“ไลท์เน็ท” เปิดแผนเวอร์ชวลแบงก์ ขนพันธมิตร10 ราย - ฐานทุนหมื่นล้าน

“ไลท์เน็ท” เปิดแผนเวอร์ชวลแบงก์  ขนพันธมิตร10 ราย - ฐานทุนหมื่นล้าน

ไลท์เน็ทกรุ๊ป - วีแล็บ ผนึกแผนหวังคว้าไลเซนต์ “เวอร์ชวลแบงก์” ตอบทุกโจทย์เกณฑ์ธปท. ฐานทุนเตรียมกว่าหมื่นล้านบาท แพลตฟอร์ตและเทคโนโลยีเข้าถึงสินเชื่อกลุ่มไร้รายได้ คลอบคลุมคนไทย 43 ล้านคน และเชื่อมธุรกิจ 150 ประเทศ พร้อมประสบการณ์ธุรกิจจริงในตลาดฮ่องกง - อินโดฯ

เปิดตัว 5 กลุ่มชิงใบอนุญาต หรือ “ไลเซนส์” ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา หรือ Virtual Bank หลังปิดรับยื่นเอกสาร19 ก.ย.67 กับทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประกอบด้วย กลุ่ม“บมจ.เอสซีบี เอกซ์” (SCB) ที่มีพันธมิตรใหญ่ “WeBank” ธนาคารดิจิทัลชั้นนำในจีน และ KakaoBank ธนาคารยักษ์ใหญ่ของเกาหลีใต้,กลุ่ม“กรุงไทย-เอไอเอส-โออาร์” 

“กลุ่มแอสเซนด์ มันนี่” ผู้ให้บริการอีวอลเล็ต ภายใต้ชื่อ “ทรูมันนี่” ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทในเครือของ “เครือเจริญโภคภัณฑ์” (ซีพี) จับมือ “แอนท์ กรุ๊ป” (Ant Group) ซึ่งเป็นผู้นำในฟินเทค เป็นบริษัทลูกของอาลีบาบา (Albaba) จากจีน ,“ซี กรุ๊ป” ผนึก 4 พันธมิตร ชิงเวอร์ชวลแบงก์ ทั้งธนาคารกรุงเทพ (BBL) บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง หรือ BTS ในนามบริษัทลูกบริษัท วีจีไอ หรือ VGI ยังมีเครือสหพัฒน์ และไปรษณีย์ไทย

และกลุ่มสุดท้าย Lightnet ภายใต้ “ชัชวาลย์ เจียรวนนท์” จับมือ WeLab ผู้นำด้าน Virtual Bank ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกซึ่งกลุ่มสุดท้ายถือว่าโปรไฟล์เป็นที่รู้จักในตลาดการเงินไทยน้อยที่สุด

นายหิรัญกฤษฎิ์ อรุณานนท์ชัย กรรมการบริหาร Lighthub Asset และผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Lightnet Group กล่าวถึงการเข้าร่วมชิง Virtual Bank ร่วมกับกลุ่ม WeLab ผ่าน “Lighthub Asset” ตอบโจทย์เกณฑ์เงื่อนไขได้หมดและยังมีจุดเด่น ทั้งความแข็งแกร่งฐานทุนของLightnet ได้เตรียมเงินทุนรองรับVirtual Bank มากกว่า 500 ล้านดอลลาร์เพื่อชิงไลเซนต์ ถือว่าสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดที่สูงสุด10,000 ล้านบาท

โดยทางกลุ่มเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ 51 % และมี Welab รวมทั้งพันธมิตรยังไม่เปิดเผยเข้ามาร่วมเบื้องต้น 10 ราย กลุ่มLightnet มีจุดเด่นเข้าถึงฐานข้อมูลคนไทย 46 ล้านคน กระจายกลุ่มที่ไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อ เช่น เกษตกร ค้าปลีก-ค้าส่ง ธุรกิจอาหาร ธุรกิจขนส่ง ธุรกิจออนไลน์-โซเซียล ธุรกิจไฟแนนซ์ภูธร จากการดำเนินธุรกิจทางการเงินระดับโลกคลอบคลุมนอนแบงก์ฝาก-ถอนออนไลน์ ค้าทองคำ บริหารสินทรัพย์ สินเชื่อส่วนบุคคล และวาณิธนกิจให้บริการใน 150 ประเทศทั่วโลกผ่านพันธมิตร

 

รวมทั้งทางกลุ่ม WeLabมีประสบการณ์การทำธุรกิจ Virtual Bank จริงภายใต้การนำเสนอบริการสินค้าทางการเงินและการเข้าถึงสินเชื่อกลุ่มที่ไม่มีเครดิตบูโรหรือมีปัญหาด้วยเทคโนโลยี AIและโซลูชัน Edge Computing ที่ได้รับสิทธิบัตรทำให้ต้นทุนการเงินลดลงพลักดันธุรกิจเพย์เมนต์ไร้พรมแดน

“ทุกกลุ่มที่เข้าชิงมีความแข็งแกร่งและความพร้อมหมด คงบอกไม่ได้ว่าใครดีกว่าใคร กลุ่มLightnet จุดแตกต่างจาก 4 รายมีแพลตฟอร์มVirtual Bank อยู่แล้ว สามารถดำเนินบริการตามเกณฑ์ 12 เดือน และเร็วกว่านั้นด้วยซ้ำ เข้าถึงกลุ่มผู้ที่ไม่มีรายได้ประจำ เชื่อมต่อหลายหลายธุรกิจที่เป็นพันธมิตรและยังไม่ใช่ หากได้ดำเนินการจริงเชื่อมั่นศักยภาพทำให้ Virtual Bank ไทย ก้าวขึ้นมาศูนย์การเงิน 10 อันดับแรกของโลก”

ด้านนายไซมอน หลุง ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร WeLab กล่าวถึง การทำธุรกิจVirtual Bank และประสบความสำเร็จในตลาดฮ่องกง ใต้แบรนด์ WeLab Bank และในอินโดนีเซียภายใต้แบรนด์ Bank Saqu มีผู้ใช้บริการกว่า 65 ล้านรายในเอเชียแปซิฟิก และอนุมัติสินเชื่อดิจิทัลแล้วกว่า 5 แสนล้านบาทให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัลแบงก์กิ้งที่ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ทางการเงินสำหรับลูกค้ารายย่อยและลูกค้าองค์กร ซึ่งประเมินแล้วว่าทางกลุ่มอาจจะไม่ใช่อันดับแรกได้รับการคัดเลือกได้ไลเซนต์ในไทยแต่จะติด 1 ใน 3แน่นอน

การทำVirtual Bank ระบบการดำเนินการและเทคโนโลยีจะมีความยากและไม่ง่ายอย่างที่คิดช่วงแรกต้องขาดทุนหลายปี ประเมินทุกตลาดที่เข้าไปลงทุนประมาณ 3-5 ปีถึงกำไร รวมทั้งไทย   ซึ่ง  Virtual Bank      ฮ่องกงไลเซนต์ปี 61แต่ดำเนินการได้ปี 63 จะสามารถรับรู้กำไรสิ้นปี 67รวมทั้งระบบตรวจสอบให้สินเชื่อและการบริหารความเสี่ยงที่ต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามามีช่วยซึ่งจากประสบการณ์ทางWeLab สามารถบริหารหนี้เสีย (NPL) ให้ต่ำกว่าอุตสาหกรรมเป็นเท่าตัวรวมทั้งไทย

“ประสบการณ์ที่ฮ่องกงไม่ได้ขาดโปรดักส์การเงินแต่ขาดสถาบันจากประชากร 7 ล้านคน เป็นวัยทำงาน 2 ล้านคน เจาะกลุ่มดึงเป็นลูกค้า 6 แสนคน ส่วนอินโดนีเซียตลาดรายได้น้อยแต่ประชากรสูงไม่ได้ขาดสถาบันการเงินแต่ขาดโปรดักส์การเงินก็สามารถเจาะฐานลูกค้าแตะ 1ล้านคนใน 6 เดือนแรกได้และปี67 แตะ 2 ล้านคน ซึ่งตลาดไทยจะมีภาพที่คล้ายกับอินโดฯ ”