SCGP กำไร Q1/67 โต 41% ทำได้ 1.7 พันล้านบาท วางงบลงทุนทั้งปี 1.5 หมื่นล้านบาท
บมจ. เอสซีจี แพคเกจจิ้ง (SCGP) เปิดงบ Q1/67 รายได้จากการขายรวม 33,948 ล้านบาท เพิ่ม 1% ทว่ากำไรสุทธิเทียบปีก่อนโตถึง 41% จากอัตรากำลังผลิตที่เต็มที่กว่าเดิมภายใต้การคุมต้นทุนมีประสิทธิผล มองภาพทั้งปียังท้าทาย วางงบลงทุน 15,000 ล้านบาท เน้นซื้อกิจการ
บริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ผลการดำเนินงานไตรมาส 1/2567 ยังคงเติบโต สอดคล้องอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ในภูมิภาคอาเซียนเติบโตขึ้นโดยมีแรงขับเคลื่อนจากการบริโภคภายในประเทศที่แข็งแกร่งในกลุ่มสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม และสินค้าอุปโภคในชีวิตประจำวัน
รายได้จากการขายรวม 33,948 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
• รายได้จากการขายเติบโตขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากปริมาณการขายที่เพิ่มขึ้นในสายธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร และสายธุรกิจเยื่อและกระดาษ โดยมีสาเหตุหลักมาจากการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศ และการเทียบเคียงกับฐานที่ต่ าในไตรมาสที่ 1 ของปี 2566
นอกจากนี้อุปสงค์ของสินค้าฟุ่มเฟือยมีการปรับตัวดีขึ้นจากอัตราเงินเฟ้อทั่วโลกและในภูมิภาคที่ลดลงสอดคล้องกับก าลังซื้อของผู้บริโภคที่มีแนวโน้มฟื้นตัว
• รายได้จากการขายเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มธุรกิจหลัก เนื่องจากความต้องการบรรจุภัณฑ์โดยเฉพาะในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภคเติบโตได้ดีซึ่งได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวการเตรียมสินค้าก่อนช่วงวันหยุดยาว นโยบายกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐในประเทศไทย และการใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งในประเทศอินโดนีเซีย ประกอบกับการปรับตัวที่ดีขึ้นของภาคส่งออกในภูมิภาคอาเซียนโดยเฉพาะในกลุ่มอาหาร เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม และรองเท้า
EBITDA เท่ากับ 5,151 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 17 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยมี EBITDA margin อยู่ที่ร้อยละ 15
กำไรสำหรับงวดเท่ากับ 1,725 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 41 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 42 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และมีอัตรากำไรสุทธิอยู่ที่ร้อยละ 5
• กำไรสำหรับงวดเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน มีสาเหตุหลักมาจากปริมาณการขายและอัตราการใช้อัตรากำลังการผลิต (Utilization rate) ที่เพิ่มขึ้นในทุกผลิตภัณฑ์หลัก ควบคู่ไปกับการจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพตลอดห่วงโซ่คุณค่า
• กำไรสำหรับงวดเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณการขายและราคาขายกระดาษบรรจุภัณฑ์ในตลาดหลักและการปรับตัวที่สูงขึ้นของราคาเยื่อกระดาษทั่วโลก รวมถึงความสามารถในการบริหารจัดการเครือข่ายการจัดหาวัตถุดิบท่ามกลางแนวโน้มราคาที่สูงขึ้นของวัตถุดิบกระดาษรีไซเคิล
ด้านโครงการเงินในไตรมาสที่ 1 ของปี 2567 ทาง SCGP มีอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นเท่ากับ 0.98 เท่า เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 0.6 เท่า จากการบันทึกหนี้สินจากสิทธิในการซื้อขายหุ้น Fajar ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2566 โดยมีอัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อ EBITDA เท่ากับ 1.7 เท่า เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 1.9 เท่า และมีอัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อส่วนของผู้ถือหุ้นที่ 0.5 เท่า เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 0.4 เท่า
ส่วนแนวโน้มทั้งปี 2567 เศรษฐกิจโลกส่งสัญญาณฟื้นตัวส่งผลบวกต่อการเติบโตของตลาดในประเทศพัฒนาแล้วและตลาดเกิดใหม่ ห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาคเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติสอดคล้องกับการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้คาดการณ์ต้นทุนวัตถุดิบและราคาผลิตภัณฑ์มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ต้นทุนด้านพลังงานและค่าขนส่งมีแนวโน้มทรงตัว ราคาเยื่อกระดาษทั่วโลกคาดว่าจะคงอยู่ในระดับสูงตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นของอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอท่ามกลางโอกาสและความท้าทายจากสถานการณ์เศรษฐกิจ SCGP ยังคงเดินหน้าสู่เป้าหมายการเติบโตอย่างมีคุณภาพในปีนี้ โดยการมุ่งยกระดับการบูรณาการห่วงโซ่อุปทานและความสามารถในการทำกำไร
อีกทั้งบริษัทจัดสรรงบประมาณการลงทุน (CAPEX) ไว้ประมาณ 15,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในการลงทุนเข้าเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ (Merger and Partnership: M&P) และการขยายธุรกิจปัจจุบัน (Organic expansion) เป็นหลัก เพื่อเสริมความแข็งแกร่งทางการแข่งขันตลอดห่วงโซ่คุณค่า โดยเฉพาะการดำเนินงานในประเทศเวียดนามและประเทศอินโดนีเซีย โดย SCGP ยังคงมองหาโอกาสการเติบโตในธุรกิจที่มีอัตราการเติบโตสูงและสอดคล้องกับทิศทางเชิงกลยุทธ์ของ
บริษัทอย่างระมัดระวัง