"ตัดเสื้อน้องแต่พอตัว" แก้ปมเด็กไทยขาดชุดนักเรียน ลดความเหลื่อมล้ำ

"ตัดเสื้อน้องแต่พอตัว" แก้ปมเด็กไทยขาดชุดนักเรียน ลดความเหลื่อมล้ำ

“ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา” มีปัจจัยหลักๆ มาจากความยากจน ซึ่งหากจะแก้ในเรื่องนี้คงต้องใช้เวลานาน เพราะต้องยอมรับว่าประเทศไทยมีปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำสูงมาก ปัจจุบันประเทศไทยมีเด็กและเยาวชนที่ขาดโอกาสทางการศึกษา  4.3 ล้านคน

ด้วยการคมนาคมที่สะดวกขึ้น พ่อแม่ผู้ปกครองที่มีรายได้มีค่านิยมที่จะส่งบุตรหลานไปเรียนในเมือง ด้วยเหตุผลที่ว่า มีครู สถานที่และอุปกรณ์ที่ครบครัน ทำให้ปริมาณนักเรียนในชุมชนลดลง รวมถึงอัตราการเกิดที่ลดลง

ล้วนส่งผลให้โรงเรียนมีจำนวนนักเรียนลดลงทำให้เกิดปัญหาการยุบ ควบรวม “โรงเรียนขนาดเล็ก” ทั้งที่ยังมีเด็กด้อยโอกาสส่วนหนึ่งที่ไม่สามารถเดินทางไปโรงเรียนได้  หรือต้องหยุดเรียน เพราะโรงเรียนไกลบ้าน

\"ตัดเสื้อน้องแต่พอตัว\" แก้ปมเด็กไทยขาดชุดนักเรียน ลดความเหลื่อมล้ำ

อีกทั้ง จากข้อมูลสำนักนโยบายและแผนงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระบุว่าในปีการศึกษา 2561 นักเรียนชั้นอนุบาล 1 - มัธยมศึกษาปีที่ 6 มีจำนวนนักเรียน 3,552,487 คน ที่ขาดแคลนชุดนักเรียน 

อย่างไรก็ตาม ถึงภาครัฐจะมีนโยบายอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษา ให้งบประมาณค่าเครื่องแบบนักเรียน ที่ประกอบด้วย เสื้อ กางเกง กระโปรง ในอัตราระดับก่อนประถมศึกษา 300 บาท/คน/ปี  ระดับประถมศึกษา 360 บาท/คน/ปี และ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 450 บาท/คน/ปี แต่ยังไม่เพียงพออยู่ดี

 

  • "ตัดเสื้อน้องแต่พอตัว" ช่วยเด็กไทยมีชุดนักเรียน

โครงการ “ตัดเสื้อน้องแต่พอตัว” 1 ในโครงการพัฒน์ ที่ได้ริเริ่มในปี 2665 กลุ่มผู้ประกอบการSME รุ่นใหม่ 12 บริษัท ประกอบด้วยอนุตม์ กรกำแหง เจ้าของแบรนด์ Legal Conect  ,ธาวินี พนาเชวง เจ้าของแบรนด์ Pana pearl&gems ,ทิพาพร บัวงามดี เจ้าของแบรนด์ กุ้งติดไฟ ,ฐิติคมน์ จันทร์ซน เจ้าของแบรนด์  FITPUB Thailand

ภัควลัญช์ สุนทรวัชรินทร์ เจ้าของแบรนด์  Trial ,เกริกวุฒิ จันทร์จรัส เจ้าของแบรนด์  Kitchen Fort ,มลนพรรษ สงค์พิมพ์ เจ้าของแบรนด์  Cozy Maldives ,ศุภิกา สุขแจ่มใส เจ้าของแบรนด์  ปลูกสุข ,อรนาฎ พัฒนะกุลพงศ์ เจ้าของแบรนด์ Stock Zero

\"ตัดเสื้อน้องแต่พอตัว\" แก้ปมเด็กไทยขาดชุดนักเรียน ลดความเหลื่อมล้ำ

สิทธิเดช ถนิตฤทธิพร เจ้าของแบรนด์ TARA LEATHER ,โกวิท สุดเสียง เจ้าของแบรนด์ Life connect และจิราภรณ์ โคตรมิตร เจ้าของแบรนด์ Thaillust ได้ร่วมตัวกัน เพื่อช่วยแก้ปัญหาเรื่องเครื่องแบบนักเรียน ปัญหาเล็กๆ ที่อาจจะสร้างแผลใจให้แก่เด็กอย่างมาก

สิทธิเดช ถนิตฤทธิพร เจ้าของแบรนด์ TARA LEATHER และอรนาฎ พัฒนะกุลพงศ์ เจ้าของแบรนด์ Stock Zero คณะทำงานช่วยร่วมกันเล่าว่าผู้บริหารทั้ง 12 บริษัท ได้มีโอกาสมาเรียนในโครงการพัฒน์ และทำให้เกิดการรวมตัวกันจัดทำโครงการ “ตัดเสื้อน้องแต่พอตัว” เนื่องจากเมื่อได้ลงพื้นที่โรงเรียนขนาดเล็ก ทำให้เห็นปัญหาเรื่องของการขาดแคลนชุดนักเรียน

\"ตัดเสื้อน้องแต่พอตัว\" แก้ปมเด็กไทยขาดชุดนักเรียน ลดความเหลื่อมล้ำ

น้องๆ หลายคนไม่มีชุดนักเรียนใส่มาโรงเรียน บางคนต้องใส่ชุดอยู่บ้าน หรือบางคนต้องใส่ชุดนักเรียนของโรงเรียนเอกชนที่ได้รับบริจาคมาทั้งที่พวกเขาเรียนโรงเรียนรัฐ และบางคนต้องใส่ชุดซ้ำ  ใส่ชุดไม่พอดีตัว

 

  • ผุดโมเดลสหกรณ์ออมชุด ปลูกฝังเด็กเป็นผู้รับและผู้ให้

“โครงการตัดเสื้อน้องแต่พอตัว เราจะอาสาตัดชุดนักเรียนที่พอดีและพอเพียงที่จะใส่ในทุกวัน  และจะทำให้เกิดความยั่งยืนในการตัดชุดให้แก่เด็กตั้งแต่อนุบาลจนถึงประถมศึกษาปีที่ 6 และใช้โมเดล สหกรณ์ออมชุด  คือ คนที่อยู่ในปัญหาต้องมาร่วมกันแก้ปัญหา โดยเราจะเข้าไปส่งเสริม ผลักดันให้ร่วมกันทำ ใช้ร้านค้าสหกรณ์มาฝึกให้เด็กรู้จักการเก็บออมยืมชุด ที่จะใช้การยืมคืนชุดนักเรียน ซึ่งเด็กประถมโตค่อนข้างเร็วจึงใช้วิธีการดังกล่าว เพื่อให้เด็กๆ ได้ใส่ชุดนักเรียนที่พอดีตัวและมีชุดใส่ในทุกๆเทอม” อรนาฎ กล่าว

ตอนนี้ โครงการตัดเสื้อน้องแต่พอตัว ได้นำร่องในโรงเรียนวัดคลองโมง จ.สุพรรณบุรี ซึ่งมีนักเรียนเพียง 40 คน โดยจะดูแลทั้งโรงเรียนเริ่มตั้งแต่การให้ความรู้ ช่วยน้องๆ นักเรียนทำสหกรณ์นักเรียน  เฃพื่อสนับสนุนให้เกิด กองทุนสวัสดิการเครื่องแบบนักเรียน และเกิดเป็นสหกรณ์ออมชุด เพื่อให้ 1 คนมีชุดนักเรียน และชุดกิจกรรม ชุดพละครบทั้ง 5 วัน ก่อนจะขยายไปโรงเรียนอื่นๆ ต่อไป

\"ตัดเสื้อน้องแต่พอตัว\" แก้ปมเด็กไทยขาดชุดนักเรียน ลดความเหลื่อมล้ำ  

สิทธิเดช กล่าวต่อว่า โรงเรียนขนาดเล็กมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับเด็กด้อยโอกาส เด็กยากจน เพราะบางคนไม่สะดวกที่จะเดินทางไปเรียนไกลๆ เด็กบางคนต้องไปเรียนนอกเขต เมื่อพ่อแม่ไม่มีรถมาส่ง พวกเขาก็ต้องหยุดเรียน ซึ่งเราไม่อยากให้เด็กขาดโอกาสทางการศึกษา การเรียนรู้ในช่วงวัยของเขา

"ความคาดหวังของโครงการตัดเสื้อน้องแต่พอตัว  เป็นการลุกมาแก้ปัญหาด้วยตนเอง จะเป็นการปลูกฝังแนวคิดว่าเมื่อมีปัญหาการจัดการปัญหาด้วยตนเองทำให้เกิดความแข็งแรงและความภาคภูมิใจ ทำอย่างไรให้ตัวของพวกเขาเป็นผู้รับเท่าเทียมกับการเป็นผู้ให้" อรนาฎ กล่าว

  • เด็กทุกคนมีชุดนักเรียน สร้างความเท่าเทียม ลดภาระผู้ปกครอง

สิทธิเดช กล่าวต่อไปว่าในมุมมองที่เห็นการจัดการแก้ปัญหาชุดนักเรียน ส่วนใหญ่จะเป็นการบริจาคชุดนักเรียน และเมื่อจังหวัดหนึ่งก็หายไป ดังนั้น หากต้องการให้เกิดความยั่งยืน และชุมชนอยู่ได้แม้ทีมโครงการ ตัดเสื้อน้องแต่พอตัวออกมาแล้วนั้น ต้องทำให้พวกเขาสามารถเกิดโมเดลในการออมชุดนักเรียน

"โครงการตัดเสื้อน้องแต่พอตัว จะทำให้เด็กๆ มีชุดนักเรียน ใส่ชุดนักเรียนได้โดยที่ไม่ต้องเขิน ไม่มั่นใจ หรือโดนเพื่อนล้อ  และการที่มีชุดนักเรียนจะทำให้พวกเขาอยากไปโรงเรียน สร้างความเท่าเทียมให้เกิดขึ้น และเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายให้ผู้ปกครอง ผู้ปกครองจะได้นำเงินไปส่งเสริมการเรียนรู้เด็กด้านอื่นๆ ต่อไป" สิทธิเดช  กล่าว

ทั้งนี้สำหรับ หลักเกณฑ์ในการยืมชุดของกองทุนสวัสดิการเครื่องแบบนักเรียน ดังนี้

  • เด็ก ๆ ต้องเป็นสมาชิกของกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน ซึ่งจะมี 3 ด้าน คือ ร้านค้า การผลิต และออมทรัพย์
  • การยืมชุดจะยืมในช่วงก่อนเปิดเทอมในขนาดที่พอดีตัว และนำมาคืนในตอนปิดเทอม โดยเด็ก ๆ จะต้องทำการรักษาชุดให้อยู่ในสภาพที่ดีตลอดการใช้งาน
  • การยืม-คืน น้อง ๆ จะไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่จะมาจากการสนับสนุน 2 ส่วน คือ เงินบริจาคสมทบทุนของผู้บริจาค และ การจัดสรรเงินปันผลของกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนมาสนับสนุนเข้ากองทุนสวัสดิการเครื่องแบบนักเรียน สำหรับการนำไปดูแลรักษา ซ่อมบำรุง ชุดนักเรียน หรือ ซื้อชุดใหม่เข้ามาแทนชุดเก่าที่ไม่สามารถใช้งานได้แล้ว

\"ตัดเสื้อน้องแต่พอตัว\" แก้ปมเด็กไทยขาดชุดนักเรียน ลดความเหลื่อมล้ำ

 

  • พลังผู้ประกอบการรุ่นใหม่ช่วยสร้างสังคมให้ดีขึ้น

อรนาฎ กล่าวเสริมว่า จริงๆ แล้วหน้าที่หรือบทบาทของผู้ประกอบการรุ่นใหม่ คนรุ่นใหม่ต้องรู้จักมอบโอกาสให้แก่เด็ก หรือคนที่ด้อยกว่า ซึ่งคนไทยมีมายเซตของการเป็นผู้ให้อยู่แล้ว ดังนั้น แม้จะเป็นปัญหาใหญ่ แต่ผู้ประกอบการ SME เล็กๆ รวมกลุ่มกันก็สามารถทำให้เกิดการพัฒนาแก้ปัญหาใหญ่ๆ ได้ ต่อให้ไม่มีทุนมาก แต่มีความคิด มีพลังร่วมกันก็สามารถสร้างโมเดลมาจัดการปัญหาได้ 

"ประเทศไทยมีทรัพยากรมากมาย อย่าง ชุดนักเรียนบางคนก็มีมากแต่บางคนไม่มี ถ้ามีการบริหารจัดการ การจัดสรรที่ดี เด็กทุกคนจะมีชุดนักเรียนใส่ได้ แต่เรื่องดีๆ จะเกิดขึ้นได้ ต้องเกิดจากการรวมกลุ่ม การทำงานที่มีเป้าหมายในการส่งมอบโอกาสดีๆ ให้แก่ผู้อื่นร่วมกัน"อรนาฎ กล่าว

\"ตัดเสื้อน้องแต่พอตัว\" แก้ปมเด็กไทยขาดชุดนักเรียน ลดความเหลื่อมล้ำ

สิทธิเดช กล่าวทิ้งท้ายว่า การทำธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจเล็กๆ อย่าง  SME เรามุ่งมั่นที่อยากจะทำให้ธุรกิจของเราเติบโต และยั่งยืนอยู่แล้ว แต่จากการเรียนรู้ในโครงการพัฒน์ ได้น้อมนำหลักคำสอนของในหลวงรัชกาลที่ 9 ทำให้เห็นว่า เราไม่สามารถอยู่คนเดียวได้ เดินคนเดียวได้ เราต้องรวมกลุ่มดูแลคนในองค์กร และสังคมร่วมด้วย เพื่อให้เกิดความยั่งยืน

โครงการ "ตัดเสื้อน้องแต่พอตัว" ได้ดำเนินการปีนี้เป็นปีแรก และนำร่องในโรงเรียนวัดคลองโมง จ.สุพรรณบุรี โรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนเพียง 40 คน  ซึ่งปัจจุบันโครงการฯ ได้ตัดชุดนักเรียนให้น้องไปแล้วกว่า 80 ตัว โดย 1 คนจะมี 2 ชุดและขณะนี้กำลังเร่งตัดเพิ่มเพื่อให้มีชุดนักเรียนครบ 5 ชุดต่อสัปดาห์ มีชุดนักเรียน 3 ชุด ชุดพละ 1 ชุดและชุดกิจกรรม 1 ชุด 

สนใจร่วมเป็นส่วนหนึ่งในผู้สนับสนุน "ตัดเสื้อน้องแต่พอตัว"สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่ เพจ ตัดเสื้อน้องแต่พอตัว