THG แจ้งพบรายการ ‘ต้องสงสัย’ ในปี 66 เพิ่มอีก 63 ล้าน เร่งปรับโครงสร้างการเงิน

THG แจ้งพบรายการ ‘ต้องสงสัย’ ในปี 66 เพิ่มอีก 63 ล้าน เร่งปรับโครงสร้างการเงิน

THG แจ้งผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ พบรายการ “ต้องสงสัย” ในปี 66 ส่งผลเกิดความเสียหายทางการเงินเพิ่มอีก 63 ล้านบาท พร้อมเร่งปรับโครงสร้างการเงิน หวังเรียกเชื่อมั่น

บริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ THG แจ้งรายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่า 1. ความคืบหน้าของการดำเนินการเกี่ยวกับรายการอันควรสงสัย ตามที่บริษัทฯ ได้แจ้งไว้ก่อนหน้านี้เกี่ยวกับการตรวจพบรายการอันควรสงสัย คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้นประมาณ 105,000,000 บาท (ไม่รวมดอกเบี้ย) บริษัทฯ ขอเรียนให้ทราบว่า บริษัท ราชธานีพัฒนาการ (2014) จ ากัด (“RTD”)1 ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์จากรายการอันควรสงสัย ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้กับบริษัทฯ เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 112,798,907 บาท (รวมดอกเบี้ย ซึ่งคำนวณจนถึงวันที่ทำหนังสือรับสภาพหนี้) บริษัทฯ จะใช้หนังสือรับสภาพหนี้เป็นหลักฐานในการเรียกร้องให้ RTD ชำระเงินให้แก่บริษัทฯ

โดยปัจจุบัน บริษัทฯ อยู่ระหว่างการเตรียมฟ้องร้องดำเนินคดีกับ RTD ตามหนังสือรับสภาพหนี้และกับอดีตผู้บริหารและพนักงานที่มี ส่วนเกี่ยวข้องสำคัญกับการทำรายการอันควรสงสัย ทั้งนี้เพื่อปกป้องและรักษาผลประโยชน์ของบริษัทฯ และผู้ถือหุ้น

 

2.การตรวจพบรายการอันควรสงสัยเพิ่มเติม บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญของการรายงานข้อมูลเกี่ยวกับรายการอันควรสงสัยแก่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และผู้ถือหุ้นโดยไม่ชักช้า เมื่อบริษัทฯ ตรวจพบรายการอันควรสงสัย เพื่อรักษาความโปร่งใสและยึดมั่นใน มาตรฐานที่ดีด้านธรรมาภิบาล

ดังนั้น บริษัทฯ ขอเรียนให้ทราบว่าจากการตรวจสอบเพิ่มเติม บริษัทฯ พบรายการอันควรสงสัยเพิ่มเติมของ บริษัทฯ และบริษัทย่อย ซึ่งรายการดังกล่าวเกิดขึ้นในปี 2566 รายการอันควรสงสัยดังกล่าวได้ส่งผลให้เกิดความเสียหายทางการเงินแก่บริษัทฯ และบริษัทย่อย รวมมูลค่า ทั้งสิ้น 63 ล้านบาท อย่างไรก็ดี มูลค่าความเสียหายดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางการเงินหรือความสามารถ ในการดำเนินงานของกลุ่มบริษัทฯ แต่อย่างใด

ทั้งนี้ คณะกรรมการตรวจสอบได้ดำเนินการตรวจสอบธุรกรรมของบริษัทฯ และบริษัทย่อยสำคัญในช่วงปี 2566-2567 ที่ผ่านมาอย่างรอบคอบ และมีความเห็นว่านอกเหนือจากรายการอันควรสงสัยตามข้อ 1. และข้อ 2. แล้ว ไม่มีรายการอันควรสงสัยเพิ่มเติมใด ๆ ของบริษัทฯ และบริษัทย่อยที่ยังไม่ได้รับการเปิดเผย หรือพิจารณา เพื่อปกป้องและรักษาผลประโยชน์ของบริษัทฯ และผู้ถือหุ้น

โดยบริษัทฯ จะดำเนินการแจ้งเรื่องดังกล่าวต่อสำนักงาน คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และดำเนินการทางกฎหมายต่ออดีตผู้บริหารและพนักงานที่มีส่วน เกี่ยวข้องสำคัญกับการกระทำที่เป็นเหตุให้เกิดรายการอันควรสงสัยดังกล่าว เพื่อปกป้องและรักษาผลประโยชน์ของบริษัทฯ และผู้ถือหุ้น

3. การตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญไว้ในงบการเงินความเสียหายทางการเงินที่เกิดขึ้นกับบริษัทฯ และบริษัทย่อยจากรายการอันควรสงสัยทั้งหมด (กล่าวคือรายการ ตามข้อ 1. และข้อ 2. ข้างต้น) นั้น บริษัทฯ ได้บันทึกบัญชีโดยตั้งส ารองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเต็มจำนวนในงบการเงินรวม สำหรับไตรมาสที่ 3 ปี 2567แล้ว เป็นจำนวนรวมทั้งสิ้นประมาณ 172 ล้านบาท

ทั้งนี้ การตั้งสำรองดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้งบการเงินรวมของบริษัทฯ สะท้อนถึงฐานะทางการเงินและผลการด าเนินงานที่แท้จริง รวมถึงเพื่อให้สอดคล้องกับ หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป

4. มาตรการป้องกันเพื่อมิให้เกิดรายการอันควรสงสัยเพิ่มเติม ความเสียหายทางการเงินที่เกิดขึ้นกับบริษัทฯ และบริษัทย่อยจากรายการอันควรสงสัยทั้งหมดนั้น มีสาเหตุมาจากเหตุการณ์ในอดีตทั้งสิ้น ซึ่งบริษัทฯ ได้เพิ่มความเข้มงวดรัดกุมในการอนุมัติรายการ รวมถึงรายการที่เกี่ยวโยงกัน และ เพิ่มการตรวจสอบภายในให้ครอบคลุมมากขึ้น และให้มีการรายงานจากบริษัทย่อยอย่างสม่ำเสมอ เพื่อยกระดับมาตรฐานการกำกับดูแลของบริษัทฯ และบริษัทย่อย และป้องกันไม่ให้เกิดรายการอันควรสงสัยเพิ่มเติมในอนาคต

นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้ดำเนินการลงโทษทางวินัยขั้นสูงสุดต่ออดีตผู้บริหารและพนักงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องสำคัญกับรายการดังกล่าว เพื่อแสดงถึงจุดยืนที่ชัดเจนของบริษัทฯ ในการไม่ยอมรับพฤติกรรมหรือการปฏิบัติใด ๆ ที่ฝ่าฝืน กฎหมาย และ/หรือระเบียบภายในที่บริษัทฯ กำหนดไว้ ซึ่งส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อบริษัทฯ และ/หรือบริษัทย่อย

ทั้งนี้ บริษัทฯ ยังจะดำเนินการทางกฎหมายกับอดีตผู้บริหารและพนักงานดังกล่าวด้วยเช่นกัน เพื่อให้มีการชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่บริษัทฯ และบริษัทย่อยที่เกี่ยวข้อง อันเป็นส่วนหนึ่งของการปกป้องผลประโยชน์ของบริษัทฯและผู้ถือหุ้น

5. สภาพคล่องของบริษัทฯ รายการอันควรสงสัยทั้งหมดที่เกิดขึ้นนั้น แม้จะไม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสภาพคล่องของกลุ่มบริษัทฯ แต่อาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้เสียต่อกลุ่มบริษัทฯ

อย่างไรก็ตาม ในแง่ของผลประกอบการจากการดำเนินงาน ตามปกติ (ไม่รวมการบันทึกบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ซึ่งเป็นการดำเนินการตามหลักความ ระมัดระวังและสอดคล้องกับหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป) กลุ่มบริษัทฯ ยังคงดำเนินงานอย่างต่อเนื่องตามปกติและไม่ได้ ประสบภาวะขาดทุนจากการดำเนินงานตามปกติแต่อย่างใด

อย่างไรก็ดี เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้มีส่วนได้เสีย และเพื่อแก้ไขข้อกังวลที่อาจจะเกิดขึ้นเกี่ยวกับสภาพ คล่องของกลุ่มบริษัทฯ คณะกรรมการบริษัทฯ ได้มีมติอนุมัติให้มีการศึกษาแนวทางการปรับโครงสร้างทางการเงินเพิ่มเติม เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางการเงินของบริษัทฯ ซึ่งแนวทางการปรับโครงสร้างทางการเงินที่กำลังพิจารณารวมถึง การพิจารณาเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทฯ เพื่อเสริมสร้างฐานะทางการเงินและรองรับการดำเนินงานในอนาคต และการพิจารณาจัดการหรือจำหน่ายสินทรัพย์บางประเภทที่ไม่ได้ใช้ในการประกอบธุรกิจหลัก เพื่อเพิ่มสภาพคล่องของกลุ่ม บริษัทฯ

ทั้งนี้ บริษัทฯ จะดำเนินการแจ้งให้ผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้เสีย ทราบเกี่ยวกับความคืบหน้าของแนวทางการ ดำเนินการดังกล่าวในโอกาสต่อไป

สุดท้ายนี้ บริษัทฯ ขอยืนยันถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจด้วยหลักธรรมาภิบาล และความโปร่งใส และ พร้อมที่จะดำเนินการอย่างเต็มที่เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพื่อสนับสนุนการเติบโตอย่างยั่งยืน และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ถือหุ้นในระยะยาว