ตามเทรนด์ “วอร์เรน บัฟเฟตต์” ทุ่มพอร์ตเล็งธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
ชื่อ “วอร์เรน บัฟเฟตต์” ถูกขนานนามว่าเป็นเจ้าตำหรับนักลงทุนสาย VI (หุ้นคุณค่า) จนเป็นตำราที่ยังมีชีวิตด้วยวัย 92 ปี ที่ประสบความสำเร็จในการลงทุนที่ใครๆก็อยากเจริญรอยตาม
เข็มทิศการลงทุนผู้ชายคนนี้ทำไหมถึงสนใจ “ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์” จนเป็นที่มาทำให้ หุ้นกลุ่มนี้ของไทยกลับมาคึกคัก ภายใต้การบริหารเม็ดเงินลงทุนผ่าน “บริษัทเบิร์กเชียร์ ฮาธาเวย์ อิงค์ “ ของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ซึ่งนิตยสาร Forbes 2022 ยกให้เป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลกอันดับ 5 ด้วยมูลค่าการถือครองสินทรัพย์รวม 118,000 ล้านดอลลาร์ ยังเป็นนักลงทุนในธุรกิจการเงินเพียงคนเดียวจากจำนวน 10 คนของมหาเศรษฐีที่รวยที่สุดในโลก (อีก 6 จาก 10 คนเป็นเจ้าของบริษัทเทคโนโลยี) ดังนั้นไม่ว่าจะขยับทิศทางสนใจธุรกิจอะไรจะมีสปอร์ตไลน์ส่องตามไปตลอด
ปรากฎการณ์ไม่นานมานี้ “เบิร์กเชียร์” ทุ่มเงิน 5,000 ล้านดอลลาร์ เข้าซื้อหุ้นบริษัทไต้หวัน “เซมิคอนดักเตอร์ แมนูแฟกเจอริง โค” หรือที่เรารู้จัก TSMC บริษัทผลิตชิปชั้นนำของโลกจากไต้หวัน เป็นการเข้าลงทุนในพอร์ตตั้งแต่ในไตรมาส 3 ปี 2565
ตามเอกสารที่ยื่นต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐ (SEC) ว่า บริษัทเข้าซื้อตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์หรือ ADR ของบริษัท TSMC ในไตรมาสดังกล่าว
โดย TSMC ทำธุรกิจผลิตชิปเซมิคอนดักเตอร์ให้กับลูกค้าจำนวนมาก เช่น อินวิเดีย คอร์ป และควอลคอมม์ อิงค์ ทั้งยังเป็นซัพพลายเออร์พิเศษในการผลิตชิปซิลิคอนเฉพาะให้กับแอปเปิล อิงค์ ซึ่งในพอร์ตลงทุนของเบิร์กเชียร์ยังลงทุนในแอปเปิลด้วยมูลค่ามากที่สุดในพอร์ตอีกด้วย
ประเด็นข่าวทำเอาผู้ที่ติดตามต้องหันกลับมาวิเคราะห์ธุรกิจดังกล่าวว่าเหตุใด “บัฟเฟตต์” ที่มักจะพูดเสมอหลีกเลี่ยงที่จะลงทุนในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี เพราะไม่มีความไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ แต่วันนี้เกิดจุด !!
ย้อนไปช่วงที่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เกิดความระส่ำระสายจากมาตรการกีดกันการค้าของสหรัฐและจีน มีปมประเด็นหนึ่งที่เกี่ยวพันธ์กัน TSMC ตั้งแต่สหรัฐประกาศห้ามขายสินค้าไฮเทคที่มีชิ้นส่วนหรือซอฟต์แวร์ที่ผลิตในสหรัฐเป็นส่วนประกอบให้แก่รัสเซียเหมือนที่ได้ดำเนินการมาแล้วกับในช่วง "เทควอร์" กับ "จีน"
ด้วยการสั่งห้ามบริษัทต่าง ๆ ขายชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์และชิปคอมพิวเตอร์ให้กับบริษัทผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือ หัวเหว่ย (Huawei) ของจีนเมื่อปี ค.ศ. 2020 ซึ่งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อธุรกิจของหัวเหว่ย และทำให้ยอดขายสมาร์ทโฟนของหัวเหว่ยตกลงมาอยู่ที่อันดับ 10 ของโลกแล้วในขณะนี้
ประเด็น ยูเครน - รัสเซีย ส่งผลทำให้เกิด supply chain disruption ในกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนฯ เนื่องจากทั้งยูเครนและรัสเซียเป็น supplier วัตถุดิบในการผลิต ตามข้อมูลจาก Techcet research พบว่า กว่า 90% ของ semiconductor-grade neon gas ที่ใช้ในสหรัฐนำเข้าจากยูเครน และ 35% ของแร่ palladium ที่ใช้ในสหรัฐนำเข้าจากรัสเซีย
โดยวัตถุดิบทั้ง 2 อย่างเป็นส่วนสำคัญในการใช้ผลิต chip สถานการณ์ดังกล่าวจะส่งผลกระทบเชิงลบต่อราคาหุ้นกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ทันที รวมไปถึงจีนตอบโต้ไต้หวันการระงับการส่งออก “ทราย” ไปไต้หวัน ซึ่งถือว่าเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิต “ชิป”
จนมีกระแสข่าว TSMC เตรียมวางแผนสร้างโรงงานผลิตชิปอีกหลายแห่งในรัฐแอริโซนาจากที่มีแค่แห่งเดียว เพื่อรองรับการผลิตชิป 3 นาโนเมตร เนื่องจาก TSMC ซึ่งเป็นซัพพลายเออร์รายใหญ่ของแอปเปิลและผู้ผลิตชิปสัญญาจ้างรายใหญ่ที่สุดของโลก น่าจะใช้เม็ดเงินสูง 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์
บริษัทไต้หวัน เซมิคอนดักเตอร์ แมนูแฟกเจอริง โค จำกัด (TSMC) เปิดเผยว่า บริษัทมียอดขายเพิ่มขึ้น 56% ในเดือนต.ค. มีรายรับเพิ่มขึ้นแตะ 2.103 แสนล้านดอลลาร์ไต้หวัน (6.6 พันล้านดอลลาร์) จาก 1.345 แสนล้านดอลลาร์ในปีก่อนหน้า ส่วนยอดขายเมื่อเทียบรายปี เพิ่มขึ้น 44% โดยได้ประโยชน์จากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ไต้หวัน
ข่าวดังกล่าวมีผลต่อธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกว่าได้ซึ่งไทยหุ้นที่เชื่อมโยงจากการผลิตชิ้นส่วนฯและป้อนฐานผลิตใหญ่ของโลก จีน สหรัฐ ตามสัดส่วนรายได้มีทั้งจีนและสหรัฐ บริษัท ฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส จำกัด (มหาชน) หรือ HANA ซึ่งเป็นผู้ผลิตเซมิคอนดัคเตอร์ในสหรัฐมีสัดส่วน18%
ราคาหุ้นที่ผ่านมาปรับตัวขึ้นต่อเนื่องสัปดาห์ที่ผ่านมา บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) พาย คำแนะนำแนะน “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 52.50 บาท อิง 21.3xPE’1H23E (+1S.D. ต่อค่ำเฉลี่ย 10 ปี) กำไรไตรมาส 3 ปี 2565 อยู่ที่ 417 ล้านบาท (- 26% YoY, +71% QoQ) เพราะขาดทุนอัตราแลกเปลี่ ยน และอนุพันธ์ก้อนใหญ่ 423 ล้านบาท นับว่าต่ำกว่าที่ Bloomberg consensus คาด 19%
ถ้าไม่รวมรายการพิเศษกำไรปกติจะอยู่ที่ 840 ล้านบาท (+20% YoY, +41% QoQ) โดยอาจปรับลดประมาณกำไรปีนี้ ลงเพราะขาดทุนค่าเงิน และอนุพันธ์จำนวนมาก นอกจากนี้กลุ่มธุรกิจ ผู้บริโภค ยานยนต์ (เซนเซอร์) คอมพิวเตอร์ และ RFID มีสัดส่วน รวมกันที่ 37% ของรายได้ปี 2564 ซึ่งเสี่ยงที่จะรับแรงกระแทกจากสภาวะถดถอยในปี 2566 แต่คาดว่าจะยังคงคำแนะนำ “ซื้อ” เพราะ หุ้นมีมูลค่าไม่แพง