อาหารประเภทไหน...บริโภคมากไป ทำให้"ไตเสื่อม"
ถ้าไม่อยากให้"ไตเสื่อม"ก่อนวัยอันควร อาหารเป็นเรื่องหลักที่ต้องใส่ใจ หากเป็นโรคไต จะต้องใช้ทั้งเวลาในการรักษาและเงินจำนวนมาก
ไตไม่ได้มีหน้าที่แค่ขับถ่ายของเสียเท่านั้น ยังช่วยรักษาสมดุลต่าง ๆ ของร่างกายด้วย
เมื่อไตแข็งแรง ก็จะทำให้มีสุขภาพที่ดี ซึ่ง การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และดีต่อไตจึงเป็นเรื่องสำคัญ
พญ.นลินี สายประเสริฐกิจ ด้านอายุศาสตร์โรคไต ศูนย์โรคไต รพ.กรุงเทพ กล่าวว่า คนเราจะมีไต 2 ข้างและทำหน้าที่ในการขับของเสียและดูดซึมน้ำ รักษาสมดุลเกลือแร่ กรดด่างของร่างกาย ควบคุมความดันโลหิต ผลิตฮอร์โมนควบคุมการทำงานของเม็ดเลือด รักษาสมดุลแคลเซียมต่างๆ
โรคไตที่ควรระวัง
โรคไตแบ่งออกเป็นไตวายเฉียบพลัน และ ไตวายเรื้อรัง
ไตวายเฉียบพลัน คือ การทำงานของไตที่ผิดปกติในช่วงเวลาอันสั้น เกิดขึ้นโดยไม่ทันตั้งตัว แต่สามารถรักษาให้กลับสู่ภาวะปกติได้
ไตวายเรื้อรัง คือ ภาวะที่ไตมีความผิดปกติ ค่าการทำงานของไตต่ำลงเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง หรือมีระยะเวลานานกว่า 3 เดือน
กลุ่มเสี่ยงในการเกิดโรคไต อาทิ คนไข้ที่เป็นโรคเบาหวานอยู่แล้ว จะมีความเสี่ยงเป็นโรคไตร่วมด้วย คนไข้ที่มีความดันโลหิตสูงจะสัมพันธ์กับไต เพราะไตเป็นอวัยวะที่เต็มไปด้วยหลอดเลือด
เมื่อมีความดันโลหิตสูงจะส่งผลถึงไตโดยตรง ภาวะอ้วน น้ำหนักเกิน หรือ กลุ่มคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดต่างๆ เช่น หลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง กลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป เพราะอัตราการทำงานของไตลดลง
นอกจากนี้ยังรวมถึงกลุ่มคนที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคไต ที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่นถุงน้ำในไต เป็นต้น กลุ่มคนเป็นเกี่ยวกับโรคข้อ โรคSLE และนอกจากนี้ยังรวมถึงผู้ป่วยที่มีประวัติการใช้ยา การได้รับสารพิษ
เมื่อไตทำงานลดลง ไม่สามารถทำงานได้ปกติ เกิดการเสื่อมสภาพลงอย่างต่อเนื่อง
อาหารประเภทไหนทำให้ไตเสื่อม
โดยเฉพาะการเลือกรับประทานอาหารที่เป็นหัวใจสำคัญในการชะลอไตวายเรื้อรังช่วยควบคุมอาการและดูแลไม่ให้ไตทำงานหนักจนเกินไป
ดังนั้น ควรระมัดระวังในการรับประทานอาหารดังต่อไปนี้
1) เนื้อสัตว์ เพราะหากรับประทานมากจนเกินไปจะส่งผลเสีย ทำให้ไตเสื่อมเร็วขึ้นและเกิดการคั่งของของเสีย แต่หากรับประทานน้อยไปอาจสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ ภูมิคุ้มกันต่ำลง เสี่ยงในการเสียชีวิตได้
2) ข้าวและแป้ง อาหารกลุ่มนี้อาจทำให้ผู้ป่วยไตเสื่อมระยะ 3-5 ได้ จึงจำเป็นต้องจำกัดการรับประทาน ผู้ป่วยควรได้รับความรู้ในการเลือกกลุ่มแป้งที่ถูกต้องและปลอดภัยเช่น วุ้นเส้น ก๋วยเตี๋ยวเซี่ยงไฮ้ และสาคู เพื่อให้การรักษาโรคไตเสื่อม
3) ไขมัน ไขมันที่ดีคือไขมันไม่อิ่มตัวสูง ส่วนไขมันอิ่มตัวสูงพบในมันและหนังสัตว์ น้ำมันจากสัตว์ เป็นต้น
4) ผักและผลไม้ เเหล่งเเร่ธาตุที่มีความสำคัญมาก เเต่เมื่อไตสูญเสียความสามารถในการรักษาสมดุลเกลือเเร่บางตัว
การเลือกรับประทานผักผลไม้ที่มีเเร่ธาตุต่ำ จึงมีความสำคัญต่อการรักษาอย่างมาก ผลไม้กับผลที่ควรเลือกกินขึ้นอยู่กับระดับโพแทสเซียม เเมกนีเซียม เเคลเซียม เเละโซเดียมในเลือดขณะนั้น
5) เกลือ หากรับประทานมากเกินไป จะทำให้ได้รับโซเดียมเกินความจำเป็น อาจทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น
6) น้ำ ผู้ที่ไตขับปัสสาวะได้ลดลง มีความจำเป็นต้องจำกัดปริมาณน้ำดื่ม เพื่อป้องกันภาวะบวมน้ำ เเละน้ำท่วมปอด
ปริมาณน้ำที่ควรดื่มในแต่ละวัน จะนับรวมถึงอาหารทุกชนิดที่เป็นของเหลวเเละเครื่องดื่มเช่น น้ำเปล่า ซุป น้ำผลไม้ น้ำผักเป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ควรเลี่ยงอาหารเค็มจัด หวานจัด ดื่มน้ำวันละ 8 - 10 แก้ว ออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดสูบบุหรี่ ตรวจคัดกรองไตอย่างน้อยปีละครั้ง
.............
ข้อมูลจากโรงพยาบาลกรุงเทพฯ