4 สัญญาณบ่งบอกเศรษฐกิจสหรัฐ RECESSION
4 สัญญาณบ่งบอกเศรษฐกิจสหรัฐ RECESSION ได้สร้างแรงกดดันต่อสินทรัพย์เสี่ยงผันผวนในช่วงนี้ แต่อย่างไรก็ตาม FED ยังมีเครื่องมือสำรองในการต่อต้านกับ RECESSION คือ การปรับลดดอกเบี้ย ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระดับสูง
บล.เอเชีย พลัส ระบุว่า ดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจหลายตัวในสหรัฐฯ ส่งสัญญาณว่าความเสียงที่อาจจะเกิด RECESSION ในอนาคตมีสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขในตลาดแรงงาน, PMI , ตัวเลขที่แสดงถึงกำลังซื้อ ทั้งนี้รวมถึงดัชนีที่วัดจากหัวข้อข่าวที่กล่าวถึง RECESSION ก็ปรับตัวขึ้นมาอยู่ในระดับสูงใกล้เคียงกับช่วงเวลาที่ UK และญี่ปุ่น เข้าสู่TECHNICAL RECESSION ในช่วง2H66 ที่ผ่านมา ภาวะดังกล่าวสร้างแรงกดดันต่อตลาดหุ้นทั่วโลกให้ปรับตัวลดลง ซึ่งรวมถึง SET INDEX ก็น่าจะได้รับแรงกดดันเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ในอีกมุมหนึ่ง เรามองเห็นเครื่องมือในการที่จะต่อต้านการเกิด RECESSION ที่มีความพร้อมมากเช่นกัน ซึ่งได้แก่ อัตราดอกเบี้ยนโยบายของ FED ที่ยังสูงถึง 5.50% เป็นไปได้ว่าอาจเห็นการปรับลดดอกเบี้ยที่มากกว่า 2 ครั้งในปีนี้ ขณะที่เริ่มมีการคาดหมายว่า การปรับลดดอกเบี้ยบางครั้งอาจอยู่ที่ระดับ 0.5% ประเมินว่า SET INDEX น่าจะผันผวน จากความกังวลเรื่อง RECESSION ที่กลับมา วันนี้ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวที่ 1300 - 1320 จุด หุ้น TOP PICK เลือก BDMS, BEM และ CPN
ทั้งนี้กระแสความกังวลเศรษฐกิจ RECESSION กลับมาอีกครั้ง หลังตลาดแรงงานสหรัฐฯส่งสัญญาณอ่อนแอต่อเนื่อง ซึ่งสาเหตุในเดือน ก.ค. 67 ส่วนหนึ่งคาดได้รับผลกระทบจากพายุเฮอริเคน บวกกับมีคนกลับมาทำงานเยอะขึ้น ส่งผลให้ตัวเลขต่างๆ ออกมาต่ำกว่าคาดการณ์ ไม่ว่าจะเป็น
- การจ้างงานนอกภาคการเกษตร ชะลอตัวลง 2 เดือนติดต่อกันและต่ำสุดในรอบ 31 เดือน
- อัตราการว่างงาน สูงสุดในรอบ 33 เดือน โดยสัญญาณจาก SAHMRULE เตือนว่าอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น 0.5% จากจุดต่ำสุดในรอบ 12 เดือน ซึ่งจากสถิติมีความแม่นยำสูงถึง 100% ในการทำนาย RECESSION
- ค่าจ้างเฉลี่ยรายชั่วโมง YOY ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 24 เดือน
นอกจากนี้ 4 สัญญาณบ่งบอกเศรษฐกิจ RECESSION ใน US (เกณฑ์ของ NBER) ยังมีแนวโน้มชะลอตัวลง เฉพาะอย่างยิ่งยอดค้าปลีก และการจ้างงาน ซึ่งหากภาคส่วน ต่างๆ เข้าสู่ภาวะหดตัว (GROWTH < 0%) อาจมีความเสี่ยงต่อเกิดเศรษฐกิจถดถอย
ประเด็นดังกล่าวกดดันสินทรัพย์ต่างๆ ร่วงลงหนัก ทำให้ศุกร์ที่ผ่านมายังคงเห็นภาพตลาดหุ้นโลกพากันดิ่งต่อเนื่อง โดยในฝั่งสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงราว -1.5% ถึง -2.4% ส่วนฝั่งยุโรปปิดตัวในแดนลบราว -1.3% ถึง -2.7% ขณะที่ BOND YIELD สหรัฐอายุ 2Y ร่วงลงเร็วราว 28 BPS. (MTD) สู่ 3.88% ซึ่งใกล้นำหน้าอายุ10Y ที่ระดับ 3.79% ทำให้ INVERTED YIELD CURVE ล่าสุด -0.08%
ขณะเดียวกันความกังวล DEMAND ชะลอตัว ยังสร้างราคาน้ำมันดิบโลกร่วงลงราว 3% แต่อย่างไรก็ตามความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์ที่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น ยังมีโอกาสผลักให้ราคาน้ำมันขยับขึ้นได้ ซึ่งต้องติดตาสถานการรือย่างใกล้ชิด
จากความกังวลเศรษฐกิจ RECESSION ได้สร้างแรงกดดันต่อสินทรัพย์เสี่ยงผันผวนในช่วงนี้ แต่อย่างไรก็ตาม FED ยังมีเครื่องมือสำรองในการต่อต้านกับ RECESSION คือ การปรับลดดอกเบี้ย ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระดับสูง