ผลักดันนโยบายลดความเหลือมล้ำโรงเรียนขนาดเล็ก แก้ปัญหาความยากจนข้ามรุ่น

ผลักดันนโยบายลดความเหลือมล้ำโรงเรียนขนาดเล็ก แก้ปัญหาความยากจนข้ามรุ่น

กสศ. ผนึกธนาคารโลก เปิดโครงการความร่วมมือทางวิชาการเพื่อผลักดันนโยบายลดความเหลื่อมล้ำโรงเรียนขนาดเล็ก และยกระดับทักษะแรงงานไทย ยุติปัญหาความยากจนข้ามรุ่น

เมื่อเร็วๆ นี้ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ได้จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับธนาคารโลก ภายใต้โครงการวิจัยมาตรฐานคุณภาพโรงเรียน (Fundamental School Quality Levels: FSQL) และโครงการวิจัยสำรวจทักษะและความพร้อมของกลุ่มประชากรวัยแรงงานของประเทศไทย (Adult Skills Assessment in Thailand)

เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และเครื่องมือทางนโยบายเพื่อผลักดันให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นให้แก่โรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดารเป็นไปตามหลักความเสมอภาค (equity-based allocation) และการสร้างทักษะ และความสามารถของเด็ก เยาวชน และกลุ่มประชากรวัยแรงงานของประเทศไทยในศตวรรษที่ 21 ผ่านการพัฒนาคุณภาพของระบบการศึกษาและการฝึกอบรมทั่วประเทศ ในกรอบการดําเนินงานระยะเวลา 3 ปี

ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประธานกรรมการบริหาร กสศ. กล่าวว่า กสศ.มีความยินดีที่ได้ร่วมมือกับธนาคารโลกในโครงการวิจัยร่วมเพื่อลดช่องว่างด้านคุณภาพของโรงเรียนและแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในโรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร และการส่งเสริมทักษะ ความสามารถของเด็ก เยาวชน และกลุ่มประชากรวัยแรงงานของประเทศไทยในศตวรรษที่ 21

เราหวังว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดนโยบาย วางกลยุทธ์ด้านการพัฒนาและยกระดับทักษะให้เหมาะกับความต้องการของตลาดแรงงานและสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

อุดหนุน “ค่าอาหารกลางวัน” สำหรับเด็ก ช่วยลดความเหลื่อมล้ำจริงหรือ?

‘ปอย ตรีชฎา' หยุดความเหลื่อมล้ำทางเพศ งาน 'Gender Fair 2023'

"เสียงที่คนอื่นไม่ได้ยิน" เปลี่ยนสังคมเหลื่อมล้ำ สู่สังคมที่เป็นธรรม

5 ข้อเท็จจริง ‘คนจน’ ในไทย ‘สภาพัฒน์’ เปิดข้อมูลล่าสุด


สร้างความเสมอภาค กระจายโอกาสทางการศึกษา

ระหว่างปี 2562-2566 ธนาคารโลกและกสศ.ได้ร่วมมือกันดำเนินโครงการวิจัยที่เอื้อต่อการปรับปรุงประสิทธิภาพ ความเสมอภาค และกระจายโอกาสเข้าถึงระบบการศึกษาและการฝึกอบรมในประเทศไทย ความร่วมมือดังกล่าวส่งผลให้เกิดแนวคิดที่เป็นนวัตกรรมและเครื่องมือที่เป็นประโยชน์ต่อการหารือเชิงนโยบาย และสนับสนุนประเทศไทยในการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาและการฝึกอบรมต่อไป

ความร่วมมือดังกล่าวยังรวมไปถึงการพัฒนาเครื่องมือพัฒนามาตรฐานคุณภาพโรงเรียนขั้นพื้นฐาน ซึ่งครอบคลุมขอบเขตการดำเนินงาน 7 ด้าน อาทิ ความเป็นผู้นำและการบริหารจัดการของโรงเรียน ความเป็นอิสระและภาระความรับผิดชอบของโรงเรียน คุณภาพและประสิทธิผลของครู และโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกของโรงเรียน

ผลักดันนโยบายลดความเหลือมล้ำโรงเรียนขนาดเล็ก แก้ปัญหาความยากจนข้ามรุ่น

มาตรฐานดังกล่าวได้รับการทดสอบกับโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดารจำนวน 275 แห่ง และจะใช้เป็นกรอบสำหรับการส่งเสริมคุณภาพของโรงเรียนเพื่อช่วยชี้นำการลงทุนด้านการศึกษาของภาครัฐในอนาคต

ส่วนโครงการสำรวจทักษะและความพร้อมของเยาวชนและประชากรวัยแรงงานอายุ 15-64 ปี ด้านความสามารถต่างๆ อาทิ การรู้หนังสือ ทักษะดิจิทัล และทักษะด้านอารมณ์และสังคม เพื่อค้นหาทักษะด้านที่ขาดแคลนและรวบรวมข้อมูลเชิงลึกเพื่อนำไปส่งเสริมนโยบายและโครงการต่างๆ ต่อไป

 

จัดสรรทรัพยากร แก้ปัญหาความยากจน

ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้จัดการ กสศ. กล่าวว่า ผลการวิจัยเผยให้เห็นถึงความจำเป็นของการมีระบบการจัดการข้อมูลที่รัดกุมเพื่อตรวจสอบติดตามงานด้านต่างๆ ที่จำเป็นต้องปรับปรุงเพื่อลดช่องว่างการเรียนรู้ในโรงเรียนขนาดเล็กและปรับปรุงการเรียนรู้ของนักเรียน เมื่อได้รับรู้ถึงจุดแข็งและในส่วนที่ต้องปรับปรุง การสนับสนุนทรัพยากรเพิ่มเติมจะสามารถจัดสรรงบประมาณการศึกษาในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดสำหรับโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดารได้

ภายใต้ความร่วมมือครั้งนี้ ธนาคารโลกและกสศ.จะต่อยอดจากโครงการวิจัยร่วมในปัจจุบัน เพื่อให้การจัดสรรทรัพยากรให้กับโรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดารเป็นไปตามหลักความเสมอภาค (equity-based allocation)

ผลักดันนโยบายลดความเหลือมล้ำโรงเรียนขนาดเล็ก แก้ปัญหาความยากจนข้ามรุ่น

พร้อมทั้งขยายผลการสํารวจและพัฒนาทักษะและความพร้อมเยาวชนและประชากรวัยแรงงานในระดับประเทศไทย ไปสู่การสำรวจที่มุ่งเน้นใน 3 จังหวัดเป้าหมายที่เป็นโครงการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ของ กสศ. นอกจากนั้นยังมีโครงการการศึกษาและออกแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมให้กับเยาวชนในสถานศึกษาอาชีวศึกษาที่จะพัฒนาต่อไปในกรอบการดําเนินงานระยะเวลา 3 ปี

ดร.ฟาบริซิโอ ซาร์โคเน ผู้จัดการธนาคารโลกประจำประเทศไทย กล่าวว่า สำหรับประชาชนชาวไทย การมีทักษะและความสามารถที่จำเป็นเพื่อให้เข้าสู่ระบบการจ้างงานอย่างมีคุณภาพสามารถช่วยให้พวกเขามีอนาคตที่ดีขึ้นได้ และยังช่วยให้กลุ่มประชากรที่ยากจนหลุดพ้นจากวงจรความยากจนได้ด้วย

จากนี้ไป การลงทุนเพื่อปฏิรูปขจัดความไม่เท่าเทียมและความไร้ประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากร รวมถึงการปรับปรุงประสบการณ์การเรียนรู้ในสถานศึกษาและการฝึกอบรมจะมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการแสดงศักยภาพในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของประเทศไทย

ผลักดันนโยบายลดความเหลือมล้ำโรงเรียนขนาดเล็ก แก้ปัญหาความยากจนข้ามรุ่น
 
ทั้งนี้ กรอบความร่วมมือนี้ดำเนินการภายใต้สัญญาโครงการ Reimbursable Advisory Services - RAS ของธนาคารโลก โดยธนาคารโลกจะทำงานร่วมกับประเทศที่มีรายได้ปานกลางและรายได้สูงตามที่มีการร้องขอผ่านบริการที่ปรึกษา การวิเคราะห์ รวมถึงให้การสนับสนุนการดำเนินการโครงการในด้านต่างๆ