ดาวโจนส์กลับมาบวกหลังร่วงลง 10 วันรวด นานสุดรอบ 50 ปี
ดัชนีดาวโจนส์ กลับมาบวก หลังร่วงลง 10 วันติดต่อกันยาวนานที่สุดในรอบ 50 ปี ส่วน S&P500 และ Nasdaq ลดลงต่อ เล็กน้อยจากที่ปรับฐานลงหนักในวันพุธ
ซีเอ็นบีซี รายงานดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ (Dow Jones Industrial Average) ปิดตลาดวันพฤหัสบดี (19 ธ.ค.) ตามเวลาสหรัฐหรือเมื่อคืนประเทศไทย กลับมาบวกเล็กน้อย หลัง ร่วงลงอย่างหนักในช่วง 10 วันติดต่อกันซึ่งลงยาวนานที่สุด ตั้งแต่ปี 1974
ดัชนีดาวโจนส์ ซึ่งประกอบด้วยหุ้น 30 ตัว เพิ่มขึ้น 15.37 จุด หรือ 0.04% ปิดที่ 42,342.24 จุด ดัชนี S&P 500 ลดลง 0.09% ปิดที่ 5,867.08 จุด ในขณะที่ดัชนี Nasdaq Composite ลดลง 0.10% ปิดที่ 19,372.77 จุด
แม้ว่าดัชนีหลักจะฟื้นตัวในช่วงแรกของการเปิดตลาด โดย ดัชนีดาวโจนส์ เพิ่มขึ้นมากกว่า 460 จุด และดัชนี S&P 500 เพิ่ม ขึ้นมากกว่า 1% ที่จุดสูงสุดของวันตามลำดับ แต่ดัชนีเหล่านี้ กลับลดลงเมื่อเวลาผ่านไป ส่งผลให้ปิดตลาดอย่างอ่อนแอมาก โดย 7 ใน 11 กลุ่มธุรกิจของดัชนี S&P 500 ปิดตลาดในแดนลบ
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีเพิ่มขึ้นเป็นวันที่ 2 ติดต่อกัน โดยแตะระดับ 4.5% และกดดันหุ้น โดยอัตราผล ตอบแทนพันธบัตรอ้างอิงพุ่งขึ้นมากกว่า 13 จุดในช่วงก่อนหน้า
ดัชนีหลักร่วงลงอย่างหนักในวันพุธ หลังจากที่ธนาคารกลาง สหรัฐ โจมตีตลาดกระทิงด้วยการส่งสัญญาณว่า ธนาคารกลาง มีแนวโน้มที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพียง 2 ครั้งในปี หน้า ซึ่งลดลงจากการปรับลด 4 ครั้งในการคาดการณ์ครั้ง ล่าสุดเมื่อเดือนกันยายน นอกจากนี้ ธนาคารกลางยังปรับลด อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ข้ามคืนซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง 0.25% ในวันพุธ สู่ระดับเป้าหมาย 4.25- 4.5% เป็นการลด ดอกเบี้ยครั้งที่ 3ในปีนี้ แต่คำถามตอนนี้คือผู้กำหนดนโยบาย จะทำอย่างไรในปี 2025 (2568)
“ผมคิดว่าการปรับฐานของตลาดรอบนี้จะยังมีต่อไปอีกสักพัก” พอล มีกส์ รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุนของ Harvest Portfolio Management กล่าวกับซีเอ็นบีซีเมื่อวันพฤหัสบดี “คุณคงเห็น Nvidia หุ้นที่โด่งดังมีราคาลดลง ดังนั้นสิ่งที่ผม คาดหวังให้ผู้คนทำ สิ่งที่ผมแนะนำให้ผู้คนทำคือเก็บเงินสด ไว้บ้าง”
ความผันผวนลดลงในวันพฤหัสบดี โดยดัชนีความผันผวน (Cboe Volatility Index) ร่วงลงเกือบ 13% เหลือประมาณ 24 จุด ดัชนีที่เรียกว่า “มาตรวัดความกลัว” ของวอลล์สตรีทนี้ พุ่งสูงขึ้นในวันพุธแตะระดับสูงสุดที่ 28.27 ซึ่งสะท้อนถึงความ กังวลของนักลงทุนต่อความไม่แน่นอนของทิศทางอัตราดอกเบี้ย
ประธานเฟด เจอโรม พาวเวลล์ ไม่ได้ทำให้นักลงทุนสบายใจ มากนักในวันพุธหลังการประชุมเฟด
“เราอยู่ที่ 4.3% ซึ่งถือเข้มงวดมากพอ และผมคิดว่าเป็นอัตรา ดอกเบี้ยที่เหมาะสมแล้วสำหรับเราที่จะเดินหน้าต่อไปในการ สู้กับเงินเฟ้อในขณะที่รักษาตลาดแรงงานให้แข็งแกร่ง” พา วเวลล์กล่าวในการแถลงข่าว โดยระบุว่าการลดอัตรา ดอกเบี้ยในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาทำให้ธนาคารกลาง สามารถ “ระมัดระวังมากขึ้นในขณะที่เราพิจารณาปรับอัตรา ดอกเบี้ยนโยบายของเราเพิ่มเติม”
ก่อนจะถึงการปรับลดดอกเบี้ยในวันพุธ วอลล์สตรีทเดิมพันว่า เฟดจะลดดอกเบี้ยลงเร็วต่อไปเพื่อลดต้นทุนการกู้ยืมซึ่งส่งผล ต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจทุกอย่าง ตั้งแต่ตุ้นทุนในการระดม ทุนของบริษัทเอกชนไปจนถึงค่าใช้จ่ายที่ผู้บริโภคที่ต้องจ่าย เพื่อซื้อบ้านหรือรถใหม่
แต่ด้วยมุมมองใหม่ของเฟด ดัชนีดาวโจนส์ร่วงลง 1,123.03 จุด หรือ 2.58% สู่ระดับ 42,326.87 จุด ซึ่งเป็นการร่วงลงติดต่อ กันยาวนานที่สุดตั้งแต่ปี 1974 ดัชนี S&P 500 ร่วงลง 2.95% และดัชนี Nasdaq ดิ่งลง 3.56%