพื่อมในปี 2565  ที่เผชิญปัจจัยลบดังกล่าวทำให้กลับพิจารณาอีกครั้ง ซึ่งมีตัวเลขช่วงแรกอิงกับพรรครัฐบาลอย่างพรรคพลังประชารัฐหาเสียงไว้คือ 425 บาทต่อวัน

แน่นอนว่ามีเสียงคัดค้านไม่เห็นด้วยเป็นอัตราที่ค่อนข้างสูง และเป็นไปได้ยาก กระทบผู้ประกอบการทำให้มีภาระ และต้นทุนเพิ่ม ทั้งที่ต้นทุนการขนส่งสูงขึ้น และยังไม่ได้ปรับขึ้นราคาสินค้า - บริการในบางรายการ

หลังคณะกรรมการค่าจ้างเป็นระบบไตรภาคี ฝั่งแรงงาน นายจ้างและภาครัฐเห็นชอบเสนอปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำรอบนี้ 5-8% แต่ให้มีผลเร็วขึ้น 1 ต.ค. 2565 แทน ซึ่งล่าสุด ครม. ได้ผ่านการอนุมัติ เห็นชอบตามที่เสนอ ขึ้นอัตราสูงสุด 354 บาทต่ำสุด  328 บาท 

ช่วงที่ผ่านมาหุ้นที่ตอบรับกลุ่มแรกเห็นได้ชัดที่สุด คือ “ไฟแนนซ์” มี “กลุ่มสินเชื่อเงินสด - เช่าซื้อ” มีแรงเก็งกำไร MTC-SAWAD-TIDLOR -MICRO  ซึ่งเป็นกลุ่มเน้นสินเชื่อเงินสด และมีพอร์ตสินเชื่อเช่าซื้อ  ส่วนกลุ่มสินเชื่อเงินสด SINGER-KTC-AEONTS    ได้แรงหนุนด้านจิตวิทยาจากกำลังการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นตามค่าแรง

 

 

ส่วน SAK-TK เน้นฐานลูกค้าเกษตรกร - เครื่องมือการเกษตร ได้รับผลดีเพิ่มขึ้นจากราคาพืชผลทางการเกษตรปรับตัวสูง และครม.ได้อนุมัติโครงการ  “ประกันรายได้” เกษตรกรผู้ปลูกข้าววงเงิน 86,740 ล้านบาทเพิ่มเติม

ทั้งนี้ตามมุมมองของ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) บล.ฟินันเซีย ไซรัส มองว่าผู้ประกอบการจะปรับตัวได้จากการใช้เทคโนโลยีทดแทนแรงงาน รวมถึงการปรับราคาขาย และมีมุมมองค่อนไปในเชิงบวกต่อการปรับขึ้นค่าแรงครั้งนี้เนื่องจากไม่ได้ปรับขึ้นมานาน  มองว่าจะเป็นปัจจัยหนุนกำลังซื้อรากหญ้า  บวก ได้แก่ ค้าปลีก อาหารและเครื่องดื่ม

บล. โนมูระ พัฒนสิน คาดว่าการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ 5 - 8% ทั่วประเทศมีผลกระทบภาพรวมเศรษฐกิจ คาดมีสร้างความเสี่ยงด้านสูงราว 0.6 - 1.0% ต่อเงินเฟ้อปี 2565-2566  ที่ประเมินที่ 6.4% และ 2.8% ด้านผลกระทบต่อกำไรกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ กลุ่มที่ได้รับผลกระทบสูงคือ โรงแรม, ร้านอาหาร, รับเหมาก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์

ส่วนที่กระทบจำกัดคือ กลุ่มค้าปลีก,ชิ้นส่วนฯ และกลุ่มเกษตรอาหาร ขณะที่กลุ่มได้ประโยชน์ ได้แก่ เช่าซื้อ, บริหารหนี้, ผู้จำหน่ายเครื่องดื่มชูกำลัง และ Digital Tech Consult ประเมินผลกระทบกำไรตลาดปี 2566 จะอยู่ที่ราว 0.7 % ของประมาณการกำไรต่อหุ้นที่ 104 บาท

      “หุ้นเช่าซื้อ” ตอบรับยกกลุ่ม   แรงหนุนความต้องการ ”เงินสด”

แต่อย่างไรก็ตาม  ผลกระทบการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ที่เกิดขึ้นจริง คาดว่าจะจำกัดกว่า จากผลบวกรายได้ผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น   ดังนั้นกลยุทธ์ - หลีกเลี่ยงอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบระยะสั้น จากต้นทุนใหม่ ขณะที่การปรับเพิ่มราคาชดเชยได้ค่อยเป็นค่อยไป อาทิ รับเหมาก่อสร้าง, อสังหาริมทรัพย์รองมา คือ ร้านอาหาร, โรงแรม, โรงหนัง แต่เน้นลงทุนหุ้น เช่าซื้อ, หุ้นรับบริหารหนี้ด้อยคุณภาพ, หุ้นที่มีฐานรายได้จากลูกค้าแรงงาน และ Digital Tech Consult มีโอกาสได้ประโยชน์หุ้นเด่นใน Theme นี้ ได้แก่ SINGER, TIDL OR, KTC, JMT, CBG, OSP, BE 8, BBIK และ IIG

 

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์