BTS ปรับโครงสร้างใหญ่ หวังรุกธุรกิจใหม่ ทดแทนสัมปทานรถไฟฟ้า

BTS ปรับโครงสร้างใหญ่ หวังรุกธุรกิจใหม่ ทดแทนสัมปทานรถไฟฟ้า

กลุ่ม BTS จัดทัพโครงสร้างครั้งใหญ่ ประกาศเพิ่มทุนทุ่มซื้อหุ้น ROCTEC-RABBIT รุกธุรกิจใหม่ ทดแทนสัมปทานรถไฟฟ้า ล่าสุด ดัน VGI รุกธุรกิจ Virtual Bank

บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS จัดทัพโครงสร้างครั้งใหญ่ ประกาศเพิ่มทุนทุ่มซื้อหุ้น ROCTEC-RABBIT รุกธุรกิจใหม่ ทดแทนสัมปทานรถไฟฟ้า ล่าสุด ดัน VGI รุกธุรกิจ Virtual Bank

กิจพณ ไพรไพศาลกิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยกับ "กรุงเทพธุรกิจ" ว่า การปรับโครงสร้างโดยหลักของ BTS จะทำให้ BTS มีการถือหุ้นทั้ง VGI ROCTEC และ RABBIT ซึ่ง BTS มีการประกาศเพิ่มทุน 4.5 หุ้นสามัญเดิมต่อ 1 หุ้นสามัญใหม่ ที่ราคา 4.50 บาท เงินที่ได้ทั้งหมดจะนำไปซื้อ การเช้าซื้อหุ้น Voluntary Tender Offer ของ ROCTEC และ RABBIT

โดย ROCTEC และ RABBIT จะใช้เงินประมาณ 1.4 หมื่นล้านบาท ขณะที่การเพิ่มทุนคาดว่าจะได้มาประมาณ 1.3 หมื่นล้านบาท ซึ่งทำให้ขาดอยู่ประมาณ 1 พันล้านบาท  แต่อย่างไรก็ตาม คาดว่า อาจจะมีเงินสดอยู่ในมือ หรืออาจจะมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน แต่ทว่าความเสี่ยงอยู่ตรงที่นักลงทุนจะนำเงินใส่เข้ามาลงทุนหรือไม่ เนื่องจากว่า นักลงทุนที่ลงทุนใน BTS เป็นนักลงทุนที่ยังติดหุ้น BTS เก่าอยู่ หรืออาจจะมีนักลงทุนบางรายที่ไม่ได้ใส่เงินลงทุนเข้าไป เพราะในช่วงหลัง BTS เองไม่ได้มีการจ่ายปันผล

ทั้งนี้ หากผู้ถือหุ้นเดิมไม่ใส่เงินเลย มีเฉพาะกลุ่ม BTS เท่านั้นที่ใส่เงินเข้าไป อาจจะได้เงินเพียงแค่ครึ่งเดียวประมาณ 6 พันล้านบาท โดยส่วนที่ขาดไปอาจะมีการกู้ ซึ่งในการปรับโครงสร้างครั้งนี้ BTS น่าจะมีการเตรียมความพร้อมไว้แล้วในการที่จะมีแหล่งเงินกู้ที่จะทำ Tender offer 

"ถ้าเพิ่มทุนแล้วผู้ลงทุนใส่เงินเยอะ ก็อาจจะไม่มีปัญหา แต่ถ้าผู้ลงทุนใส่หุ้นน้อย เมื่อไปกู้มาแล้ก็ยังมีต้นทุนดอกเบี้ย จึงเป็นการซ้ำเติมต่อกำไรสุทธิได้"

นอกจากนี้ในส่วนของ VGI ที่มีการปรับโครงสร้าง ซึ่ง VGI จะมีการเพิ่มทุน PP กับพาร์เนอร์เข้ามาถือหุ้น 4 ราย ทำให้สัดส่วน BTS ที่ถือหุ้น VGI ลดลง จากกว่า 60%  เลยประมาณกว่า 30% อย่างไรก็ตาม ในระยะสั้นและระยะยาวยังคงเป็นเนกาทีฟ และเป็นการย้ำความเสี่ยงในระยะกลางของ VGI ที่สิ้นสุดสัญญาสัมปทานกับ BTS ที่มีปี 2572 นั่นแปลหลังจากปี 2572 VGI จะไม่มีธุรกิจหลัก หรือยกเว้นจะไปต่อสัญญากันในภายหลัง

แต่อย่างไรก็ตาม บนเป้าหมายที่ผู้บริหารมองคือจะใช้ VGI เข้าไปลงทุนในธุรกิจ Virtual Bank แต่ผู้ที่เข้ามาถือหุ้น PP ของ VGI ไม่ใช่พาร์ทเนอร์ธนาคารเป็นนักลงทุน และหลังจากที่มีการปรับโครงสร้างแล้วเสร็จจะมีการมุ่งหน้าไปที่ธุรกิจ Virtual Bank 

ทั้งนี้การจากการปรับโครงสร้างทั้งหมดในครั้งนี้ เป็นการที่หน้าไปยังธุรกิจใหม่ ๆ ที่ไม่ใช่ธุรกิจขนส่ง เนื่องจากว่า ธุรกิจขนส่งในวันข้างหน้าจะมีโครงการรถไฟฟ้าให้บริหารหลายสายในอนาคต แต่สิ่งที่ยากคือ ผลตอบแทนจะไม่เท่ากับสัมปทานปัจจุบัน เพราะสัมปทานปัจจุุบันที่ได้มานานแล้วเป็นสัญญาที่ BTS มีอัพไซด์จากผู้โดยสารหากมีผู้โดยสารมากก็จะทำให้มีกำไรมาก แต่สัมปทานในช่วงหลังจะเป็นสัญญาเดินรถ นั่นแปลว่า BTS จะได้แค่ค่าเดินรถ หากมีผู้โดยสารใช้น้อยก็ไม่เสี่ยง แต่หากมีผู้โดยสารใช้มากก็ไม่ได้กำไรเพิ่มเติม จึงดีไม่เท่าสัมปทานเดิม

ขณะเดียวกัน เป็นการย้ำภาพ BTS เป็นธุรกิจที่มีกระแสเงินสดเยอะ สามารถจ่ายปันผลได้ แต่วันนี้เข้าเริ่มเข้าสู่ท้ายของสัญญา และเริ่มเข้าสู่อินเวสเมนท์ เฟส หรือวัฎจักรการลงทุนในรอบใหม่ ซึ่งมีความสุ่มเสี่ยง ในการจ่ายปันผลมาก ๆ ในช่วงเวลาเช่นนี้คงเกิดขึ้นได้ยาก อีกทั้งเหลือไม่มากที่จะสามารถรอได้  จึงพยายามเร่งทำธุรกิจใหม่เพื่อให้เร่งขึ้นมาได้ 

ส่วนธุรกิจของ ROCTEC พักหลังมีความเป็น IT มากขึ้น ซึ่งกลุ่ม BTS มองในเรื่องของเอ็นเตอร์เทนเม้นท์คอมเพล็กซ์ ซึ่งคาดว่าจะเป็นแผนระยะกลาง ขณะที่ RABBIT มีธุรกิจการเงิน ซึ่งอาจจะเข้ามาเสริมธุรกิจ Virtual Bank ได้ในอนาคต แต่อย่างไรก็ตาม การดึงทั้งหมดเข้ามาอยู่ภายใต้ BTS แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจในการปรับทิศทางของธุรกิจใหม่เพื่อให้มีความพร้อมในสิ่งที่บริษัทอยากเดินไปข้างหน้า

อย่างไรก็ตาม ในช่วงระยะสั้นอาจจะมีผลกระทบในการเพิ่มทุนหากผู้ถือหุ้นเดิมไม่ใส่เงินลงทุนเข้ามา จะมีแค่เงินจากกลุ่ม BTS แค่ครึ่งเดียว  นั่นแปลว่าอจจะมีการกู้ และมีต้นทุนทางการเงิน ซึ่งจะมาซ้ำเติมผลประกอบการ ทำให้เกิดการลดทอนการจ่ายเงินปันผลลงไปอีก เพราะฉะนั้นจึงกลายเป็นภาพลบลงไป