ทิศทางดอกเบี้ยสหรัฐ ขาลงชัดเจน มีผลต่อค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น

ทิศทางดอกเบี้ยสหรัฐ ขาลงชัดเจน มีผลต่อค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น

เฟด ส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างเร็วที่สุดในการประชุมครั้งหน้า นั้นคือ ก.ย.67 มีผลต่อค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น

บล.เอเชีย พลัส ระบุว่า วานนี้มีการประชุม 2 ธนาคารกลางใหญ่ เริ่มจากญี่ปุ่น (BOJ) ขึ้นดอกเบี้ย 15 BPS. สู่ระดับ 0.25% และปรับลดการซื้อพันธบัตรลงไตรมาสละ 4 แสนล้านเยน ส่งผลให้ค่าเงิน USDJPY แข็งค่าขึ้นล่าสุดอยู่ระดับ 149 เหรียญฯ/เยน (1 เดือน เงินเยนแข็งค่าขึ้น 7.4%) ส่วนสหรัฐฯ (FED) คงดอกเบี้ยระดับเดิม 5.50% พร้อมกับแสดงท่าที DOVISH อย่างชัดเจนในอนาคต โดยประธาน FED ได้กล่าวกับสื่อมวลชนหลังการประชุมว่า หากข้อมูลทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะตัวเลขเงินเฟ้อ CPI มีสัญญาณอยู่ในทิศทางชะลอตัวลงสู่เป้าหมายที่ระดับ 2% FED ก็พร้อมที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างเร็วที่สุดในการประชุมครั้งหน้า นั้นคือ ก.ย.67

ซึ่งสอดคล้องกับที่ตลาดคาด โดยระยะถัดไป จะเริ่มเห็นทิศทางดอกเบี้ยของสหรัฐฯเป็นขาลงชัดเจนขึ้น โดยตลาดประเมินว่า FED จะปรับลดดอกเบี้ยปีนี้ 3 ครั้ง โดยผลการสำรวจของ FED WATCH TOOL ให้น้ำหนักเกือบ 90% ที่คาดว่าจะปรับลดดอกเบี้ยลงสู่ระดับ 5.25% และทยอยปรับลดดอกเบี้ยในการประชุมเดือน พ.ย.67 และ ธ.ค.67 ลง 0.25% จนคาด ณ สิ้นปีดอกเบี้ยจะอยู่ระดับ 4.75% ประเด็นดังกล่าว ส่งผลให้BOND YIELD 10Y สหรัฐ ปรับตัวลงแรง 2.65% อยู่ที่ 4.03% (ต่ำสุดในรอบ 6 เดือน) และกดดัน DOLLAR INDEX อ่อนค่าแรง 0.44% อยู่ระดับ 104.10 จุด

อย่างไรก็ตาม การที่ BOJ ปรับขึ้นดอกเบี้ย ส่งผลค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้น ซึ่งองค์ประกอบค่าเงินดอลลาร์มีสัดส่วนของค่าเงินเยนสูงเป็นอันดับ 2 ที่ 14% จึงทำให้ DOLLAR INDEX อ่อนค่าตามกลไล บวกกับธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่มีท่าทีลดดอกเบี้ยในอนาคต ยิ่งเป็นแรงเสริมให้ DOLLAR INDEX อ่อนค่ามากขึ้น ประเด็นดังกล่าว ส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นตามกลไก และเป็นปัจจัยหนุนให้ FLOW ต่างชาติมีโอกาสหันมาสนใจตลาดหุ้นไทยมากขึ้น ตามรายละเอียดในหัวข้อถัดไป

ทั้งนี้ วัฎจักรดอกเบี้ยขาลงทองสหรัฐ ที่มีโอกาสลดดอกเบี้ยเร็วกว่าไทยมากในช่วงที่เหลือของปี โดยตลาดคาดว่า FED มีโอกาสลดดอกเบี้ย 3 ครั้งในปีนี้ ส่วน BOT น่าจะคงดอกเบี้ยเหมือนเดิม ประเด็นดังกล่าวอาจส่งผลให้ส่วนต่างผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐกับไทยแคบลงเรื่อยๆ โดยฝ่ายวิจัยฯ ได้ทำการศึกษา ความสัมพันธ์ของส่วนต่าง BOND YIELD 10 ปี สหรัฐ – ไทย กับค่าเงินบาท พบว่าเคลื่อนไหวไปทิศทางเดียวกัน 

โดยมีค่า CORRELATION สูงถึง 0.85 โดย ทุกๆ ส่วนต่าง BOND YIELD ที่แคบลง 25 BPS.หนุนบาทแข็งขึ้น 0.7 บาท/เหรียญ อาจะจูงใจให้นักลงทุนต่างชาติกลับมาซื้อหุ้นไทยมากขึ้นเพราะ ต่างชาติมีโอกาสได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มเติม 6-7% ถ้าในช่วง 6 เดือน ถึง 1 ปี สหรัฐลดดอกเบี้ย 3 ครั้ง และไทยคงดอกเบี้ย อาจหนุนให้ค่าเงินบาทแข็งค่าลงไปอยู่ในกรอบ 33.1 –33.4 บาท/เหรียญ หรือแข็งค่าขึ้นราว 6-7% มีหุ้นที่ได้ประโยชน์จากประเด็นนี้ คือ หุ้น HIGH YIELD ลง LH, SIRI, SCB, KBANK,
TTB, PTTEP, หุ้นได้ประโยชน์บาทแข็ง GPSC, BGRIM, GULF

นอกจากนี้ฝ่ายวิจัยฯ ยังทำการศึกษาเพิ่มเติม พบว่า เวลาส่วนต่าง BOND YIELD 10 ปี ไทยกับสหรัฐแคบลง FUND FLOW ต่างชาติมักจะไหลเข้าตลาดหุ้นไทย ในทางกลับกันหาก BOND YIELD 10 ปี ไทยถูกสหรัฐทิ้งห่าง (GAP มากขึ้น) FUND FLOW ก็มักจะไหลออก โดยทุกๆ ส่วนต่าง BOND YIELD 10Y (US-TH) แคบลง 5 ถึง 10 BPS. หนุนให้ FUND FLOW ไหลเข้าได้ราว 1 หมื่นล้านบาท แต่ถ้า ส่วนต่าง BOND YIELD 10Y (US-TH) กว้างขึ้น 5 ถึง 10 BPS. กดดัน FUND FLOW ไหลออก 1 หมื่นล้านบาท

ดังนั้นฝ่ายวิจัยฯ จึงทำการค้นหาหุ้นไทย ที่ต่างชาติเริ่มเก็บสมผ่าน NVDR อย่างหนาแน่นในเดือน ก.ค. 67 ถึง 1.4 หมื่นล้านบาท โดยมี 10 หุ้นที่ต่างชาติซื้อผ่าน NVDR สูงสุด ในเดือน ก.ค. 67 คาดว่าจะมีเม็ดเงินไหลเข้าเพิ่มเติมในช่วงต่อจากนี้ คือ DELTA 3.7 พันล้านบาท, BBL 2.6 พันล้านบาท,CPALL 2.5 พันล้านบาท, KBANK 2.1 พันล้านบาท, CPF 1.7 พันล้านบาท, TRUE 1.5 พันล้านบาท, IVL 1.5 พันล้านบาท, PTTGC 1.3 พันล้านบาท, ADVANC 592 พันล้านบาท, BGRIM 584 พันล้านบาท