‘บัฟเฟตต์’ ไร้กังวล De-dollarization เชื่อครองที่หนึ่งของโลกไปจน 2065
“วอร์เรน บัฟเฟตต์” พ่อมดนักลงทุนชาวอเมริกัน ฟังธงไม่กังวลกระแสลดการพึ่งพิงดอลลาร์ หรือ De-dollarization แต่ก็เตือนรัฐบาลสหรัฐ อย่างดำเนินนโยบายให้ดอลลาร์ และกำลังซื้อผู้บริโภคอ่อนตัวลง ชี้เชื่อดอลลาร์อาจครองตำแหน่งที่หนึ่งของโลกไปจน 2065
Key Points
- “วอร์เรน บัฟเฟตต์” พ่อมดนักลงทุนชาวอเมริกัน ฟังธงไม่กังวลกระแสลดการพึ่งพิงดอลลาร์ หรือ De-dollarization
- พ่อมดนักลงทุนเตือนรัฐบาลสหรัฐอย่างดำเนินนโยบายให้ดอลลาร์ และกำลังซื้อผู้บริโภคอ่อนตัวลง
- ดัชนีดอลลาร์ย่อตัวลง 6% ในปีที่ผ่านมา โดยการลดลงส่วนใหญ่เป็นผลมาจากอัตราเงินเฟ้อที่หดตัวจากกว่า 9% เป็น 3% ในปีที่แล้ว
ผู้เชี่ยวชาญหลายคนกล่าวว่าสถานะของดอลลาร์สหรัฐในฐานะสกุลเงินสํารองของโลก และเป็นสื่อกลางที่โดดเด่นของการค้า และการลงทุนทั่วโลกกําลังตกอยู่ในอันตราย อย่างไรก็ตาม วอร์เรน บัฟเฟตต์ (Warren Buffett) กลับไม่กังวลเกี่ยวกับกระแสครั้งนี้ หรือที่บรรดานักวิชาการเรียกว่า De-dollarization
ดอลลาร์ของเราเป็นสกุลเงินสํารองที่โดดเด่น ผมยังไม่เห็นตัวเลือกสําหรับสกุลเงินอื่นที่จะเป็นสกุลเงินสํารองได้ตอนนี้” นักลงทุนมหาเศรษฐีและซีอีโอของ Berkshire Hathaway กล่าวระหว่างการประชุมผู้ถือหุ้นประจําปีของบริษัทในเดือนพ.ค.
โดยบัฟเฟตต์อ้างอิงถึงหลายประเทศที่ถือเงินดอลลาร์เป็นเงินสำรองจำนวนมาก และรัฐบาลทั่วโลกยังถือว่าเงินดอลลาร์เพราะมีความปลอดภัย และมั่นคงสูง ซึ่งสามารถใช้จ่ายระหว่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บัฟเฟตต์เน้นย้ำอย่างหนักแน่นขึ้นในระหว่างการประชุมเบิร์กเชียร์ในปี 2558 โดยคาดการณ์ว่าโลกจะยังคงพึ่งพาดอลลาร์ไปนานถึงปี 2065
“ผมคิดว่าเงินดอลลาร์จะเป็นสกุลเงินสํารองของโลกในอีก 50 ปีต่อจากนี้ และผมคิดว่าความเป็นไปได้นั้นสูงมาก” พร้อมเสริมว่า "ไม่มีอะไรแน่นอน แต่ผมก็เดิมพันด้วยเงินจำนวนมากในกระเป๋า"
มหาเศรษฐีผู้นี้ยังแนะนําในระหว่างการชุมนุมของบริษัทในปี 2556 ว่าเงินดอลลาร์อาจครองตำแหน่งเงินสำรองระหว่างประเทศตลอดไป
“ผมคิดว่าทั้งจีน และสหรัฐอเมริกาจะเป็นมหาอํานาจทางผมยังไม่เห็น และไม่คิดว่าสกุลเงินใดจะเข้ามาแทนที่ดอลลาร์ ในฐานะสกุลเงินสํารองของโลก ได้อีกเป็นเวลาหลายทศวรรษ” เขากล่าว
ด้าน ชาร์ลี มังเกอร์ (Charlie Munger) หุ้นส่วนธุรกิจของ บัฟเฟตต์และรองประธานของ Berkshire ให้สัมภาษณ์ในทำนองเดียวกันว่า
“โอ้ ผมคิดว่าดอลลาร์จะยังคงเป็นสกุลเงินสํารองของโลกในอีก 20 ปีข้างหน้า”
พร้อมเสริมว่า “แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าดอลลาร์จะครองสถานะนี้ตลอดไป โดยแม้ว่าเงินดอลลาร์จะสิ้นสุดการเป็นสกุลเงินสํารองของโลกจริง ก็ไม่ได้ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่อะไรมาก”
บทวิเคราะห์ของสำนักข่าวอินไซเดอร์ (Insider) เปิดเผยว่า เห็นได้ชัดว่าบัฟเฟตต์และมังเกอร์ คาดว่า เงินดอลลาร์จะยังคงเป็นที่นิยมในอีกหลายทศวรรษข้างหน้า แต่พวกเขาก็เตือนรัฐบาลสหรัฐซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่า อย่าทําให้เงินดอลลาร์ และกําลังซื้อของชาวอเมริกันอ่อนตัวลงผ่านการอัดเงินเข้าไปในเศรษฐกิจ
มังเกอร์ กล่าวด้วยน้ำเสียงคล้ายกันในระหว่างการประชุมปี 2558 ว่า อาจจะประหม่ามากกว่าคนทั่วๆ ไปสำหรับการผลิตเงินออกมาเยอะเพื่อใช้จ่าย” พร้อมเสริมว่า "มันอันตรายกว่าที่บรรดานักเศรษฐศาสตร์คิดอย่างแน่นอน"
อย่างไรก็ดี ดัชนีดอลลาร์ซึ่งติดตามค่าเงินดอลลาร์เทียบกับตะกร้าสกุลเงินต่างประเทศ ปรับตัวร่วงลง 6% ในปีที่ผ่านมา โดยการลดลงส่วนใหญ่เป็นผลมาจากอัตราเงินเฟ้อที่หดตัวจากกว่า 9% เป็น 3% ในปีที่แล้ว ทั้งหมดทําให้เกิดความคาดหวังว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ใกล้สิ้นสุดการขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้ว
อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญจำนวนหนึ่ง ยังตําหนิการใช้จ่ายของรัฐบาลในอดีตในช่วงการระบาดของโควิด-19 ว่า อัตราเงินเฟ้อ และปริมาณเงินในระบบที่เพิ่มขึ้นเข้าไปกัดเซาะกําลังซื้อของสกุลเงินดอลลาร์ และทําให้มูลค่าของเงินดอลลาร์ลดลง
ท้ายที่สุด บัฟเฟตต์และมังเกอร์อาจคิดถูกจากแนวคิดข้างต้น รวมทั้งในประเด็นสถานะของเงินดอลลาร์ในเวทีโลก โดยคำอธิบายของบัฟเฟตต์ข้างต้นอาจช่วยให้บรรดานักลงทุนโล่งใจเกี่ยวกับกระแส De-dollarization ได้ในระดับหนึ่ง
พิสูจน์อักษร....สุรีย์ ศิลาวงษ์