สคร.มั่นใจการบินไทยเริ่มเทรดตลาดหุ้นปี68
สคร.ประเมินการบินไทยจะสามารถกลับเข้ามาเทรดในตลาดหุ้นได้ในปี 68 หลังจากภาพรวมการดำเนินธุรกิจดีขึ้นต่อเนื่อง จากการปรับลดต้นทุนทั้งค่าใช้จ่ายด้านพนักงานและการเช่าเครื่องบินแทนการจัดซื้อ ทำให้สภาพคล่องอยู่ในเกณฑ์ที่ดี
นายธิบดี วัฒนกุล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.)เปิดเผยว่า สคร.ได้ประเมินภาพรวมการดำเนินงานของบริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) ซึ่งพบว่า ทยอยดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้คาดว่า บริษัท จะสามารถกลับเข้ามาทำการซื้อขาย(เทรด)ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลาดหุ้น)ได้ภายในช่วงปี นายธิบดี วัฒนกุล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.)เปิดเผยว่า สคร.ได้ประเมินภาพรวมการดำเนินงานของบริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) ซึ่งพบว่า ทยอยดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้คาดว่า บริษัท จะสามารถกลับเข้ามาทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลาดหุ้น)ได้ภายในช่วงปี 2568
“ขณะนี้ สภาพคล่องของการบินไทยกลับมาดีขึ้น ดังนั้น เราจึงประเมินว่า การดำเนินธุรกิจของการบินไทยจะเป็นไปตามแผนฟื้นฟูกิจการที่วางเป้าหมายไว้ โดยในปี 2568 บริษัทจะสามารถกลับเข้าไปซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ได้ แต่ทั้งนี้ อยู่ภายใต้เงื่อนไขว่า อัตราผลกำไร 12 เดือน จะต้องมีมูลค่าเกิน 2 หมื่น ล้านบาท และมีเงินทุนที่เป็นบวก”
อย่างไรก็ดี ในส่วนสถานะของการบินไทยต่อกระทรวงการคลังนั้น แม้ว่า การดำเนินงานภายใต้แผนฟื้นฟูของการบินไทยจะเป็นไปตามแผน แต่กระทรวงการคลังยังคงมีนโยบายให้สถานะของการบินไทยหลุดจากการเป็นรัฐวิสาหกิจ โดยไม่มีแผนที่จะนำกลับมา ซึ่งกระทรวงการคลังจะคงสัดส่วนการถือหุ้นใหญ่อยู่ที่ 49%”
เขากล่าวด้วยว่า สำหรับสาเหตุที่ทำให้ภาพรวมธุรกิจหรือสภาพคล่องของการบินไทยดีขึ้นนั้น ส่วนสำคัญเป็นเพราะบริษัทได้ปรับแผนการดำเนินธุรกิจ เปลี่ยนจากการซื้อเครื่องบิน เป็นการเช่า ทำให้ต้นทุนลดลง อีกทั้ง ที่ผ่านมายังได้ปรับลดจำนวนพนักงานลง จึงทำให้ค่าใช้จ่ายเรื่องการดูแลพนักงานลดลงด้วย
ทั้งนี้ ในช่วงกว่า 2 ปีของความพยายามฟื้นฟูกิจการของการบินไทย ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด จนไม่สามารถบินได้ตามปกติ ทำให้มีภาระหนี้สินกว่า 2 แสนล้านบาท โดยการบินไทยได้ดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเห็นชอบอย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะเป็นการหารายได้จากแหล่งอื่นนอกจากรายได้จากผู้โดยสาร เช่น การเพิ่มรายได้จากฝ่ายครัวของการบินไทย,รายได้จากการขนส่งสินค้าและไปรษณียภัณฑ์ และการลดค่าใช้จ่าย และการจำหน่ายสินทรัพย์รองที่ไม่อยู่ในแผนธุรกิจของบริษัท เพื่อรักษาสภาพคล่องสำหรับการดำรงกิจการให้ผ่านพ้นวิกฤติจนบริษัทสามารถมีกำไรได้
ในไตรมาสที่สองของปี 2566 บริษัทมีกำไรสูงสุดในรอบ 20 ปี โดยมีกำไรเกือบ 2.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 171% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 และบริษัทคาดว่าจะสามารถออกจากแผนฟื้นฟูฯได้ ในไตรมาส 4 ของปีนี้
ทั้งนี้ การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว มีส่วนสำคัญต่อการฟื้นตัวของธุรกิจสายการบิน โดยเมื่อวันที่ 24 มกราคมนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการคลังได้คาดการณ์การขยายตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะเดินทางเข้าประเทศไทยในปีนี้ที่ 33.5 ล้านคน จากปี 2566 ที่คาดว่ามีจำนวน 28 ล้านคน ขยายตัวที่19.5% ต่อปี เป็นการเพิ่มขึ้นจากนักท่องเที่ยวจากประเทศจีนและมาเลเซียเป็นสำคัญ และคาดมีรายได้จากการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวน 1.48ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 23.6% ต่อปีส่งผลดีต่อธุรกิจ การท่องเที่ยวและสาขาที่เกี่ยวข้อง