“ตัน อิชิตัน “ ลั่นเดินหน้าทุบสถิติใหม่ รายได้ – กำไร แรงหนุนข้ามปี 68

“ตัน อิชิตัน “ ลั่นเดินหน้าทุบสถิติใหม่  รายได้ – กำไร แรงหนุนข้ามปี 68

“ตลาดชาเขียว” ของไทยไม่เคยขาดผู้เล่นที่เขย่าตลาด “ตัน ภาสกรนที” หลังจากพลักดัน บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ICHI เข้าสู่ตลาดนี้เมื่อ 10 ปีก่อน ปัจจุบันมีไลน์สินค้ามากถึง 25 รสชาติใน 7 สายผลิตภัณฑ์ด้วยกำลังการผลิต 1,500 ล้านขวดต่อปี และ 200 ล้านกล่องต่อปี

รวมทั้งยังสามารถ “รั้งตำแหน่งทางตลาดอันดับต้นของอุตสาหกรรม” พอจะการันตรี การเป็น “ผู้นำแบรนด์เครื่องดื่มชาเขียว” ในไทยได้อย่างเหนี่ยวแน่น แม้จะเผชิญปัจจัยลบทั้งการเข้าไปลงทุนในตลาดอินโดนีเซียที่ใช้ระยะเวลานานกว่าจะคืนทุน การซื้อแบรนด์ “ไบเล่” แต่ยังไม่สามารถทำกำไรได้ รวมทั้งกำไรลดลงจากการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตน้ำตาล ปี 2566

ด้านราคาหุ้นที่เคยสร้างปรากฎการณ์พีคสุด 29 บาท (2557) ปรับตัวลดลงตามความคาดหวังหายไปจนราคาหุ้นต่ำกว่า 10 บาทแต่ล่าสุดอยู่ที่ 15 บาท (30 ส.ค.67) ซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วง 3 ปี

ด้วยยอดขายปี 2566 ที่ 8,085 ล้านบาทสถิติ All Time High และรอบ 6 เดือนปี 2567 มีรายได้ ที่ 4,499 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.1 % แต่ไฮไลท์คือ คงเป้าหมายปีนี้ด้วยรายได้ 9,000 ล้านบาท และปี 2568 แตะ 10,000 ล้านบาท ฝ่าปัจจัย seasonal ธุรกิจเครื่องดื่มที่เติบโตน้อยสุดครึ่งปีหลัง

“ตัน ภาสกรนที” กรรมการผู้อำนวยการ และกรรมการ ICHI ปักธงเป้าหมายยอดขายปีนี้ ที่ 9,000 ล้านบาท และครึ่งปีหลังมียอดขายมากกว่าครึ่งปีแรก มาจาก 3 ปัจจัยคือควบคุมต้นได้ดีการดึงไลน์จ้างผลิต (OEM) มาผลิตเอง และการออกสินค้าเพิ่ม 5 โปรดักส์ 

ปัจจัยด้านต้นทุนวัตถุดิบ คาดการณ์จะไม่เปลี่ยนแปลงรุนแรงในไตรมาส 3 และ 4 และต้นทุนการขายและบริการ – ต้นทุนการตลาดจะลดลงจากครึ่งปีแรกใช้ไป 204 ล้านบาท ทั้งปีอยู่ที่ 380 ล้านบาท หรือ 4.22 % เนื่องจากไม่ต้องโหมตลาดแข่งขัน

“ตัน อิชิตัน “ ลั่นเดินหน้าทุบสถิติใหม่  รายได้ – กำไร แรงหนุนข้ามปี 68                 ประเด็นที่มีความกังวลคือต้นปีรายการค่าใช้จ่ายสูง มาจากการคำสั่งซื้อเครื่องจักรตั้งแต่ปี 2566 ช่วงค่าเยนอ่อนค่าแต่ระหว่างปีรับรู้ขาดทุนค่าเงินทางบัญชีเข้ามา 42 ล้านบาท แต่พอเครื่องจักรเข้ามาครึ่งปีหลัง 2567 จะตีกลับมาเพิ่มจากยอดขายและค่าใช้จ่ายลดลง

เนื่องจากเครื่องจักรดังกล่าวมีส่วนช่วยเพิ่มยอดขาย ปี 2568 แตะ 10,000 ล้านบาท ซึ่งมีการเดินเครื่องสิ้นปีมีไลน์ผลิตใหม่เป็น 1,700 ล้านขวดต่อปี ส่วนปี 2567 มีการ ดึงการผลิต OEM มาทำเองในกลุ่ม UHT เพิ่มได้อีก 200 ล้านกล่องต่อปี มีสัดส่วนรายได้ 800 ล้านบาทในช่วงครึ่งปีแรก 2567และมีผลดีต่อกำไรขั้นต้น(GP)

“กำไร GP ครึ่งปีแรก 26 % มาจากกำลังการผลิตเต็ม 77 % หากต้นทุนคงที่ทั้งน้ำมันและน้ำตาลตัวเลขที่วางไว้ไม่กังวล และยังหวังว่ากำไรสุทธิครึ่งปีหลังจะดีกว่าครึ่งปีแรกภายใต้ต้นทุนไม่ได้เปรียบแปลงมาก “

นอกจากนี้ยังมีข่าวบวก “พันธมิตร”  บริษัท ฮอน ชิน (ประเทศไทย) เข้ามาหลังเจรจาขายที่ดินใกล้กับโรงงานอยุธยา 72 ไร่ ซึ่งแนวโน้ม 90 % อยู่ระหว่างดำเนินการจัดตั้งโรงงานกับทาง BOI เบื้องต้นหากดำเนินการได้มูลค่ารับรู้เข้ามาบันทึกเป็นรายการพิเศษเบื้องต้น 360 ล้านบาท แต่หากไม่ผ่าน BOI ปรับเป็นการเช่าระยะยาวแทนแต่เชื่อว่าไม่น่าจะมีปัญหา

ทางพันธมิตรจะเข้ามาตั้งโรงงานผลิตเบื้องต้นอยู่ที่ 300 ล้านขวดต่อปี และจะเป็นการช่วยเพิ่มกำลังการผลิตให้กับ ICHI ไปด้วย โดยเฉพาะไลน์ผลิตที่ไม่เก่งหรือผลิตได้น้อยจะมีทางพันธมิตรกลุ่มนี้เข้ามาเสริมภายใต้ยอดขายเกิน 10,000 ล้านบาทไปแล้ว คาดการณ์ว่า GP จะขยับมาอยู่ที่ 27 %

“เบื้องต้นเจรจาพันธมิตรวางแผนผลิตเพิ่มได้สิทธิเป็นลำดับแรก และไม่มีขั้นต่ำ ซึ่งถือว่าเป็นประโยชน์ต่อ ICHI เพราะโรงงานคล้ายกันแต่ทางกลุ่มนี้ไฮสปีดผลิตจะดีกว่า ยอดขายเพิ่มขึ้นได้ประโยชน์ในระยะยาวมากกว่า แลกกับไม่ต้องมีความเสี่ยงเหมือนในอดีต เรียกว่า คุ้มมากกว่าเสีย ”

และปัจจัยสุดท้ายเรียกได้ว่าเป็นอาวุธสำคัญสินค้าที่ทำยอดในตลาดภายในประเทศด้วย ออกสินค้าใหม่ 5 ตัว มี “น้ำดื่มองุ่นเคียวโฮ” ออกขายสิ้นเดือนส.ค. “ ชามะลิ” เป็นตลาดที่แข่งขันรุนแรงแต่ ICHI เป็นเซ็กเมนต์พรีเมี่ยนวัดที่รสชาติและกลิ่น “ชาแอปเปิ้ล” มีขายเฉพาะ 7-11 “ตันซันซู” จะนำกลับมาขายอีกรอบ และ“ชาเขียว”

อย่างไรก็ตาม ICHI ยังมองหาธุรกิจใหม่เข้ามาเสริม เพื่อเป็น  "New Business"  สร้าง S curve  ซึ่งที่ผ่านมามีหลายบริษัทมานำเสนอแต่ยังไม่ชัดเจน  ด้วยบริษัทไม่ได้มีกำไรสูงมากหากธุรกิจไหนไม่ชัวร์ก็ไม่จำเป็นต้องลงทุน  เพราะไม่มีนโยบายรับความเสี่ยงยังต้องระมัดระวัง รอให้มั่นใจเกิน 80 % จริงถึงจะตัดสินใจลงทุน

ด้านการขยาย ตลาดต่างประเทศ ประเทศอินโดนีเซีย ยังเป็นตลาดใหญ่และโอกาสสูงมาก  ล่าสุด ปี 2566 มีกำไรรับรู้เข้ามา 102 ล้านบาท แม้ว่ายอดขายครึ่งปีแรก 2567 จะเห็นการลดลงถึง 90%  แต่เนื่องจากมีการปรับโฉมใหม่ของสินค้าจากการเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบทำให้ต้องเก็บสินค้าเก่าและค่อยออกสินค้าใหม่ พร้อมกับการทำแคญเปญ  “แจกเงิน” มูลค่า 300 ล้านรูปี (6.6 แสนบาท) ซึ่งได้กระแสตอบรับดีมากเหมือนกลยุทธ์ที่เคยทำในประเทศไทยแต่ที่อินโดนีเซียดำเนินการถูกกฎหมาย 

ดังนั้นยอดขายส่วนนี้คาดว่าจะเพิ่มขึ้นช่วงปลายไตรมาส 3 นี้แต่ยังไม่ได้หวังสามารถทำกำไรอัตราที่สูงมากเพราะต้องการเน้นขยายฐานให้ทั่วถึงเพื่อขยายสินค้าที่สำคัญกว่า ด้วยประเทศอินโดนีเซียมีขนาดที่ใหญ่และกระจัดกระจายทำให้ทำการตลาดได้ยากกว่าไทย หากปีนี้มี มีกำไร 40 ล้านบาทถือว่าเป็นที่พอใจแล้ว

ตัน ภาสกรนที  ยังกล่าวถึงผู้ถือหุ้นอีกด้วยว่า ICHI ไม่มีภาระหนี้หากผลประกอบการเติบไม่จำเป็นต้องเก็บเงินสดไว้จำนวนมาก ดังนั้นมีโอกาสที่จะเสนอบอร์ดปรับเปลี่ยนเพิ่มปันผลระหว่างกาลจากปีล่าสุดจ่ายปันผลในอัตราหุ้นละ 1 บาท