อว.ประสานสร้างเครือข่ายมหาวิทยาลัย ช่วยเสริม 'วชช.' พัฒนาชุมชน

อว.ประสานสร้างเครือข่ายมหาวิทยาลัย ช่วยเสริม 'วชช.' พัฒนาชุมชน

ที่ปรึกษาอว.ยันวิทยาลัยชุมชนมีศักยภาพแต่ขาดการสนับสนุน  เตรียมประสานสร้างเครือข่ายวชช.-มหาวิทยาลัย ร่วมยกระดับคุณภาพชีวิต ผลิตภัณฑ์ชุมชน พร้อมผลักดันวชช.ตราด เสริมแหล่งเรียนรู้ชุมชน หลักสูตรดูแลผู้สูงอายุรองรับสังคมสูงวัย พร้อมปั้นอาชีพใหม่ตอบโจทย์ชุมชน

นายสัมพันธ์ เย็นสำราญ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วย ดร.บุญเกียรติ การะเวกพันธุ์ ผู้ช่วย รมว. อว.และ ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ เลขานุการ รมว. อว. ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมชมวิทยาลัยชุมชนตราด (วชช.ตราด) ระหว่างวันที่ 22-24 พ.ค.2566 โดยมี ดร.กรรณิการ์ สุภาภา ผู้อำนวยการวชช.ตราด และคณะให้การต้อนรับ

โดยพื้นที่ที่ทาง 'วชช.ตราด' ได้นำไปเยี่ยมชม มีตั้งแต่ แหล่งเรียนรู้ของชุมชน ที่สวนผลอำไพ แหล่งเรียนรู้ชุมชนเพื่อส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ภายใต้ความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายของ วชช.ตราด  ,การดำเนินงานพัฒนาพื้นที่ชุมชนโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน (Area Based) ด้านการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ,การแปรรูปอาหาร การสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น  การวิจัยช่างศิลป์ทองถิ่น 'การจัดสานคลุ้มเมืองตราด' ณ บ้านแหลมมะขาม

อว.ประสานสร้างเครือข่ายมหาวิทยาลัย ช่วยเสริม \'วชช.\' พัฒนาชุมชน

หลักสูตรฝึกอบรม 'ผู้สูงอายุกับความสุขกายสบายใจ' และการแปรรูปอาหารทะเลบ้านตาหนึก รวมทั้งนิทรรศการดำเนินงานโครงการจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน/การพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานในเศรษฐกิจพิเศษตราด และศูนย์เรียนรู้การบริหารจัดการขยะ บ้านปลายนา เป็นต้น

นายสัมพันธ์ กล่าวว่าจากการเยี่ยมชมและติดตามการดำเนินงานของวชช.ประมาณ 5-6 วิทยาลัย พบว่าวชช.ส่วนใหญ่จะมีศักยภาพ มีความพร้อมในหลายๆ ด้าน ทั้งบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ ซึ่งอาจารย์รุ่นใหม่สามารถทำงานวิจัยได้ทุกคน และงานวิจัยส่วนใหญ่จะมีความเชื่อมโยงกับชุมชน ดังนั้น หากส่วนกลางได้เข้าไปสนับสนุน ประสานความร่วมมือ หรือสร้างเครือข่ายระหว่าง วชช. กับส่วนกลาง หรือมหาวิทยาลัย เชื่อว่าจะทำให้วชช.และชุมชนมีการพัฒนามากขึ้น

อว.ประสานสร้างเครือข่ายมหาวิทยาลัย ช่วยเสริม \'วชช.\' พัฒนาชุมชน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

วชช.พื้นที่ภาคเหนือ ขับเคลื่อน U2T ยกกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน

อว.หนุน วชช.ผลิตเอสเอ็มอี สร้างงานเสริมท่องเที่ยวช่วยอุตฯไทย

 

 

อว.ผลักดัน ประสานสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกัน

“หลังจากลงไปเยี่ยมชมและติดตามการดำเนินงาน การจัดการเรียนการสอนของวชช.ในแต่ละจังหวัดแล้วนั้น ได้มีประสานไปยังนักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัยในอุทยานวิทยาศาสตร์แห่งชาติ และหน่วยงานส่วนกลางที่เกี่ยวข้อง เพื่อต่อยอดหรือร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชน เสริมการทำงานของวชช.ให้มีความยั่งยืนมากขึ้น โดยขณะนี้มีนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัยได้ลงไปในพื้นที่วชช.สมุทรสาคร ซึ่งมีการทำเกลือ แต่ขาดการขออนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ได้ไปต่อยอดแล้ว หรือที่วชช.ตราด ซึ่งมีผลไม้ สมุนไพร มีเกษตรอินทรีย์ มีการแปรรูปพืชผลทางการเกษตรจำนวนมากแต่ขาดการเชื่อมโยงหรือขอรับรองมาตรฐานอย.ก็จะประสานในเรื่องนี้ให้” นายสัมพันธ์ กล่าว

อว.ประสานสร้างเครือข่ายมหาวิทยาลัย ช่วยเสริม \'วชช.\' พัฒนาชุมชน

นายสัมพันธ์ กล่าวต่อว่าในส่วนของโครงสร้าง ข้อจำกัด กฎระเบียบ ข้อบังคับ ทางอว.จะพยายามนำเสนอไปยังสภาวิทยาลัยชุมชน ซึ่งเป็นผู้ดูแลทั้งหมด เพราะหลายๆ เรื่อง อว.ได้มีการออกนโยบายแล้ว แต่อาจจะอยู่ในกระบวนการขับเคลื่อน ยังไปไม่ถึงเป้าหมาย

นอกจากนั้น จะมีการจัดทำฐานข้อมูล ประสานความร่วมมือระหว่างวชช.กับมหาวิทยาลัยต่างๆ เป็นเครือข่ายร่วมกันในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ใช้เครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งวชช.มีข้อจำกัดในเรื่องนี้ รวมทั้งจะมีการพัฒนายกระดับคุณภาพของคณาจารย์ บุคลากรวิทยาลัยชุมชน และการเทียบโอนต่างๆ เพื่อให้นักศึกษาของวชช.สามารถต่อยอดได้มากขึ้น

อว.ประสานสร้างเครือข่ายมหาวิทยาลัย ช่วยเสริม \'วชช.\' พัฒนาชุมชน

 

เรียนรู้จากประสบการณ์จริง เรียนรู้จากชุมชน

“วชช.ตราด ตั้งมากว่า 20 ปี ซึ่งถือเป็นวชช.นำร่องที่มีการรวบรวมความรู้ ถอดบทเรียนจากชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน  และสร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในพื้นที่ใกล้เคียง ไม่ว่าจะมหาวิทยาลัยราชภัฎ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลที่มีวิทยาเขตจันทบุรี และเป็นสถาบันการศึกษาของอว.ส่วนหน้า มีบทบาทมากมาย รวมทั้งการขับเคลื่อนโครงการ U2T ที่เห็นผลชัดเจนในพื้นที่วชช.ตราด”ที่ปรึกษารมว.อว. กล่าว

ดร.กรรณิการ์  กล่าวว่าสำหรับกิจกรรมของวชช.ตราด แบ่งการทำงานออกเป็น 4 ส่วน คือ

1.การจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุปริญญา  ประกาศนียบัตร สัมฤทธิบัตร  และหลักสูตรฝึกอบรมพัฒนาอาชีพ หรือหลักสูตรที่ชุมชนจ.ตราดต้องการ

2. บริการวิชาการ ทั้งในส่วนของการสร้างความรู้แก่ชุมชน ซึ่งเป็นจุดยืนของวชช.ตราดและชุมชน รวมทั้งต้องรองรับพัฒนาตามยุทธศาสตร์จ.ตราดที่ให้ความสำคัญในเรื่องของการท่องเที่ยว การแปรรูปเกษตรอินทรีย์ เกษตรปลอดภัย  การค้าชายแดน และการดูแลผู้สูงอายุผู้พิการต่างๆ

3.การทำนุบำรุงศิลปะ เราทำโดยการสืบสานอนุรักษ์ เรื่องการจักสาน อาหาร และภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยถอดความรู้จากปราชญ์ชาวบ้านมาสู่คนรุ่นหลัง เพื่อให้เกิดความยั่งยืน

4.มิติของอุดมศึกษา คือ การทำวิจัยเชิงชุมชน รูปแบบการวิจัยทำให้ได้ปัญหา ความต้องการ รูปแบบการพัฒนา โดยนำงานวิจัยมาเติมเต็ม

อว.ประสานสร้างเครือข่ายมหาวิทยาลัย ช่วยเสริม \'วชช.\' พัฒนาชุมชน

“การมาเยี่ยมชมของทีมที่ปรึกษาในครั้งนี้ จะทำให้เห็นถึงการทำงานระหว่างวชช.ตราดกับชุมชนครบทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นการเยี่ยมชมแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์  การพัฒนาท่องเที่ยวโดยชุมชนที่วชช.ตราดทำมา 10 กว่าปี มีมิติความก้าวหน้า ความร่วมมือ การจัดการขยะ แปรรูปขยะ และแปรรูปผลิตภัณฑ์ต่างๆ การสืบสานจักสาน การสืบค้นสมุนไพรเพื่อนำมาปรับให้เหมาะสมกับหลักโภชนาการ ไปดูการฝึกอบรมที่จะดูแลผู้สูงอายุ ติดบ้าน ติดเตียง ติดสังคม รองรับสังคมผู้สูงอายุ ไปดูในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ และพาชมการสร้างความรู้โดยใช้วชช.เป็นฐาน”ดร.กรรณิการ์ กล่าว

อว.ประสานสร้างเครือข่ายมหาวิทยาลัย ช่วยเสริม \'วชช.\' พัฒนาชุมชน

ปราชญ์ชุมชนร่วมปั้นนักศึกษาวชช.ตราด เป็นเกษตรอินทรีย์

นายชัยวัฒน์ ปริ่มผล เจ้าของสวนผลอำไพ หนึ่งในเกษตรกรดีเด่นสาขาทำสวนระดับจังหวัดของตราด และระดับภาคตะวันออก ซึ่งเป็นปราชญ์ที่ให้ความรู้กับชุมชน เน้นทำเกษตรเชิงผสมผสาน แบบเกษตรอินทรีย์ และเป็นคณะอนุกรรมการวิชาการ วชช.ตราด กล่าวว่าตนเป็นหนึ่งในคณะอนุกรรมการวิชาการ วชช.ตราดอยู่แล้ว มีความคุ้นเคยกับผอ. และทำงานร่วมกันมานาน เมื่อมีนักศึกษาเกษตรและแปรรูปมาเรียน ผอ.ได้ติดต่อมาให้สวนกลายเป็นที่ฝึกงานแก่นักศึกษา ก็ยินดี และพร้อมที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้จากประสบการณ์จริงที่ได้ทำสวนหลายสิบปีแก่นักศึกษา ให้แก่คนรุ่นใหม่

"ผมไม่ได้จบทางเกษตรมาโดยตรง แต่จากการสะสมประสบการณ์การเรียนรู้จริงๆ และการได้ถ่ายทอดให้แก่นักศึกษา ทำให้เขาได้เห็นถึงการทำเกษตรอินทรีย์  เป็นสูตรสำเร็จที่นักศึกษาสามารถทำได้ และเป็นเสมือนทางลัดที่พวกเขาได้เรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์ซึ่งไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่ต้องอาศัยใจ เพราะต้องใช้ความสมดุลทางธรรมชาติ" นายชัยวัฒน์ กล่าว

อว.ประสานสร้างเครือข่ายมหาวิทยาลัย ช่วยเสริม \'วชช.\' พัฒนาชุมชน

'วชช.ตราด' ได้รับการสนับสนุนจากอว. และเครือข่ายจำนวนมาก เรื่องงบประมาณ การจัดทำหลักสูตรไม่มีปัญหา เพราะขณะนี้วชช.ตราดกำลังทำหลักสูตร 60 หน่วยกิต ให้จบภายใน 2 ปี และจัดทำธนาคารหน่วยกิต มีการปรับตัววชช. และหลักสูตรให้ทันสมัยโดยดูความต้องการของชุมชนเป็นหลัก แต่ข้อจำกัดเป็นเรื่องความก้าวหน้าของครูวชช. ซึ่งยังไม่เห็นความมั่นคงทางอาชีพ ดังนั้น อยากให้ส่วนกลางมีความชัดเจนในเรื่องนี้ให้แก่ครูวชช. รวมถึงสนับสนุนให้มีการจัดทำหลักสูตรด้านเทคโนโลยีดิจิตอลที่ทันสมัยมากขึ้น ผลิตองค์ความรู้อาชีพใหม่ๆ ให้แก่คนในชุมชน